ความร้อน บำบัด VS อาการปวด
ความร้อน บำบัดนั้นมีมานานแล้ว แต่ในปัจจุบันเครื่องมือทางกายภาพบำบัด เป็นอุปกรณ์ที่นำพลังงานทางฟิสิกส์มาใช้ให้เกิดผลกับเนื้อเยื่อของร่างกายโดยมักใช้ร่วมในการรักษาโรคของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (musculoskeletal disorder) เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ได้ใช้บ่อยในทางปฏิบัติ ได้แก่ การบำบัดด้วยความร้อน(therapeutic heat) การบำบัดด้วยความเย็น(cryotherapy) ธาราบำบัด(hydrotherapy) การดึงคอ-หลัง(traction) การบำบัดด้วยไฟฟ้า(electrotherapy) เป็นต้น ซึ่งวันนี้ทาง Rebrain เราจะนำเสนอการใช้ความร้อนในการรักษาทางกายภาพบำบัด
การบำบัดด้วยความร้อน ถูกนำมาใช้รักษาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีการพัฒนาเครื่องมือที่ให้นักกายภาพบำบัดนำมาใช้ในการรักษาหลายรูปแบบ ถ้าหากแบ่งตามความลึกของความร้อนที่ส่งผ่านเข้าเนื้อเยื่อ สามารถแบ่งได้เป็น ร้อนตื้น(superficial heat) และร้อนลึก (deep heat)
ความร้อนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ดังนี้
1.ระบบไหลเวียนเลือด (Hemodynamic effect) โดยมีผลทำให้หลอดเลือดขยายตัวและช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด จึงไม่ควรใช้กับบริเวณที่มีการอักเสบเฉียบพลันอาจทำให้เกิดการบวมหรือทำให้เลือดออกใน
บริเวณที่มีแผลเปิด
2.ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Neuromuscular effect) อุณหภูมิที่สูงขึ้นมีผลเพิ่มการทำงานของเส้นใยกล้ามเนื้อ และเพิ่มความเร็วของการนำกระแสประสาท ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ
3.ข้อต่อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (joint and connective tissue) การใช้เครื่องมือที่อุ่นหรือร้อนร่วมกับการยืด ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเส้นเอ็นและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และลดการเกิดข้อยึดติด
4.ผลด้านอื่นๆ (Miscellaneous effect of heat) ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เพิ่มการไหลเวียนเลือดขับสารก่อให้เกิดความเจ็บปวดที่คั่งค้าง (pain mediator) ออกไป กระตุ้นการหลั่งสารเอ็นโดฟิน(endorphins) และช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
ข้อบ่งชี้
– ลดการอักเสบระยะกึ่งเฉียบพลันที่เกิดจากการบาดเจ็บ หรืออุบัติเหตุ เช่น เอ็นอักเสบต่างๆ
– ลดอาการปวด
– ลดข้อยึดติดที่เกิดจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
– ลดกล้ามเนื้อหดเกร็ง
ข้อห้าม
– บริเวณที่มีการอักเสบระยะเฉียบพลัน และการบาดเจ็บของเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อระยะแรก
– บริเวณที่มีการไหลเวียนเลือดบกพร่อง เช่น หลอดเลือดอุดตัน
– ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกง่าย
– บริเวณที่มีอาการบวม
– บริเวณที่มีการรับความรู้สึกผิดปกติ เช่น บริเวณที่เป็นอัมพาต
– บริเวณที่เป็นมะเร็ง เพราะจะทำให้แพร่กระจายไปทางกระแสเลือดเร็วขึ้น
การใช้ความร้อนบำบัดมีประโยชน์หลายอย่างเลยใช่ไหมคะทุกคน แต่ทั้งนี้หากเราใช้ผิดวิธีก็จะเกิดผลข้างเคียงตามมาเช่นกันนะคะอย่างไรก็ต้องศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วนก่อนนะคะ หากใครมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามเข้ามาได้ที่ Rebrain ได้เลยค่ะ
Heat Therapy VS Pain
The use of heat therapy has been around for a long time.
But nowadays physical therapy tools It is a device that uses physical energy to affect the tissues of the body and is often used in the treatment of diseases of the musculoskeletal system. (musculoskeletal disorder) to make treatment more effective.
The physical therapy tools that are frequently used in practice include therapeutic heat, cryotherapy, hydrotherapy, traction, electrotherapy, etc.
Today at Rebrain we will present the use of heat in physical therapy treatment.
heat therapy Has been used to treat from the past to the present. Tools have been developed for physical therapists to use in a variety of treatments. if divided by the depth of heat transmitted into the tissue can be divided into superficial heat and deep heat Heat
1. The circulatory system (Hemodynamic effect) with the effect of expanding blood vessels and increasing blood flow. It should not be used on areas with acute inflammation that may cause swelling or cause bleeding in the open wound area.
nervous system and muscles (Neuromuscular effect) Higher temperature increases the activity of muscle fibers. and increase the speed of nerve conduction reduce muscle contraction
Joint and connective tissue, using warm or hot tools in combination with stretching Improves the flexibility of tendons and connective tissues. and reduce the occurrence of adhesions
Other effects (Miscellaneous effect of heat) cause blood vessels to expand. Increases blood flow, expels pain mediators, stimulates the release of endorphins and relaxes muscles.
แหล่งอ้างอิง
- ภัทรา วัฒนพันธุ์.เครื่องมือกายภาพบำบัด : จักรกริช กล้าผจญ, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป, ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.เชียงใหม่: สุทินการพิมพ์; 2549. หน้า28-35.
- Weber DC, Hoppe KM. Physical agent modalities. In: Braddom RL, Buschbacher RM, Chan L, Kowalske KJ, Laskowski ER, Matthews DJ, et al. editors. Physical medicine & rehabilitation 3rd ed. China: Elsevier: 2007. P. 459-77.