การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า อินเตอร์เฟอเรนท์เชียล (Interferential Current for Therapy) การรักษาด้วย การกระตุ้นไฟฟ้า
การรักษาด้วย การกระตุ้นไฟฟ้า มีความสำคัญอย่างไร ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเมื่อเกืดรอยโรคขึ้นที่สมองจะมีปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันมีความยากลำบากมากขึ้น เช่น การเคลื่อนย้ายตัวที่ไม่สามารถทำได้ตามปกติ เนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีอาการปวดหรือเจ็บไหล่ข้างที่มีอาการมเนื่องจากการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ รวมทั้งการที่การรับความรู้สึกนั้นสามารถทำได้น้อยลง เป็นต้น การรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าเป็นวิธีการรักษาหนึ่งทางกายภาพบำบัดที่จะนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างปกติ และผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหรือปวดบริเวณต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งการกระตุ้นไฟฟ้าก็จะสามารถใช้ในการลดอาการปวดได้ด้วยเช่นเดียวกัน
กระแสไฟฟ้า อินเตอร์เฟอเรนเชียล (Interferential Current)
กระแสไฟฟ้าชนิดอินเตอร์เฟอเรนเชียล (IFC) เป็นกระแสไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ (AC) ที่มีลักษณะเป็นไซน์เวฟ (Sine wave) มีความถี่ตั้งแต่ 1,001-10,000 Hz แต่ความที่มักนำมาใช้ในการรักษาทางการแพทย์จะอยู่ในช่วง 2,000-5,000 Hz จำนวน 2-3 วงจรกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะปล่อยผ่านไปในเนื้อเยื่อพร้อมกันเพื่อให้เกิดการแทรกสอดของความถี่กระแสไฟฟ้า ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ารูปแบบใหม่ที่มีการปรับแอมปลิจูด (Amplitude modulation) และการปรับความถี่ (Frequency modulation) ของกระแสไฟที่ไม่คงที่ และมีการเปลี่ยนแปลงไปเมื่อส่งผ่านไปในเนื้อเยื่อชั้นต่าง ๆ โดยข้อดีของกระแสไฟฟ้า IFC คือเชื่อว่ากระแสไฟฟ้าสามารถผ่านลงไปในชั้นผิวหนังและชั้นกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกได้ เนื่องจากเป็นกระแสไฟฟ้าที่มีช่วงกระตุ้นไฟฟ้าที่แคบและความถี่สูงจึงสามารถผ่านความต้านทานของชั้นผิวหนังได้ง่าย และทำให้รู้สึกสบายขณะกระตุ้นมากกว่ากระแสไฟฟ้าชนิดความถี่ต่ำอื่น ๆ
วัตถุประสงค์ในการรักษา (Therapeutic IFC)
เมื่อให้กระแส IFC แก่เนื้อเยื่อแล้วพบว่า กระแส IFC จะให้ผลการตอบสนองทางสรีรวิทยาของเนื้อเยื่อ โดยจะขึ้นอยู่กับความถี่ที่เกิดการแทรกสอดแล้วของกระแสไฟฟ้าที่รักษา
เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อหดตัวกระตุก (Twitch Contraction) โดยผู้ป่วยต้องออกแรงเกร็งกล้ามเนื้อตามจังหวะกระแสไฟฟ้าในระดับความแรงการหดตัวระดับพอทนได้ มักใช้ร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้การหดตัว (Muscle relearning) และยังสามารถใช้ในการชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อเนื่องจากขาดการใช้งานเป็นเวลานาน
เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscle Strengthening) การกระตุ้นลักษณะนี้จะทำให้กล้ามเนื้อหดตัวในท่าทางที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมชาติ นิยมใช้ในผู้ป่วยหลังถอดเฝือก นอนอยู่บนเตียงนาน หรืออัมพาต
เพื่อลดอาการปวด (Decrease Pain) และลดอาการบวม (Swelling) การกระตุ้นไฟฟ้าลักษณะนี้จะให้ความรู้สึกซ่า ๆ ที่ผิวหนัง ใช้ในการกระตุ้นลดปวดในผู้ป่วยที่มีอาการปวด ปวดร้าว ปวดกระดูกและข้อต่อ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มการไหลเวียนของน้ำเหลืองเพื่อลดอาการบวมที่แขนหรือขาได้อีกด้วย
ดังนั้นการรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า อินเตอร์เฟอเรนเชียล สามารถฟื้นฟู หรือเพิ่มความเร็วในการฟื้นตัวของผู้ป่วยหลอดเลือดสมองได้ ทั้งสามารถเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ ช่วยในการออกกำลังกายอย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยลดอาการปวด ซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนที่มักเกิดในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองได้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การกระตุ้นไฟฟ้าลักษณะนี้ควรจะต้องทำร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท รวมถึงการสั่งการของสมอง เพื่อให้การฟื้นตัวเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
Interferential Current for Therapy
Electrical stimulation therapy
How important is electrical stimulation therapy? In patients with cerebrovascular disease, when a lesion occurs in the brain, there are various problems that make daily life more difficult, such as moving the body that is unable to do normally. Due to muscle weakness or having pain or pain in the side of the affected shoulder due to abnormal movement including the feeling that it can be less, etc. Electrical stimulation therapy is one of the physical therapy treatments to be used in the treatment of stroke patients in patients with muscle weakness that does not able to move the body normally And patients with pain or pain in various areas of the body, which electrical stimulation can also be used to reduce pain as well.
Electricity Interferential (Interferential Current)
Interferential current (IFC) is an alternating current (AC) type with a sine wave (Sine wave) frequency ranges from 1001-10000 Hz, but is often used in medical treatment. will be in the range of 2,000-5000 Hz, 2-3 circuits of electricity which are simultaneously released through the tissue to allow interference of electric frequency. This creates a new type of electric current with amplitude modulation and frequency modulation of unstable current. And it changes when it is passed through different layers of tissue. The advantage of IFC is that it is believed that electric current can penetrate deep into the skin and muscle layers. Because it is an electric current with a narrow excitation range and a high frequency, it can easily pass through the resistance of the skin layer. and more comfortable during stimulation than other low-frequency electric currents
Therapeutic purposes (Therapeutic IFC)
When the IFC current was applied to the tissues, it was found that the IFC current produced a tissue physiological response. It depends on the interference frequency of the treated current.
To stimulate the muscle contraction (Twitch Contraction), the patient must exert muscle contraction according to the electrical rhythm at a tolerable level of contraction strength. It is often used in conjunction with exercise to stimulate muscle relearning and can also be used to slow muscle atrophy due to prolonged absence.
To increase muscle strength (Muscle Strengthening). This stimulation will cause the muscles to contract in the correct posture naturally. It is commonly used in patients after the cast has been removed. prolonged lying in bed or paralysis
To reduce pain (Decrease Pain) and reduce swelling (Swelling). This type of electrical stimulation gives a tingling sensation on the skin. It is used to stimulate pain relief in patients with pain, pain, bone and joint pain. It can also increase lymph flow to reduce swelling in your arms or legs.
Therefore, electrical stimulation therapy Interferential can restore or speed up the recovery of stroke patients. both can increase muscle strength Helps to exercise effectively and also reduces pain which is a complication that often occurs in patients with cerebrovascular however This type of electrical stimulation should be done in conjunction with regular exercise. to promote muscle learning and nerves including the commands of the brain for the most efficient recovery possible
Reference:
ปริญญา เลิศสินไทย. (2537). ไฟฟ้าบำบัด สำหรับนักกายภาพบำบัด. ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Almeida, C.C., Silva, V.Z., Júnior, G.C., Liabano, R.E., & Durigan, J.L., (2018). Transcutaneous electrical nerve stimulation and interferential current desmotrate similar effects inrelieving acute and chronic pain : a systematic review with meta-analysis. Braz J Phys Ther, 22(5), 347-354