ข้อเท้าพลิก จัดการความปวดยังไงดี

 ข้อเท้าพลิก จัดการความปวดยังไงดี

ข้อเท้าเป็นข้อต่อที่มีลักษณะเป็นแบบบานพับ มีทิศทางการเคลื่อนไหวส่วนใหญ่เป็นการกระดกปลายเท้าขึ้น และการเหยียดปลายเท้าลง โดยข้อเท้าประกอบด้วยส่วนปลายของกระดูกหน้าแข้งด้านใน ด้านนอก และกระดูกภายในเท้าหลายชิ้น ซึ่งเชื่อมต่อด้วยเอ็นข้อเท้าหลายเส้น เพื่อเป็นการส่งเสริมความมั่นคงของข้อเท้า ข้อเท้าพลิก เป็นอาการที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย

 ข้อเท้าพลิก คือการฉีกขาดของเอ็นยึดกระดูกข้อเท้าโดยส่วนมากเกิดจากการเกิดอุบัติเหตุ การบิดหมุนหรือพลิกของข้อเท้าจนเกินช่วงการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ การบาดเจ็บของเอ็นยึดกระดูกด้านนอกที่เกิดการเคลื่อนไหวของข้อเท้าในการพลิกตะแคงเข้าทางด้านใน เกิดมากถึงร้อยละ90 ซึ่งการเกิดข้อเท้าพลิก จะสามารถแบ่งการฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อได้เป็น 3 ระดับ คือ

1.ระดับไม่รุนแรง ปวด บวมไม่มาก

2.ระดับปานกลาง เดินลำบาก มีการฉีกขาดของเอ็นบางส่วน

3.ระดับรุนแรง ฉีกขาดของเอ็นข้อเท้าทั้งหมด สูญเสียความมั่นคง ปวด บวม มีเลือดคั่งมาก จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด 

การดูแลรักษาหลังการบาดเจ็บข้อเท้าพลิก แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่

ระยะที่1 เกิดการบาดเจ็บใน 3 วันแรก ใช้หลักการของ R I C E เพื่อลดอาการอักเสบ

R = rest การพัก หลีกเลี่ยงการทำงานของข้อเท้า

I = ice การประคบเย็น เพื่อลดอาการบวมทุกๆ 15-20 นาที

C = compression การให้แรงกดเฉพาะที่โดยใช้ผ้ายืดพัน เพื่อจำกัดการเคลื่อนไหว

E = elevate การยกข้อเท้าให้สูงกว่าหัวใจ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของของเหลวจากการบวมกลับเข้าสู่ระบบการไหลเวียนเลือด


ระยะที่2 หลังการบาดเจ็บ 3 วัน- 2 สัปดาห์ เป็นช่วงอาการอักเสบลดลง การรักษาคือ การเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวให้มีความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ โดยให้กระดกปลายเท้าขึ้น-ลง หมุนข้อเท้า และยืดกล้ามเนื้อน่อง 


ระยะที่3 หลังการบาดเจ็บ 2-3 สัปดาห์ เป็นการรักษาที่เน้นความแข็งแรง ให้ทำท่าเปิดปลายเท้าออกด้านนอก โดยให้ส้นเท้าอยู่กับที่ค้างไว้ หรือใช้ยางยืดเป็นแรงต้าน ส่วนความทนทาน เป็นตัวที่ส่งเสริมการกลับไปใช้งานให้ใกล้เคียงกับปกติ ได้แก่ การปั่นจักรยานอยู่กับที่ หรือการเดินเร็ว


ระยะที่4 หลังการบาดเจ็บ 3-4 สัปดาห์ เป็นการรักษาที่เน้นความคล่องตัว โดยการวิ่งเป็นเส้นตรง/วงกลม/ซิกแซก และการกระตุ้นการรับรู้ของข้อต่อ ให้ยืนเขย่งปลายเท้าขึ้นลงจากง่ายไปยาก โดยเริ่มจากการเขย่ง2ขา ไปเป็นเขย่งขาเดียวข้างที่มีปัญหา จากนั้นเพิ่มความยากโดยการเปลี่ยนพื้นผิวที่ยืนให้นิ่มขึ้น หรือให้หลับตา เพื่อเป็นการตัดการรับรู้ และรบกวนการทรงตัวในอีกทางหนึ่ง ตามลำดับ 

 ข้อเท้าพลิก เป็นอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากกีฬาหรืออุบัติเหตุ โดยมากจะพบที่เอ็นข้อเท้าด้านนอก เมื่อเกิดอาการให้ใช้หลักการของ R I C E เป็นอันดับแรก เพื่อลดอากการอักเสบและพักการใช้งาน หลังจากนั้นเมื่ออาการอักเสบลดลงค่อยมาเพิ่มความยืดหยุ่น ความแข็งแรง ความทนทาน และการรับรู้ของข้อต่อที่ข้อเท้า ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดต่อไป 

เอกสารอ้างอิง

  1. สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). การบาดเจ็บของข้อเท้า. สาระน่ารู้จากคลินิกการกีฬา, 3-16.
  2. อุไรวรรณ ชัชวาล. (2544). กายภาพบำบัดในผู้ป่วยข้อเท้าแพลง. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 1-12.

Ankle sprains, how to deal with pain?

The ankle is a hinged joint. The direction of movement is mainly to tip the toe up. and stretching the toes down The ankle consists of the tip of the inner, outer tibia, and several internal bones of the foot. which is connected by several ankle ligaments To promote stability of the ankle
An ankle sprain is a tear in the ankle ligament, usually caused by an accident. Twisting or turning of the ankle beyond the abnormal range of motion External ligament injury that causes movement of the ankle in inward turning. Occurring up to 90 percent which caused the ankle to turn It can be divided into 3 levels of tendon tearing: 1. Mild level, pain, not much swelling. 2. Moderate level, difficulty walking, partial tearing of the tendon. 3. Severe level Tear of all ankle ligaments Loss of stability, pain, swelling, hyperemia need to have surgery

Post-trauma care is divided into 4 stages:

Stage I: Injury in the first 3 days uses the principle of R I C E to reduce inflammation

R = rest, rest, avoid ankle work

I = ice cold compress to reduce swelling every 15-20 minutes

C = compression. Applying local pressure using stretch fabric To limit movement

E = elevate to raise the ankle above the heart. to increase the flow of fluid from the swelling back into the circulatory system

Stage 2 : 3 days – 2 weeks after the injury, is when the inflammation subsides

Treatment is to increase the range of motion to increase the flexibility of the muscles. By pushing the toes up and down, rotating the ankles and stretching the calf muscles.

Stage 3: after 2-3 weeks of injury

Focuses on strength. To do the opening of the toes outward. By keeping the heel in place. or use a rubber band as resistance durability part It is the one that promotes the return to close to normal use, such as stationary cycling. or brisk walking

Stage 4: 3-4 weeks after injury is a treatment that focuses on mobility.

by running in a straight line/circle/zigzag and stimulating the perception of joints To stand on tiptoe up and down from easy to difficult. Starting from tiptoe 2 legs to be a problematic one-legged tiptoe Then increase the difficulty by changing the standing surface to softer. or close your eyes to cut off perception and interfere with the balance in another way, respectively.

An ankle sprain is an injury caused by sports or an accident. It is usually found in the outer ankle ligament. When symptoms occur, use the principle of R I C E first. to reduce inflammation and stay active After that, as the inflammation subsides, the flexibility, strength, durability, and perception of the ankle joint begin to increase. together with physical therapy

 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

 

โทร.
Scroll to Top