ภาวะ ข้อติด เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างไร

ภาวะ ข้อติด เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างไร

ภาวะ ข้อติด ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง เป็นความผิดปกติของระบบประสาทสั่งการที่พบได้ค่อนข้างบ่อย โดยส่วนมากจะพบได้บ่อยในแขนและมือโดยภาวะการหดเกร็งทำให้เกิดข้อยึดติดตามมา และเมื่อข้อติดแล้วจะทำให้เกิดอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวและทำให้ระดับความสามารถของผู้ป่วยลดลง

อาการเกร็งในโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นความผิดปกติของระบบประสาทสั่งการ โดยร่างกายไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ทำให้เกิดรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติจะเกิดขึ้นเมื่อคนไข้ออกแรงที่มากกว่าปกติ การออกแรงมากๆหรือ พยายามเคลื่อนไหวที่มากเกินไปอาจมีอาการเกร็งเกิดขึ้นได้โดยเกิดได้ทั้งแขนและขา อาการเกร็งดังกล่าวจะเป็นการหดตัวของกล้ามเนื้อเป็นอัตโนมัติ ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมได้เพราะระบบประสาทที่ควบคุมการตึงตัวของกล้ามเนื้อจะสูญเสียการทำงาน ส่วนมากมักเกิดขึ้นในแขน โดยจะอยู่ในลักษณะแขนงอเข้าหาตนเอง ไหล่อยู่ในท่าเคลื่อนเข้าหาตัวและหมุนเข้าด้านใน ข้อศอกข้อมือและนิ้วมือจะเกร็งอยู่ในท่างอ ส่วนขาจะเกร็งหนีบสะโพก เกร็งเหยียดเข่า และเกร็งถีบปลายเท้า หากไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยไว้ในท่าเกร็งนานๆ กล้ามเนื้อจะเสียสภาพและเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาคือกล้ามเนื้อหดสั้นและข้อยึดติด ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวทำให้ระดับความสามารถของการทำกิจกรรมต่างๆลดลง และทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดเมื่อขยับและเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มช่วงการเคลื่อนไหว

โดยการตึงตัวของกล้ามเนื้อแบ่งคะแนนออกเป็น 6 คะแนน

คะแนน 0  หมายถึงความตึงตัวของกล้ามเนื้อไม่เพิ่มขึ้น
คะแนน 1 หมายถึงความตึงตัวของความเนื้อเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทำให้เกิด spastic cathc เวลา ขยับข้อเร็วๆ ตามด้วยแรงต้านเฉพาะช่วงสุดท้ายขององศาการเคลื่อนไหว
คะแนน 1+ หมายถึงความตึงตัวของความเนื้อเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทำให้เกิด spastic cathc เวลา ขยับข้อเร็วๆ ตามด้วยแรงต้านน้อยกว่าครึ่งหนึ่งขององศาการเคลื่อนไหว
คะแนน 2 หมายถึงความตึงตัวของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นเกือบตลอดองศาการเคลื่อนไหวแต่ยังเคลื่อนไหวข้อได้ง่าย
คะแนน 3 หมายถึง ความตึงตัวของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นมากจนเคลื่อนไหวข้อได้ยาก
คะแนน 4  หมายถึง ข้อติดแข็งอยู่ในท่างอหรือเหยียด

ผู้ป่วยที่มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานมักมีปัญหาการหดสั้นและยึดติดของกล้ามเนื้อหรือการหลุดของข้อ กระดูกหัก อาการปวดเรื้อรัง หรือเกิดแผลกดทับเรื้อรังตามมาได้ จึงจะต้องมีการลดเกร็งของกล้ามเนื้อที่เหมาะสมคือ

  1. กำจัดปัจจัยที่กระตุ้นทำให้กล้ามเนื้อเกร็งมากขึ้น ได้แก่ ภาวะที่กระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวด
  2. การทำกายภาพบัดบัด การใส่อุปกรณ์เสริม
  3. การใช้ยาลดเกร็งชนิดทาน
  4. การใช้ยาลดเกร็งชนิดฉีดเฉพาะที่
  5. การออกกำลังกาย
  6. การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่เกิดขึ้นหลังจากเกิดโรคหลอดเลือดสมองคือภาวะข้อติด เนื่องจากอาการหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมองที่ตามมาคืออาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ที่อาจจะติดอยู่ในท่างอ หรือ ท่าเหยียด เป็นเวลานานๆ โดยไม่มีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อสิ่งที่จะตามมาคือภาวะข้อติด นั่นเอง

How can arthritis be a complication of a stroke?

Arthralgia in cerebrovascular patients It is a relatively common malfunction of the motor nervous system. It is most common in the arms and hands, with spasticity causing joint stiffness.

And when the joint is stuck, it can impede movement and reduce the patient’s ability level.

Spasticity in cerebrovascular disease which is a disorder of the motor nervous system The body is unable to control movements, causing abnormal movement patterns to occur when the patient exerts more than usual.

a lot of exertion? Trying to move too much can cause spasticity that can occur in both the arms and legs.

Such spasticity is an automatic contraction of the muscles. The patient is unable to control it because the nervous system that controls muscle tightness loses its function.

 

แหล่งอ้างอิง

1.คณะอาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, เอกสารประกอบการสอนวิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู สำหรับนักศึกษาแพทย์ปี4 เรื่องเวชศาสตร์ฟื้นฟูในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke rehabilitation), มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2018.

 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top