ดนตรีกับการฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง 

ดนตรี กับการฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง 

      โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาหลักทางสาธารณสุข ซึ่งผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองจำนวนมากได้รับผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ความวิตกกังวลเป็นหนึ่งในภาวะด้านจิตใจที่พบมากในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ปัญหาสุขภาพจิตอื่น และมีผลต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในการศึกษาทางคลินิกพบว่าภาวะวิตกกังวลร่วมกับโรคอื่นทำให้ความก้าวหน้าในการรักษาช้า นอกจากยาที่สามารถลดความวิตกกังวลแล้วยังมีอีกหลายวิธีในการลดความวิตกกังวลเช่น ดนตรีบำบัด

ดนตรี บำบัด หรือMusic Therapy คือการใช้กิจกรรมทาง ดนตรี ไม่ว่าจะเป็นการฟังหรือเล่น การร้องเพลง การแต่งเพลง เพื่อบำบัดความเจ็บป่วย  ฟื้นฟูสภาพร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญา โดยจะช่วยกระตุ้นสมองเกือบทุกส่วนทั้งส่วน auditory (การได้ยิน) ส่วน Motor cortex (การเคลื่อนไหวของแขนขา ใบหน้า) หรือส่วน limbic system (อารมณ์ จิตใจ ความเข้าใจ และความจำ) ในปัจจุบันได้มีหลักฐานทางวิชาการหลายชิ้นสนับสนุนการใช้ ดนตรี บำบัดในการรักษา อาจรวมถึงการใช้จังหวะช่วยในการเคลื่อนไหวในการเดิน การร้องเพลงเพื่อพัฒนาคุณภาพการพูด การทำงานสอดประสานกันของอวัยวะส่วนต่าง ๆ เช่น ตาและมือ และยังช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ช่วยจัดการความเครียด เพิ่มความจำ ลดความเจ็บปวด ช่วยเพิ่มความสามารถในการแสดงออกทางความรู้สึก 

แม้ว่าการใช้ ดนตรี บำบัด ส่วนใหญ่จะให้ผลลัพธ์ที่ดี แต่ไม่ควรใช้เพียงอย่างเดียวในการรักษา การรักษารูปแบบอื่น ๆ เช่น การใช้ยา การทำกายภาพบำบัด หรือจิตบำบัด ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน โดยวิธีนี้จะให้ผลดีมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความชอบ และสภาวะทางร่างกายและจิตใจของแต่ละบุคคล ซึ่งมีความแตกต่างกัน ทำให้การตอบสนองต่อแตกต่างกันไปด้วย 

 

Music and Stroke Rehabilitation

Stroke is a major public health problem. Many people with stroke are affected physically, mentally, socially. Anxiety is one of the most common psychological conditions among stroke patients. which is a major risk factor for depression other mental health problems and affect the quality of life in stroke patients In clinical studies, anxiety associated with other diseases slows progression in treatment. In addition to medications that can reduce anxiety, there are other ways to reduce anxiety, such as music therapy.

Music therapy, or music therapy, is the use of musical activities, whether listening or playing, singing, and composing songs to treat illness. Restoring physical, emotional and intellectual condition by stimulating almost all parts of the brain, including auditory (hearing), motor cortex (movement of limbs, face) or limbic system (emotion, mind, understanding and memory). Many academic studies support the use of music therapy in the treatment of This may include the use of rhythms to aid in walking movements. Singing to improve speech quality The coordination of various organs such as the eyes and hands and also helps to relax the tension of the muscles in different parts. Helps manage stress, improve memory, reduce pain improves the ability to express feelings

Although the use of music therapy Most will give good results. But it should not be used alone for treatment. Other forms of treatment such as medication, physical therapy or psychotherapy are also important. By this method, how good will it be? depending on preference and the physical and mental state of the individual which are different This makes the response vary as well.

  เอกสารอ้างอิง

1.จิรภรณ์ อังวิทยาธร. ดนตรีบำบัด. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.

2.Duerksen, George L. Music therapy. Grove MusicOnline.  January 2014.

 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top