เทคนิคการรักษาโดยใช้ ความเย็น สามารถลดอาการกล้ามเนื้อเกร็งตัวในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองได้หรือไม่
ความเย็น กับผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเมื่อเกิดรอยโรคขึ้นที่สมองจะมีปัญหาต่างๆ ที่รบกวนหรือทำให้การใช้ชีวิตชีวิตประจำวันปกติมีความยากลำบากมากขึ้น หนึ่งในปัญหาที่สำคัญของผู้ป่วยหลอดเลือดสมองคือ แรงตึงตัวของกล้ามเนื้อที่มีการเกร็งตัวมากเกินไป ซึ่งส่งผลทำให้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของคนไข้ ทำให้ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้องร่วมกับมีอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อขณะเคลื่อนไหว เนื่องจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถควบคุมได้อย่างถูกต้อง การรักษาด้วยความร้อนและความเย็น เป็นเทคนิคทางกายภาพบำบัดรูปแบบหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดสมองในปัญหาเรื่อง แรงตึงตัวของกล้ามเนื้อที่มีการเกร็งตัวมากเกินไป ซึ่งวันนี้ทาง ReBRAIN จะมาพูดถึงเทคนิคการใช้ความเย็น ในการลดอาการกล้ามเนื้อเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่มากไปในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
เทคนิค Cryotherapy (ไคโอเทอราปี) เป็นเทคนิคการรักษาโดยใช้ความเย็นเข้ามารักษาผู้ป่วย ข้อบ่งชี้ในการรักษาคือ ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบแบบเฉียบพลันจากสาเหตุต่างๆ เช่น อุบัติเหตุ เป็นต้น ใช้ลดอาการบวมจากอาการอักเสบเฉียบพลัน บรรเทาอาการปวดได้ นอกจากนี้ สามารถนำมาใช้กับผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเพื่อลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่มากเกินไปได้ด้วย ข้อควรระวังในการรักษาคือ ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ ผู้ป่วยที่ยังมีการรับความรู้สึกไม่ดี สำหรับข้อห้าม จะห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้การใช้ความเย็นในการรักษา ผู้ป่วยที่มีภาวะผิวหนังติดเชื้อ ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการไหลเวียนโลหิตที่ผิดปกติ
ทีนี้หลายๆท่านที่เข้ามาอ่านบทความนี้จะมีข้อสงสัยว่า ทำไมการรักษาดวยเทคนิค Cryotherapy สามารถช่วยลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อในผู้ป่วยหลอดเลือดได้ โดยกลไกเมื่อมีสิ่งของที่เย็นสัมผัสกับร่างกายของผู้ป่วย จะไปมีผลต่อบริเวณเอ็นกล้ามเนื้อโดยตอบสนองแบบอัตโนมัติ (Deep tendon reflex) การรักษาวิธีนี้มีผลทำให้การตอบสนองแบบอัตโนมัติดังกล่าวลดลง นอกจากนี้การรักษาด้วยวิธีนี้จะมีผลต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจจากการยืดกล้ามเนื้ออย่างทันทีทันใดในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง (Clonus) ทำให้การหดตัวที่ผิดปกติดังกล่าวเกิดได้น้อยลงและช้าลงด้วย
จากงานวิจัยของ Carolina Carmona Alcantara และคณะ ได้ทำการศึกษาผลของความเย็นที่มีผลต่อกล้ามเนื้อกระดกปลายเท้าที่มีอาการแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อที่มีการเกร็งตัวมากเกินไป จากโรคหลอดเลือดสมอง หลังจากใช้การประคบเย็น (Ice pack) ในการรักษาอาการเกร็งกล้ามเนื้อ โดยทดสอบในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองจำนวน 16 คน ระยะเวลา 20 นาทีต่อวัน เป็นระยะเวลา 15 วัน พบว่าอาการเกร็งของกล้ามเนื้อกระดกปลายเท้าลดลง จนทำให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
ดังนั้นเทคนิคการรักษาโดยใช้ความเย็นสามารถช่วยทำให้แรงตึงตัวของกล้ามเนื้อที่มีการเกร็งตัวมากเกินไปในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองลดลงได้ แต่ใช้เพียงอย่างเดียวไม่สามารถช่วยลดแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อที่มีการเกร็งตัวมากเกินไปได้ตลอดเวลา การลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อต้องทำควบคู่กับการยืดกล้ามเนื้อ (Stretching exercise) การจัดท่าทางของร่างกายให้อยู่ในท่าที่กล้ามเนื้อเหยียดออก จึงจะทำให้การรักษาลดอาการเกร็งดังกล่าวได้ผล
Therefore, cryosurgery techniques can help reduce the tension of the muscles that are over-tightening in stroke patients. But using it alone can’t help reduce the tightness of muscles that are over-tightening all the time. Reducing muscle contraction must be done in conjunction with stretching exercises. Positioning the body in a position where the muscles are stretched out. Therefore, the treatment to reduce the spasm is effective.
References:
1.Alcantara CC, Blanco J, De Oliveira LM, Ribeiro PFS, Herrera E, Nakagawa TH, et al. Cryotherapy reduces muscle hypertonia, but does not affect lower limb strength or gait kinematics post-stroke: a randomized controlled crossover study. Topics in stroke rehabilitation. 2019; 26(4):267-80.
2.Garcia LC, Alcantara CC, Santos GL, Moncao JVA, Russo TL. Cryotherapy Reduces Muscle Spasticity But Does Not Affect Proprioception in Ischemic Stroke: A Randomized Sham-Controlled Crossover Study. American journal of physical medicine & rehabilitation. 2019; 98(1):51-7.
3.Kelly M. Effectiveness of a cryotherapy technique on spasticity. Physical therapy. 1969; 49(4):349-53.