กายภาพก่อนและหลังการผ่าตัด
กายภาพก่อนและหลังการผ่าตัด การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายด้วยการทำกายภาพก่อนและหลังการผ่าตัดมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ และช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ด้วยลักษณะท่าทางที่ถูกต้อง เหมาะสม การผ่าตัดกระดูกและข้อส่วนใหญ่จะส่งผลให้ผู้ป่วยยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ดีในช่วงแรก บางรายหากมีการใส่อุปกรณ์เทียมตามข้อในร่างกาย จึงต้องมีความระมัดระวังในการเปลี่ยนอิริยาบถของการทำกิจกรรมต่างๆ ดังนั้น การทำกายภาพก่อนและหลังการผ่าตัดจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
ก่อนผ่าตัด
1 โปรแกรมการให้ความรู้
อธิบายความสำคัญ เหตุผล และเป้าหมายที่ต้องมีการฝึกโปรแกรมต่างๆทั้งก่อนและหลังโดยเริ่มจาก1.)อธิบายแผลผ่าตัดว่าหลังผ่าจะมีแผลตรงไหน ความยาวเท่าไหร่ และสภาพหลังผ่าตัดจะเป็นอย่างไร 2.)ผลของการผ่าตัดต่อระบบหายใจโดยเฉพาะผลของยาสลบ 3.)สภาพสิ่งแวดล้อมในห้องไอซียู 4.)สายต่างๆที่จะมาติกับตัวผู้ป่วย 5.)นักกายภาพบำบัดจะต้องติดต่อพูดคุยอย่างเป็นกันเอง ทั้งนี้ระหว่างพูดคุยต้องสังเกตปฏิกิริยาการแสดงออกว่ามีความกลัว ความกังวลหรือไม่ 6.)อธิบายเกี่ยวกับโปรแกรมการฟื้นฟูหลังตัด ว่าจะมีนักกายภาพบำบัดมาดูแลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันแรกที่ออกจากห้องผ่าตัดจนถึงวันที่ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
2 โปรแกรมการฝึกปฏิบัติ
สอนเทคนิคการหายใจให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกช้าๆ โดยที่หายใจเข้าทางจมูกท้องป่อง หายใจออกทางปากท้องแฟ็บ เทคนิคการหายใจจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดตามมาได้และสอนเทคนิคการไอหรือการกระแอม การไอให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกธรรมดาก่อนสามครั้งหลังจากนั้นหายใจเข้าลึกๆกลั้นลมหายใจแล้วไอออกมาแรงๆ การกระแอมให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกธรรมดาสามครั้งหลังจากนั้นสูดหายใจเข้าลึกๆแล้วพ่นลมหายใจออกมาแรงๆเหมือนการถอนหายใจโดยที่ไม่ต้องกลั้นหายใจก่อนและสอนเทคนิคการออกกำลังกายบนเตียงเพื่อลดอาการบวม โดยที่ให้ผู้ป่วยยกเท้าสูงแล้วกระดกปลายเท้าขึ้นลง กำมือแบมือ สลับกันและสอนเทคนิคการออกกำลังกายเพื่อลดการจำกัดของข้อต่อ ให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวข้อต่อด้วยตัวเองทุกข้อต่อของแขนและขา ทำ 10ครั้ง/เซต ทำ3 เซต/วันสอนเทคนิคท่าทางการจัดท่าผู้ป่วยหลังผ่าตัดมักจะนั่งหลังงุ้ม ฉะนั้นควรสอนท่าทางที่ถูกต้องให้แกผู้ป่วย
หลังผ่าตัด
วันที่ 1-2 หลังผ่าตัด
-ฝึกการหายใจเข้าออกลึกๆ ประมาณ 10 ครั้ง ไอให้เสมหะออกทุกครั้ง ทำทุก 2 ชม.
-หลังผ่าตัดภายใน 2 วัน ออกกำลังข้อเท้าทั้ง 2 ข้าง กระดกข้อเท้าขึ้นลง หมุนข้อเท้าเป็นวงกลม ทำท่าละ 10 ครั้ง เพื่อขยับข้อต่อ สร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่น ป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
วันที่ 2-3 หลังผ่าตัด
-ออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขา นอนราบเกร็งกล้ามเนื้อเข่า และกดเข่าลงบนที่นอนให้มากที่สุด กระดกข้อเท้าขึ้น นับ 1 – 10 จึงปล่อยกล้ามเนื้อคลายตัว ทำวันละ 3 เซท เซทละ 15 – 20 ครั้ง
-ออกกำลังกายแขนทั้ง 2 ข้าง ยกหมอนทรายเบาๆ 5 – 1 กิโลกรัม ขึ้นลงสลับ 2 ข้าง ช้าๆ
วันที่ 4-5 หลังผ่าตัดออกกำลังกายหลัง
-นอนหงายชันเข่า 2 ข้าง แขนแนบลำตัว เกร็งกล้ามเนื้อท้อง กดหลังกับพื้นเตียง เกร็งนาน 5 วินาที พัก และทำติดต่อกัน 10 ครั้ง
-นอนหงายชันเข่าทั้ง 2 ข้าง งอสะโพก และข้อเข่า แขนแนบลำตัว ยกศีรษะ และลำตัวช่วงบน เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องค้างไว้ 5 วินาที ทำติดต่อกัน 10 ครั้ง
-ให้นอนหงายชันเข่าสองข้าง ใช้มือจับเข่างอ เข่าจรดอกทำแค่ที่ทนได้แล้วปล่อย สลับทำทีละข้าง ข้างละประมาณ 10 ครั้ง โดยการออกกำลังกายแต่ละท่านั้นขึ้นอยู่กับชนิด และวิธีการผ่าตัดด้วย ดังนั้น ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผ่าตัด แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู หรือนักกายภาพบำบัดก่อน
การลุกนั่ง ยืน เดิน
ควรทำในท่าทางลักษณะที่ถูกต้อง เช่น เริ่มจากนั่ง 30-45 องศา ไปจนถึงนั่งตรง 90 องศา ในการผ่าตัดบางประเภทอาจต้องใช้อุปกรณ์พยุงหลังร่วมด้วยขณะนั่ง ยืน หรือเดิน หรือในผู้ป่วยที่อายุมากอาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเข็นร่วมด้วยในช่วงแรก
จากที่กล่าวมาทุกคนจะเห็นว่าการทำกายภาพก่อนและหลังการผ่าตัดมีความสำคัญเป็นอย่างมาก สามารถลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด และช่วยส่งเสริมให้ร่างกายฟื้นตัวได้ดีขึ้น เพราะฉะนั้น ใครที่เตรียมผ่าตัดอย่าลืมทำกายภาพก่อนและหลังการผ่าตัดกันด้วยนะคะ
เอกสารอ้างอิง
เตรียมตัวให้พร้อมก่อนการผ่าตัด Pre-operative class ศูนย์ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมบำรุงราษฎร์โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
-back pain as well as to study the effectiveness of physical therapy service in a primary care unit.
-Chronic low back pain is one of the top five major health problems in Kuean Sub-district