การฝึกพูดในผู้ป่วย stroke

การฝึกพูด ในผู้ป่วย stroke 

การที่ผู้ป่วย stroke พูดไม่ชัด หรือพูดไม่ได้นั้นเกิดได้จากอะไร แล้วเราจะมีวิธีอย่างไรใน การฝึกพูด ให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาพูดคุยสื่อสารได้ มาหาคำตอบในบทความนี้ได้เลยค่ะ
     การที่ผู้ป่วยพูดไม่ได้หลังจากการเป็น stroke มีหลากหลายสาเหตุ โดยจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

1.การพูดไม่ชัด (Neurological articulation disorders)
     การพูดไม่ชัดจากระบบประสาทที่ควบคุมอวัยวะด้านการพูดบกพร่อง (Dysarthria) ทำให้อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดอ่อนแรง เป็นอัมพาต หรือเกร็ง ถ้าพูดยาวๆ หรือนานๆจะยิ่งไม่ชัดขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยอาจมีน้ำลายไหลที่มุมปากร่วมด้วย
     การฝึกที่ผู้ดูแลสามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยได้ เช่น

– การออกกำลังกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการพูด
     การฝึกเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด ซ้ำๆ เร็วๆ ชัดๆ โดยพิจารณาความสามารถของผู้ป่วยเป็นเกณฑ์

-การฝึกพูด ที่เรียงลำดับให้ชัดเจน เช่น
1)การท่องชื่อวันใน 1 สัปดาห์
2)การท่องชื่อ 12 เดือนใน 1 ปี
3)การท่องสูตรคูณ
4)การท่องพยัญชนะ ก–ฮ
5)การอ่านหนังสือออกเสียง
6)การถามตอบ

-ผู้ที่พูดเสียงเบา พูดประโยคสั้นๆแล้วเสียงหายไป ควรฝึกสูดลมหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ แล้วลากเสียงสระยาวๆ

-การฝึกพูดกับบุคคลใกล้ชิด คนในครอบครัว และคนในสังคม ควรนำผู้ป่วยเข้าสังคมตามปกติ เช่น ไปซื้อของ เพื่อพัฒนาการพูดในบริบทที่เป็นธรรมชาติ

2.การพูดไม่ชัดแบบมีความบกพร่องของสมองที่ควบคุมโปรแกรมการพูด(Aprasia of speech:AOS)
     ผู้ป่วยจะพูดไม่ชัดโดยไม่พบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด การพูดไม่ชัดจะเกิดขึ้นในคำหรือประโยคที่ตั้งใจจะพูด แต่ในบางครั้งจะพูดได้ชัดเมื่อไม่ตั้งใจพูด


     การฝึกเรื่องการพูด ได้แก่
-การฝึกเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด เช่น ลิ้น ริมฝีปาก ฯลฯ
-การฝึกออกเสียงสระในพยางค์ง่ายๆ
-ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ ที่ใช้ริมฝีปาก
-ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะต้นอื่นๆ
-ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ 2 พยางค์ที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน
-ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ 2 พยางค์ที่มีพยัญชนะต้นต่างกัน
-ฝึกการออกเสียงพูดคำที่มีความหมาย 1 2 3 พยางค์ วลี ประโยค ตามลำดับ
     ดังนั้นผู้ป่วย stroke ที่มีปัญหาด้านการพูดควรได้รับการฝึกพูดซ้ำๆ อย่างสม่ำเสมอ โดยอาจปรึกษานักอรรถบำบัดร่วมด้วยเพื่อที่จะได้รับการรักษาที่ตรงจุดมากขึ้น

speech training in stroke patients

What is the cause of a stroke patient with slurred speech or unable to speak? So how do we have to practice speaking so that patients can come back and communicate? Let’s find the answer in this article.
There are many reasons for the inability of a patient to speak after a stroke. It is divided into two main types:

1. indistinct speech (neurological articulation disorders)
Slurred speech from the nervous system that controls speech organs (dysarthria) weakens the organs involved in speech. Paralysis or spasticity. If you talk for a long time or for a long time, it will become more and more unclear. The patient may also have salivation at the corner of the mouth.
Training that caregivers can apply to patients such as

– Exercising the muscles involved in speaking
Practicing repetitions of the movements of the organs involved in speaking quickly and clearly, taking into account the ability of the patient as a criteria

– Practicing speaking clearly in sequence, such as
1) Recite the names of the days of the week.
2) Recite the names of 12 months in a year.
3) memorizing the multiplication table
4) Recitation of consonants A-Z
5) Reading aloud
6) Q&A

– one who speaks softly Say a short sentence and the voice disappears. You should practice taking slow, deep breaths and dragging long vowels.

Practicing speaking with close people, family members and people in society should bring the patient to social activities as usual, such as shopping, to develop speaking in a natural context.

2. Slurred speech with impairment of the brain that controls the speech program (Aprasia of speech (AOS)).
The patient will have slurred speech without experiencing weakness of the muscles of the organs involved in speech. Slurred speech occurs in the intended words or sentences. but at times it becomes clear when not intent on speaking.


เอกสารอ้างอิง 

1.Brady MC, Kelly H, Godwin J, Enderby P, Campbell P. (2016). Speech and language therapy for aphasia following stroke. Cochrane Database of Systematic Reviews: 1-309. 

2.Julia A Legh-Smith, Rosa Denis, PAMELA M Enderby, Derick T Wade, RICHARD Langton-Hewer. (1987). Selection of aphasic stroke patients for intensive speech therapy. Journal of Neurology, Neurosurgery & Psychiatry. 50 (11): 1488-1492.

 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top