การจัดท่านอน ในผู้ป่วย Stroke
การจัดท่านอน ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มักสูญเสียประสาทการรับความรู้สึกในด้านอ่อนแรง ทั้งความรู้สึกสัมผัส ความรู้สึกเจ็บปวด การรับรู้ตำแหน่งของข้อต่อ เป็นต้น ทำให้ขณะนอนอาจจะละเลยด้านอ่อนแรง ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆที่ตามมาได้ เช่น ภาวะแผลกดทับ ข้อไหล่ติด การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำ เป็นต้น ซึ่งภาวะแทรกซ้อนกล่าวข้างต้นนั้น เราสามารถดูแลได้เบื้องต้นด้วยการจัดท่าทางในการนอน โดยการจัดท่านั้นจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมากรวมไปถึงป้องกันการติดเชื้อที่เกิดจากแผลกดทับ
ประโยชน์ของการการจัดท่า
- ป้องกันความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น การหดสั้นของกล้ามเนื้อ, การยึดติดของข้อต่อ, อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เป็นต้น
- การป้องกันแผลกันทับบริเวณปุ่มกระดูก เช่น กระดูกท้ายถอย, กระดูกสะบัก, กระดูกสันหลัง, กระดูกก้นกบ, กระดูกส้นเท้า เป็นต้น
- ป้องกันปัญหาการไหลเวียนเลือดและระบบน้ำเหลือง เช่น อาการบวมของแขนขาที่มีภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
- ช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยเรียนรู้การดูแลร่างกายส่วนที่มีพยาธิสภาพได้ถูกต้อง
- ช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวได้เร็วมากขึ้น
- ช่วยกระตุ้นระบบการหายใจและการแลกเปลี่ยนออกซิเจนภายในปอดได้ดีขึ้น
- ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดการรติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อจากแผลกดทับ, การติดเชื้อภายในปอด, การติดเชื้อภายในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
การจัดท่านอนหงาย ( Supine position )
- นอนศีรษะสูง 0-30 องศา ศีรษะและลำตัวอยู่ในแนวตรง โดยเอาหมอนมารองบริเวณท้ายทอย
- หมอนรองใต้หัวไหล่และสะบักในข้างอ่อนแรง แขน หากข้อศอกเหยียดตรงและหมุนออกข้างนอก
- ข้อมือตรงหงายมือก็ได้ นิ้วมือเหยียดออก
- ขาเหยียดตรง และหมุนขาเข้าด้านในเล็กน้อย นำหมอนใบเล็กหรือผ้าขนรองบริเวณก้นกบ รวมไปถึงเอาผ้าขนหนูหรือหมอนรองใต้เข่า เพื่อให้ข้อเข่างอเล็กน้อย
- ปลายเท้าควรใช้ผ้าขนหนูเล็กหรือถุงมือใส่น้ำรองด้านข้างและส้นเท้าของข้อเท้า เพื่อให้เท้าตั้งตรง ป้องกันการเกิดแผลกดทับที่ตาตุ่มและส้นเท้า
การจัดท่านอนตะแคงทับข้างที่ปกติ ( Lying on unaffected side )
- จัดให้ผู้ป่วยนอนอยู่ในแนวตรง ศีรษะโน้มไปทางด้านหน้าเล็กน้อย และนำหมอนหนุนบริเวณหลังส่วนล่าง เพื่อพยุงให้ลำตัวอยู่ในแนวตรง
- ส่วนแขนของผู้ป่วยในข้างอ่อนแรง ควรมีหมอนรองใต้แขนตั้งแต่ ต้นแขนจนถึงปลายแขน โดยแขนของผู้ป่วยยื่นไปข้างหน้า ข้อศอกเหยียด ข้อมือตรง นิ้วมือเหยียดออก
- สะโพกและเข่าข้างที่อ่อนแรงมีหมอนรองตั้งแต่สะโพกถึงปลายเท้าจัดให้ข้อสะโพกและเข่างอเล็กน้อย ข้อเท้าอยู่ในท่าปกติ
การจัดท่านอนตะแคงทับข้างอ่อนแรง ( Lying on affected side )
- จัดให้ผู้ป่วยนอนอยู่ในแนวตรง ศีรษะโน้มไปทางด้านหน้าเล็กน้อย และนำหมอนหนุนบริเวณหลังส่วนล่าง เพื่อพยุงให้ลำตัวอยู่ในแนวตรง
- แขนในข้างอ่อนแรงยื่นมาข้างหน้า โดยจับสะบักและข้อไหล่ไปทางด้านหน้า ตามด้วยจัดข้อศอกตรงและหงายมือ โดยการจัดตำแหน่งของสะบักเช่นนี้จะทำให้ผู้ป่วยไม่นอนทับไหล่ของตนเอง
- ขาในข้างอ่อนแรง เหยียดขา เข่างอเล็กน้อย ข้อเท้าอยู่ในท่าปกติ ขาในข้างดี นำหมอนมารองตั้งแต่สะโพกถึงปลายเท้า โดยให้ข้อเข่า งอสะโพกเล็กน้อยวางหมอนค่อนมาทางด้านหน้าของขาข้างอ่อนแรง
โดยการจัดท่านอนควรจะมีการเปลี่ยนท่าทุก ๆ 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดการยึดติดของข้อต่อ การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ รวมไปถึงอาการบวมของแขนขาได้
ดังนั้น หากเราจัดท่านอนให้ถูกต้อง จะช่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายในขณะนอนได้แล้วนั้น ยังช่วยทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างได้เช่นกัน ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูทางกายภาพได้อย่างเต็มที่ หากท่านใดที่ต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่
โทร. 086-311-9699 หรือ Line official: @rebrain
Positioning in Stroke Patients
Positioning in patients with cerebrovascular disease Often loss of sensory nerves in the weak. Both sense of touch Feeling of pain Perception of the position of the joints, etc., makes it possible to ignore the weak side while sleeping. This can lead to complications that can follow, such as pressure ulcers, shoulder stiffness, muscle contraction. Venous thromboembolism, etc. The complications mentioned above. We can take care of it initially by adjusting the sleeping posture. By doing this, it significantly reduces the risk of it occurring, including preventing infection caused by pressure sores.