
โปรแกรมการฟื้นฟูที่บ้าน
โดยนักกายภาพบำบัดวิชาชีพ ประสบการณ์ดูแลคนไข้โรคหลอดเลือดสมอง อุปกรณ์เครื่องมือทางกายภาพบำบัดครบครัน ด้วยโปรแกรม "ช่วงทองของการฟื้นฟู (Golden period program)"


























การอ่อนแรงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เกิดการสมองที่ขาดเลือดไม่สามารถทำการสั่งการให้เกิดการเคลื่อนไหวได้ แนวทางการทำกายภาพบำบัดคือ การกระตุ้นการรับความรู้สึกต่างๆ ด้วยเทคนิควิธี เช่น การมองตาม การสัมผัส การให้แรงช่วยในทิศทางต่างๆ และจัดระเบียบสิ่งแวดล้อมเพื่อกระตุ้นการสั่งการในสมองมากให้ที่สุด เมื่อได้รับการกระตุ้นเพียงพอ สมองจะเริ่มสามารถสั่งการให้เกิดการเคลื่อนไหวได้ในที่สุด
อาการเกร็งมักเกิดในผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองเป็นอัตโนมัติ ไม่สามารถควบคุมได้ หากบางคนเป็นเยอะ อาจเกิดการเกร็งขึ้นตลอดเวลา บางคนอาจเกร็งเฉพาะขณะเดิน หรือจังหวะหาว ไอ จาม ซึ่งเป็นอาการปกติที่ไม่อันตราย แต่หากปล่อยไว้นานจะทำให้กล้ามเนื้อหดสั้น นำไปสู่การจำกัดการเคลื่อนไหวในอนาคต แนวทางการทำกายภาพบำบัดคือ ยืดกล้ามเนื้อค้างไว้เป็นเวลานาน (Passive prolong stretching) ร่วมกับการฝึกการควบคุมการสั่งการของกล้ามเนื้อนั้น
ผู้ป่วยบางท่านจะมีอาการชาร่วมด้วย ซึ่งแสดงถึงตำแหน่งการรับความรู้สึกในสมองได้รับการบาดเจ็บด้วย อาการชาจะค่อยๆดีขึ้นเอง แต่การกระตุ้นการฟื้นฟูอาการชา ควรให้คนไข้สัมผัสพื้นผิวในรูปแบบที่แตกต่างกันให้บ่อย ควรหมั่นทำและจดจ่อกับการสัมผัสอย่างต่อเนื่องขณะฝึก
การทรงตัวไม่ดี จะสังเกตุเห็นได้ง่ายขณะผู้ป่วยนั่งแล้วมีอาการโงนเงน หรือยืนเดินแล้วเอียงไปมา ซึ่งมีหลายสาเหตุ หนึ่งในสาเหตุที่สำคัญคือ กล้ามเนื้อลำตัวไม่แข็งแรงและสั่งการได้ไม่ดี จึงควรฝึกให้นั่งและค่อยๆควบคุมกล้ามเนื้อลำตัว ด้วยการให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวด้วยตนเอง ในทิศทางที่ทำได้น้อย ที่สำคัญไม่ควรช่วย หรือให้ผู้ป่วยพิง/อิงทั้งตัว เพราะกล้ามเนื้อจะไม่ได้เรียนรู้การทำงาน

ReBRAIN นักกายภาพบำบัดวิชาชีพ ให้การรักษากายภาพบำบัดที่บ้าน ด้วย อุปกรณ์กายภาพบำบัด ครบครัน
หลักการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทางกายภาพบำบัด
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ปัญหาที่อ่อนแรงเกิดจากการที่สมองไม่สามารถสั่งการให้กล้ามเนื้อทำงานได้
หลักการฝึกตามแนวทางของ ReBRAIN จึงเน้นการ “กระตุ้นสมอง” ให้สมองกลับมาสั่งการ ด้วยการกระตุ้นให้ร่างกายได้รับสัญญาณประสาทในรูปแบบการรับความรู้สึก (Sensory Information) ได้แก่ การมองตาม การคิดตาม การฟัง การรู้สึกข้อต่อ การรู้สึกสัมผัสต่างๆ ด้วยการออกแบบกิจกรรมในการฝึก ตามหลักการ Motor Relearning Program (MRP)
เมื่อร่างกายได้รับความรู้สึกเหล่านี้ จะเกิดการส่งกระแสประสาทไปที่สมอง ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้สมองประมวลผล และกระตุ้นการสั่งการให้เกิดการเคลื่อนไหวในที่สุด

กภ.พิสิษฐ์ ประทีปอนุรักษ์
กายภาพบำบัด, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกียรตินิยมอันดับ 1 (เหรียญทอง)
จากใจผู้สร้าง
“ปัจจุบันอัตราการเกิด โรคหลอดเลือดสมอง มีมากขึ้นทุกปี หลังจากผู้ป่วยได้รับการรักษาจากแพทย์ เข้าสู่ช่วงการฟื้นฟู การรักษาทางกายภาพบำบัด นับเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดอย่างหนึ่ง เพื่อให้กลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ปัญหาที่สำคัญคือ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องการกลับมาพักฟื้นร่างกายที่บ้านมากกว่าในโรงพยาบาล ร่วมกับระดับความสามารถที่ลดลงทำให้การเดินทางเพื่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเป็นเรื่องยาก การทำ กายภาพบำบัดที่บ้าน จึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะ “ช่วงทองของการฟื้นฟู (Golden periode stroke)”
ผมได้ศึกษาค้นคว้า เพื่อหาแนวทางการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเบื้องลึก ออกแบบระบบการจัดการ การทำ กายภาพบำบัดที่บ้าน อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้าง “ReBRAIN” ขึ้นมา เพื่อเติมเต็มช่องว่างของฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนอกสถานที่ในประเทศไทย ให้มีมาตรฐานทั้งการบริการ และคุณภาพการรักษาให้เทียบเท่าโรงพยาบาล”
กายภาพบำบัดกรุงเทพ-ปริมณฑล
กายภาพบำบัด บางนา
กายภาพ บำบัด ลาดพร้าว
กายภาพ รามอินทรา
กายภาพบำบัด พระราม2
กายภาพบำบัด มีนบุรี
กายภาพบำบัด พุทธมณฑล
กายภาพ รังสิต
กายภาพ ปทุมธานี
กายภาพบำบัด สมุทรปราการ
กายภาพบำบัด ปากเกร็ด
กายภาพ นนทบุรี