ภาวะ ข้อเท้าตก กับโรคหลอดเลือดสมอง

ภาวะ ข้อเท้าตก กับโรคหลอดเลือดสมอง

เท้าถือเป็นอวัยวะที่สำคัญ ซึ่งทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของร่างกาย รองรับการเคลื่อนไหวและสะท้อนการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ช่วยในการทรงตัวในท่ายืน เดิน และถ่ายรับน้ำหนักตัว ไม่น่าแปลกใจที่พบว่าปัญหาเรื่องเท้าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และหากมีความผิดปกติที่ข้อเท้ามักส่งผลให้มีปัญหาในการเดิน

ภาวะ ข้อเท้าตก เป็นอีกหนึ่งอาการที่หลายคนอาจคุ้นเคย หรือบางคนอาจเคยได้ยินผ่านหูมาบ้าง แต่ยังไม่เข้าใจถึงอาการที่ชัดเจน มาเริ่มทำความรู้จักกับภาวะข้อเท้าตก(foot drop) ว่าเป็นอย่างไร

ภาวะข้อเท้าตก(foot drop) เป็นภาวะที่ร่างกายผิดปกติชนิดหนึ่ง อาจเกิดจากโรคบางอย่าง ส่งผลให้เส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณเท้าผิดปกติไปจากเดิม ทำให้กระดกเท้าไม่ขึ้น เช่น ในผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถกระดกข้อเท้าได้ ความจริงแล้วความผิดปกติอาจไม่ได้เกิดที่ข้อเท้า แต่เกิดที่เส้นประสาท ส่งผลให้มีภาวะข้อเท้าตก

อาการของภาวะข้อเท้าตก

ผู้ป่วยจะไม่สามารถกระดกเท้าได้ หรือกระดกเท้าไม่ขึ้น ทำให้ยกเท้าไม่พ้นพื้นจึงสะดุดเท้าตัวเองล้มลงหรือสะดุดวัตถุอื่นแล้วล้มลงได้ง่าย ผู้ป่วยจึงพยายามที่จะยกข้อเท้าให้สูงขึ้นกว่าเดิม ทำให้ท่าเดินผิดปกติและทรงตัวได้ยากขึ้นหรือทำให้ล้มได้ง่าย นอกจากนี้อาจมีอาการชาบริเวณขาด้านข้าง รวมไปถึงบริเวณเท้าด้านบน

สาเหตุของภาวะข้อเท้าตก

เกิดจากเส้นประสาทที่ชื่อว่าพีโรเนียลซึ่งอยู่บริเวณหัวเข่าด้านนอกถูกกดทับ ทำให้เส้นประสาทได้รับความเสียหาย

เส้นประสาทที่หลังถูกกระดูกกดทับ

อาการจากสมองหรือไขสันหลัง

อุบัติเหตุบริเวณหัวเข่า เช่น กระดูกหัก ข้อเข่าเคลื่อน อาจทำให้เส้นประสาทได้รับบาดเจ็บได้

โรคประจำตัวอื่น ๆ เช่น กระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือโรคที่ทำให้ภาวะปลายประสาทมีปัญหา เช่น โรคเบาหวาน โรคทางพันธุกรรมบางอย่าง ข้อหลังแข็ง เป็นต้น

พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยว่า ปัญหาเท้าตก(foot drop) ส่งผลเสียอย่างไรในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง

ปัญหาเท้าตก(foot drop) ในการเดินเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเกิดจากการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาทั้งในช่วงการก้าว (swing phase) และช่วงการยืน (stance phase) ในการเดิน โดยในช่วงการก้าวผู้ป่วยจะไม่สามารถกระดกเท้าขึ้นได้สูงพอที่จะก้าวเพื่อให้เท้าพ้นพื้น ทำให้ผู้ป่วยต้องหาวิธีในการชดเชยการเดิน เช่น การงอสะโพกหรือเข่ามากขึ้นและในช่วงของการยืน ผู้ป่วยมักจะมีปัญหาการควบคุมการวางเท้าโดยเฉพาะในช่วง initial contact ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับน้ำหนักของร่างกายในเวลาขณะเดินได้  ดังนั้นการช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาเรื่องเท้าตก(foot drop) จึงมีความสำคัญอย่างมากในการช่วยเดินซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการเดินดีขึ้น

ในปัจจุบันได้มีการใช้อุปกรณ์เสริมหลายชนิดเพื่อช่วยแก้ไขความผิดปกติในการเดินจากปัญหาเท้าตกของผู้ป่วยกลุ่มนี้ เช่น อุปกรณ์ดามขาชนิดสั้น (Ankle Foot Orthosis: AFO) ซึ่งทำจากพลาสติกใช้ดามบริเวณข้อเท้าเพื่อพยุงไม่ให้เท้าตก เป็นกายอุปกรณ์ที่นิยมเลือกใช้มากที่สุดในการปรับปรุงท่าทางการเดินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เราจะมาทำความรู้จักกับ AFO หรืออุปกรณ์ดามขาชนิดสั้นกันว่ามีลักษณะอย่างไร

Ankle Foot Orthosis (AFO) เป็นอุปกรณ์เสริมที่คลุมหรือดามผ่านส่วนของเท้า และข้อเท้า                   เหมาะสำหรับผู้ที่มีโครงสร้างของเท้าและเท้าที่ผิดปกติหรือมีการบิดผิดรูป, มีภาวะของกล้ามเนื้ออ่อนแรงของขา, มีอาการเกร็งที่ขา, มีภาวะเดินแล้วปลายเท้าตก( Foot drop ), ผู้ที่มีกระดูกหักในส่วนของกระดูกขาส่วนล่างลงไป หรือผู้ที่ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้                                                                                           ผลของการใช้อุปกรณ์จะขึ้นอยู่กับชนิด การออกแบบและวัตถุประสงค์ต่อการใช้งานซึ่งจะให้ผลที่ต่างกันออกไป ดังนี้

  1. ช่วยควบคุมโครงสร้างของเท้าและข้อเท้าให้อยู่ในตำแหน่ง(Position) ที่เหมาะสม
  2. ช่วยในการส่งเสริมหรือจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเท้า ลดภาวะอาการเกร็งของขา ป้องกันข้อเท้าติด
  3. ช่วยเพิ่มความมั่นคงและประคองข้อเท้าขณะเดิน รวมถึงการจำกัดการลงน้ำหนักที่เท้า
  4. ช่วยส่งเสริมให้กระดูกขาท่อนล่างที่หักสามารถเชื่อมติดกันได้ดีขึ้น

ซึ่งพบว่าการใช้ AFO ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ช่วยควบคุมโครงสร้างของเท้าและข้อเท้าให้อยู่ในตำแหน่ง(Position) ที่เหมาะสม ลดภาวะอาการเกร็งของขา ช่วยเพิ่มความมั่นคงและประคองข้อเท้าขณะเดิน ทำให้ความเร็ว (Speed) และจำนวนก้าว (Cadence) ในการเดินดีขึ้น แต่เป็นอุปกรณ์สำหรับบุคคลที่ต้องประเมินตามความเหมาะสมในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองแต่ละราย ไม่ใช่ทุกรายที่จำเป็นต้องใส่อุปกรณ์ชนิดนี้

Ankle sprain and cerebrovascular disease

​The feet are important organs that support the body’s weight. Support movement and reflection of other organs, helping to balance in standing, walking and weight transfer. Not surprisingly, foot problems are a common problem. And if there is an abnormality in the ankle, it often results in difficulty walking.

Falling ankle is another symptom that many people may be familiar with. Or some people may have heard through some ears. but still do not understand the clear symptoms Let’s start getting to know what it’s like to have a foot drop.

Foot drop is a condition in which the body is abnormal. may be caused by certain diseases As a result, the nerves that feed the feet are abnormal from the original. The foot is not up, such as in some patients who are unable to bend the ankle. In fact, the abnormality may not occur in the ankle. but the nerve resulting in ankle

เอกสารอ้างอิง

  1. Abe H, Michimata A, Sugawara K, Sugaya N, Izumi SI. Improving gait stability in stroke hemiplegic patients with a plastic ankle-foot orthosis. Tohoku J Exp Med 2009; 218: 193-9.
  2. Gil-Castillo J, Alnajjar F, Koutsou A, Torricelli D, Moreno JC. Advances in neuroprosthetic management of foot drop: a review. J Neuro eng Rehabil 2020; 17: 46.
  3. Simons CDM, van Asseldonk EHF, van der Kooij H, Geurts ACH, Buurke JH. Ankle-foot orthoses in stroke: effects on functional balance, weight-bearing asymmetry and the contribution of each lower limb to balance control. Clin Biomech(Bristol, Avon) 2009; 24: 769-75.

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top