การฝังเข็ม ศาสตร์ทางเลือก ตัวช่วย…กายภาพ

การฝังเข็ม ศาสตร์ทางเลือก ตัวช่วย…กายภาพ

ทุกคนคงทราบกันดีว่าการรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดสมองนั้น นอกจากวิธีการรักษาทางกายภาพบำบัดแล้วยังมีวิธีการรักษาในรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถทำควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัดได้ ซึ่งวิธีการรักษาต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาและฟื้นฟูร่างกายร่วมกับศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น การฝังเข็ม การฝึกพูด ฝึกกลืน TMS เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยให้ผลทางการรักษาฟื้นฟูนั้นเกิดประสิทธิภาพที่ดีขึ้น โดยในวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับการรักษาทางเลือกยอดนิยมอย่าง “ ฝังเข็ม ” ว่า การฝังเข็ม มีหลักการทำงานยังไง และสามารถช่วยอะไรได้บ้างในการฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มาหาคำตอบไปพร้อมกันครับ

 การฝังเข็ม ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองโดยหลักการแพทย์แผนจีนนั้น จะช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว เลือดไหลเวียนเข้าสู่อวัยวะต่างๆ มากขึ้น ทั้งสมอง หัวใจ แขนและขา เมื่อแพทย์ฝังเข็มโดยใช้จุด ฝังเข็ม บริเวณท้ายทอยและคอส่วนบน ก็จะส่งผลให้เลือดไหลเวียนสู่สมองมากขึ้น โดยการที่ ฝังเข็ม จะไปลดการส่งกระแสประสาทซิมพาเทติกทำให้เลือดกลับมาเลี้ยงสมองในส่วนที่ขาดเลือด โดยในการรักษาด้วยวิธี ฝังเข็ม จะไม่แนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน แต่จะแนะนำให้ ฝังเข็ม ในช่วงระยะกึ่งเฉียบพลัน (Sub-acute) และระยะเรื้อรัง (Chronic) เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวสมองอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ฟื้นตัวได้ดีที่สุด และพบว่าวิธี ฝังเข็ม ช่วยกระตุ้นเซลล์ประสาทในบริเวณที่อยู่ริมๆ ของส่วนที่ขาดเลือดโดยเฉพาะบริเวณที่เรียกว่า penumbra area ให้ฟื้นคืนสภาพกลับมาทำงาน ช่วยเพิ่มการไหลเวียน ของเลือดไปเลี้ยงบริเวณดังกล่าวช่วยยับยั้งการทำงานของ excitatory amino acid ผ่าน N-Methyl-Daspartate(NMDA) receptor และยับยั้งการทำงานของอนุมูลอิสระเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระส่งผลให้ผู้ป่วยฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และช่วยให้สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้จึงเป็นวิธีบำบัดที่ใช้เสริมร่วมกับการให้ยารักษาตามมาตรฐานในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

เมื่อเรารู้ถึงหลักการและผลของ การฝังเข็ม แล้ว ต่อไปเรามาดูกันครับว่าการรักษาโดยวิธี ฝังเข็ม เหมาะกับผู้ป่วยหรือบุคคลกลุ่มใดบ้าง และมีข้อห้ามในผู้ป่วยกลุ่มใดบ้าง

กลุ่มผู้ป่วยแบบเหมาะกับ วิธีฝังเข็ม

  1.ผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ เช่น Office syndrome ปวดหลัง ต้นคอ ไหล่ เข่า ปวดศีรษะ และปวดไมเกรน

  2.ผู้ป่วยทางโรคระบบประสาท ชาปลายมือ ปลายเท้า อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคอัมพาตใบหน้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง

  3.ผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ เช่น ภูมิแพ้ หวัดเรื้อรัง และหอบหืด

  4.ผู้ป่วยระบบทางเดินอาหาร และลำไส้ เช่น กรดไหลย้อน ท้องผูก อาหารไม่ย่อย

  5.ผู้ป่วยทางนรีเวช เช่น ปรับสมดุล ปรับฮอร์โมน

Patient group suitable for acupuncture method

1. Patients with muscle pain such as Office syndrome, back pain, neck, shoulder, knee, headache and migraine.

2. Patients with neurological diseases, numbness of the hands, feet, paralysis, paralysis, facial paralysis muscle weakness

3. Patients with respiratory system such as allergies, chronic cold and asthma.

4. Patients with gastrointestinal and intestinal diseases such as acid reflux, constipation, indigestion

5. Gynecological patients, such as adjusting the balance, adjusting hormones


กลุ่มผู้ป่วยใดที่มีข้อห้ามสำหรับวิธี ฝังเข็ม 

  1. สตรีมีครรภ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงใกล้คลอด ไม่สามารถทนนอน หรือนั่งเป็นเวลานานได้  
  2. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด   
  3. ผู้ป่วยโรคมะเร็ง (ที่ยังไม่ได้รับการรักษา) 
  4. โรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น ไส้ติ่งอักเสบ 
  5. ผู้ป่วยโรคหัวใจ ที่มีเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ (Pacemaker) ในกรณีที่รักษาวิธีฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้า
  1. ผู้ป่วยที่ตื่นเต้นหวาดกลัวต่อการรักษามากเกินไป 
  2. ผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อยจากการออกกำลังกายอย่างหนัก 
  3. ทารก เด็กเล็ก ผู้ป่วยทางจิต โรคสมองเสื่อม หรือกลุ่มบุคคลที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้

ส่วนผู้ป่วยที่เหมาะสม กับการรักษาด้วยวิธี ฝังเข็ม คือผู้ป่วยที่พ้นระยะ Acute แล้ว 7 วัน – 6 เดือนและมีอายุมากกว่า 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

Which patient groups are contraindicated for acupuncture?

1. Pregnant women, especially in the near term can’t bear to sleep or sitting for a long time
2. Patients with coagulation disorders
3. cancer patient (that has not been treated)
4. Diseases that require surgical treatment, such as appendicitis
5. heart disease patient with a pacemaker (Pacemaker) in the case of acupuncture treatment with electrical stimulation
6. Patients who are too excited about treatment
7. Patients who are tired from strenuous exercise
8. Infants, young children, mentally ill people dementia or groups of people who are unable to cooperate in the treatment

suitable patient With acupuncture treatment, patients who have passed the acute phase 7 days – 6 months and are over 20 years of age.

อย่างไรก็ตาม การฝังเข็ม เป็นอีกหนึ่งในการรักษาซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวด อาการชาและอาการเกร็งลงแต่ที่สำคัญจะต้องทำการตรวจร่างกาย สังเกตุอาการ การเปลี่ยนแปลง การตอบสนองต่อการรักษาควบคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์และกายภาพบำบัด ร่วมกับการออกกำลังกายตามคำแนะนำอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ของการรักษาที่ดีขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยเอง

 

เอกสารอ้างอิง

1.กมลทิพย์ หาญผดุงกิจ , พ.บ. , ว.ว.เวชศาสตร์ฟื้นฟู ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. การฝังเข็มกับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร             ( 7 ตุลาคม 2552 ); 12(2) : 37-42.

2.กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการจัดบริการฝังเข็มโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู Service guidelines for acupuncture in stroke rehabilitation.         (19 ตุลาคม 2563).

3.หัวเฉียวแพทย์แผนจีน . ทางเลือกการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง Stroke อัมพฤกษ์ อัมพาต จ้งเฟิง.

   ( 10 สิงหาคม 2564 )

      

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top