การบริหาร กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ประกอบขึ้นด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน มีรูปร่างเป็นแผ่นบางๆ ที่ขึงอยู่ใต้กระดูกเชิงกราน โดยด้านหน้ายึดติดกับกระดูกหัวหน่าว และด้านหลังยึดติดกับกระดูกสันหลังส่วนใต้กระเบนเหน็บหรือก้นกบ
กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ทำหน้าที่ดังต่อไปนี้
– หดรัดตัวเมื่อไอ จาม หรือ เบ่ง เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัสสาวะเล็ดโดยไม่ได้ตั้งใจ
– ช่วยพยุงอวัยวะในช่องท้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในท่ายืน
– ช่วยปกป้องอวัยวะในอุ้งเชิงกรานจากความเสียหายภายนอก
– ช่วยยึดอวัยวะในอุ้งเชิงกราน เช่น กระเพาะปัสสาวะ ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
– ช่วยควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ ลม และการเคลื่อนไหวของลำไส้
– มีบทบาทหน้าที่ทางเพศขณะมีเพศสัมพันธ์ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานจำเป็นต้องแข็งแรงและมีความตึง หรือกำลังที่เพียงพอเหมือนเช่นกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ ของร่างกาย จึงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ถ้ากล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกรานอ่อนแอจะเป็นอย่างไร ?
- อาการปัสสาวะเล็ดขณะออกแรง (Stress urinary incontinence) คือ อาการที่มีปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจขณะออกแรง หรือใช้กำลัง เช่น เล่นกีฬา ออกกำลังกาย ไอ หรือ จาม
- อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urge urinary incontinence) คือ อาการที่มีปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งเป็นความรู้สึกปวดอยากปัสสาวะที่เกิดขึ้นทันทีและไม่สามารถกลั้นได้
- อาการผสมของปัสสาวะเล็ดขณะออกแรงและกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ร่วมกัน (Mixed urinary incontinence) คือ อาการที่มีปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ เกิดขึ้นทั้งขณะออกแรงหรือใช้กำลังทางกายภาพ
- อวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน เกิดเป็นก้อนนูนออกในช่องคลอดหรือโผล่พ้นออกมานอกช่องคลอด อวัยวะในอุ้งเชิงกรานที่หย่อน ได้แก่ กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ มดลูกและปากมดลูก
- สูญเสียความรู้สึกทางเพศ หรือ รู้สึกว่าช่องคลอดไม่กระชับ
ท่าออกกำลังกายเพื่อบริหารอุ้งเชิงกราน
Kegel Exercise
โดยท่าออกกำลังกายนั้นคล้ายกับการขมิบก้น แต่เป็นการดึงกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเข้าข้างใน แล้วเกร็งกล้ามเนื้อส่วนนี้ไว้ 5-10 วินาที แล้วปล่อย ทำวันละ 10–20 ครั้ง ต่อเนื่องกัน 4–6 สัปดาห์
Pelvic floor exercise
ขมิบอุ้งเชิงกรานเต็มที่ค้างไว้ นับ 1-5 พัก 5วินาทีทำซ้ำ 5 ครั้ง
ขมิบเร็วและแรง แล้วคลายทันที พัก 5วินาทีทำซ้ำ 5 ครั้ง
ในขณะปัสสาวะให้ฝึกหยุดปัสสาวะทันที 1 ครั้งแล้วปล่อยไม่ควรทำหลังตื่นนอนเพราะปัสสาวะเก็บไว้หลายชั่วโมง
Management of the pelvic floor muscles
pelvic floor muscles It is made up of muscle fibers and connective tissue. It is shaped into a thin sheet. that stretches under the pelvis The front is attached to the pubic bone. And the back is attached to the vertebrae under the sacral ray or coccyx.
pelvic floor muscles perform the following functions
– Constriction when coughing, sneezing or straining to help prevent accidental urinary incontinence.
– Helps support abdominal organs especially when in a standing position
– Protects the pelvic organs from external damage.
– Helps to hold pelvic organs such as the bladder to be in the right position
– Helps to control urinary excretion, wind and bowel movements.
– Have a role of sex during sex Your pelvic floor muscles need to be strong and tense. Or enough power like other muscles in the body to work effectively.
อ้างอิง
1. Antonio L. Pastore, Giovanni Palleschi (2014) Pelvic floor muscle rehabilitation for patients with lifelong premature ejaculation: a novel therapeutic approach (Therapeutic Advances In Urology).
2. Haskell W, Lee IM, Pate RR, et al. Physical Activity and Public Health: Updated Recommendation for Adults from the American College of Sports Medicine and the American Heart Association. Med Sci Sports Exerc. 2007;39:1423–34.
3.MacLennan AH, Taylor AW, Wilson DH, et al. The prevalence of pelvic floor muscle disorders and their relationship to gender, age, parity and mode of delivery. BJOG. 2000;107:1460–70.