จริงหรือไม่ เคยเส้นเลือดใน สมองตีบ แล้ว จะเสี่ยงแตกซ้ำอีกครั้ง
ช่วงอายุที่เสี่ยงต่อการเสื่อมของเส้นเลือดนำไปสู่การตีบ ตัน และแตกได้นั้นคืออายุ 50 ปีขึ้นไป แต่ก็ยังพบว่ามีผู้ป่วยบางส่วนเกิดโรคนี้ก่อนวัยอันควรพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เช่น การสูบบุหรี่จัด หรือเป็นโรคความดันสูงเรื้อรังและไม่ยอมรักษา เป็นต้น เป็นผลมาจากพฤติกรรมของตัวผู้ป่วยเอง หากรู้ตัวก่อนก็สามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังพบว่าโรคดังกล่าวสามารถพบได้ในเด็ก ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีความผิดปกติของหลอดเลือดมาตั้งแต่กาเนิด
อาการของหลอดเลือด สมองตีบ ตัน หรือแตกจะคล้าย ๆ กันคือส่งผลให้ร่างกายซีกใดซีกหนึ่งชาหรืออ่อนแรงขึ้นมาทันที โดยจะเกิดแบบฉับพลันไม่ทันได้ตั้งตัว เช่น ถือแก้วน้าอยู่ดี ๆ แก้วน้ำในมือก็หลุดร่วงลงไปเฉย ๆ หรือผู้ป่วยบางรายก็หมดสติไปเลยทั้งที่ก่อนหน้านี้ก็ยังปกติดีทุกอย่าง หากเกิดภาวะเส้นเลือดสมองแตกผู้ป่วยอาจปวดศีรษะรุนแรงมากจนถึงขั้นที่เรียกว่ามากที่สุดในชีวิต ระดับความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกัน
- ภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic stroke)
พบได้บ่อยถึง 85% ของโรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุที่สำคัญ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่
- ภาวะหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke)พบได้ประมาณ 15% ของโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยดังต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในเกิดภาวะหลอดเลือดสมองแตกภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้
การได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดที่มากเกินความจำเป็น
โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง (cerebral aneurysm or arteriovenous malformation)
การบาดเจ็บ อุบัติเหตุ
มีโปรตีนสะสมผิดปกติในผนังหลอดเลือด (cerebral amyloidosis)
เคยเส้นเลือดในสมองตีบแล้ว จะเสี่ยงแตกซ้ำอีกครั้ง?
คนไข้ที่เกิดปัญหาหลอดเลือดสมองจะได้รับยาไปรับประทานเพื่อไม่ให้เป็นซ้ำ เช่น ยาต้านเกล็ดเลือดสำหรับโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองตีบ จะได้รับยาเพื่อรักษาโรคประจำตัวไปด้วย ทั้งโรคหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะได้รับยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ส่วนผู้ป่วยเบาหวานหรือมีความดันโลหิตสูง จะได้รับการรักษาไปพร้อม ๆ กัน โอกาสเกิดซ้ำของผู้ป่วยจึงน้อยลง แต่ก็ยังสามารถเป็นได้อยู่
หากผู้ที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบด้านขวา ก็อาจจะเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบข้างซ้ายได้ หรือเป็นซ้ำข้างเดิมได้ และอาจเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองแตกได้ ถ้าตัวผู้ป่วยไม่ดูแลสุขภาพ ละเลยการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง แต่ที่น่ากังวล คือ ผู้ป่วยที่มีอาการน้อย เช่น มีอาการแขนขาอ่อนแรง 5-10 นาทีแล้วก็หาย เคสเหล่านี้เจออยู่เรื่อย ๆ คิดว่าไม่เป็นอะไร หายได้เอง ไม่ได้เข้ารับการตรวจรักษา แต่นี่คือ อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองแล้ว เรียกว่า โรคหลอดเลือดสมองตีบชั่วคราว กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้กินยารักษาโรคประจำตัว โอกาสเป็นซ้ำจะสูงมาก และอาจเป็นหลอดเลือดเส้นอื่นได้ด้วย
การรักษาโรคหลอดเลือดสมองและป้องกัน ไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ
ผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้ว จะมีความเสี่ยงที่อาจจะกลับมาเป็นซ้ำได้มากกว่าคนปกติ การรักษาและป้องกันโรคหลอดเลือดสมองไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ ควรปฏิบัติดังนี้
- ลดและควบคุมปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคความดันสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน
แพทย์จะพิจารณา
- ให้ยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด โดยยามีฤทธิ์ต้านการจับกันของเกล็ดเลือดไม่ให้การเกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง เพื่อป้องกันการเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์จำพวกผักผลไม้ให้มากขึ้น และเน้นอาหารจำพวกเนื้อปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เนื่องจากโอเมก้า 3 ในปลาช่วยลดการอักเสบซ่อนเร้น และมีไขมันที่ดีต่อสุขภาพ
- ลดการบริโภคอาหารไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์
- ลดการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มหรือมีโซเดียมสูง
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งต้องดูแลทั้งด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย รวมทั้งการใช้ยารักษาอย่างเหมาะสม
- ลดหรือจำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ไม่ให้เกิน 1-2 ดื่มมาตรฐาน/วัน และเลิกสูบบุหรี่ อย่างเด็ดขาด
หากผู้ป่วยมีอาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันซ้ำ ๆ ผู้ป่วยอาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดหลายชนิดgร่วมกัน แต่ข้อควรระวังคือ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายมากขึ้น เช่น ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือ ภาวะเลือดออกในสมอง เป็นต้น ดังนั้นควรอยู่ในความดูแลและได้รับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทเท่านั้น ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยามารับประทานเองโดยเด็ดขาด เพราะอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้
Reference
1.Praram9./2022./การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) และป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ./February 3,2022,from https://www.praram9.com/stroke-prevention-and-treatment/
2.Hfocus./2022./เคยเป็นหลอดเลือดสมองตีบ เสี่ยงเกิดหลอดเลือดสมองแตก จริงหรือไม่./December 14,2022,from https://www.hfocus.org/content/2022/12/26601
3.Samitivej./2019./การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ไม่ให้กลับมาเป็นซํ้า./January 13,2019,from https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8
Is it true that you’ve had a cerebral hemorrhage? will risk breaking again
The age range at risk of deterioration of blood vessels leading to stenosis, stenosis, and rupture is 50 years of age or older, but still found that some patients develop this disease prematurely. Risk behaviors that cause the disease, such as heavy smoking or chronic high blood pressure and refuse to treat, etc., as a result of the patient’s own behavior If you know it beforehand, you can prevent it by modifying your behavior to suit yourself. It was also found that the disease can be found in children. This group of patients often have vascular abnormalities since birth.
The symptoms of ischemic stroke, blockage, or rupture are similar, resulting in sudden numbness or weakness of one side of the body. Which will happen suddenly, unexpectedly, for example, holding a glass of water, suddenly the glass of water in his hand just falls, or some patients lose consciousness, although everything was fine before If a stroke occurs, the patient may have severe headaches that can be called the worst in life. The degree of severity of each patient is different.