ที่พยุงไหล่ กับการเดินของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
ที่พยุงไหล่ จำเป็นแค่ไหน เมื่อเกิดภาวะ ข้อไหล่เคลื่อนหลุด ภาวะข้อไหล่เคลื่อนหลุด (Shoulder subluxation) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่มีอาการอ่อนแรงครึ่งซีกด้านใดด้านหนึ่ง วันนี้ทาง ReBRAIN จะมาอธิบายถึงภาวะข้อไหล่เคลื่อนหลุด ทำไมต้องใส่ที่พยุงไหล่ และทำไมถึงมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
ภาวะข้อไหล่เคลื่อนหลุด เกิดจากในระยะแรกผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อต้นแขนและสะบักด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งกล้ามเนื้อไม่สามารถที่จะดึงกระดูกต้นแขนให้ต้านกับแรงโน้มถ่วงของโลกได้ เป็นสาเหตุที่ทำให้ข้อไหล่เคลื่อนหลุดออกจากเบ้า มีผลทำให้มีการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลงร่วมกับอาการปวด รวมถึงทำให้แขนอยู่ในท่าที่ผิดปกติ ส่งผลต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
ที่พยุงไหล่ (Bobath sling) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยพยุงกระดูกต้นแขนให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการป้องกันการเคลื่อนหลุดของข้อไหล่ เพื่อทดแทนแรงดึงของกล้ามเนื้อพยุงหัวไหล่ที่เป็นอัมพาต เนื่องจากเวลาพาผู้ป่วยนั่ง ยืน หรือเดิน สามารถทำให้แขนห้อยข้างลำตัวตกลงตามแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้หัวกระดูก Humerus มีการเคลื่อนหลุดออกจากเบ้า Glenoid fossa ได้ ซึ่งในงานวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่ใส่ที่พยุงไหล่หลังจากเป็นอัมพาตครึ่งซีกทันที โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีช่องว่างของกระดูกต้นแขนเกิดขึ้นหรือไม่จะมีผลดีกว่าผู้ป่วยที่พบช่องว่างของกระดูกต้นแขนแล้ว เพราะการใส่ที่พยุงไหล่สามารถป้องกันภาวะข้อไหล่เคลื่อนหลุดได้ และทำให้เกิดการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดได้มีประสิทธิภาพมากกว่า
ประโยชน์ของการใส่ที่พยุงไหล่ในการทำกายภาพบำบัด มีส่วนช่วยปรับรูปแบบการเดิน การทรงตัว และความเร็วในการเดินดีขึ้นในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง เนื่องจากร่างกายเกิดความสมดุลในการยืน เดิน ที่เกิดความสมมาตรของร่างกายทั้งสองซีก กระตุ้นการทรงตัวในท่าที่ถูกต้องได้ง่าย ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัย ช่วยในการปรับรูปแบบการเดินที่ผิดปกติของแขนและลำตัว ลดการก้าวสั้นๆ ในการเดิน และลดการออกแรงของกล้ามเนื้อที่มากเกินไปจากการเดินที่ถูกต้อง
A bobath sling is a device that helps keep the humerus in the proper position.
This is one way to prevent shoulder dislocation. to replace the pulling force of the paralyzed shoulder support muscles Because when taking the patient sitting, standing or walking, the arm can fall by the gravity of the earth. causing the Humerus head to dislocate from the Glenoid fossa, which in research has shown Patients wearing shoulder support immediately after hemiplegia Regardless of whether or not a humeral space is present, the effect is better than a patient who has already found a humeral space. Because wearing a shoulder support can prevent shoulder dislocation. and causing physical therapy rehabilitation to be more effective
Benefits of Wearing a Shoulder Support in Physical Therapy Contributes to improving walking patterns, balance and walking speed in cerebrovascular patients. Because the body is balanced in standing, walking, which is symmetrical on both sides of the body. Stimulates balance in the correct position easily. make the patient feel safe Helps to adjust abnormal gait patterns in the arms and torso. Minimize short strides in walking and reduce excessive muscle exertion from correct walking.
เอกสารอ้างอิง
– Lien-Chieh Lin et al. (2021). Effect of arm sling application on gait and balance in patients with post-stroke hemiplegia: a systemic review and meta-analysis. Taipei Medical University.
– สายฝน ทศภาทินรัตน์และคณะ. (2563). การใส่ arm sling ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก เพื่อป้องกันข้อไหล่เคลื่อนเปรียบเทียบระหว่างการใส่ทันทีกับการใส่ภายหลังพบช่องว่างที่ข้อไหล่. 4 มกราม 2565
– รัตนพร สายตรีและคณะ. (2562). ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง./วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, ปีที่5(ฉบับที่2), 3-8.
-Yeon-Gyu Jeong et al. (2017). The effect of an arm sling used for shoulder support on gait efficiency in hemiplegia patients with stroke using walking aids. University of South Korea
– ReBRAIN กายภาพบำบัด, EP.4 ที่พยุงไหล่!! ใส่ยังไงให้ไหล่ไม่เคลื่อน? ฝึกแขน. 2021. แหล่งที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=2YZoZX9nr8o&list=PLig8oNnqRAxjxtKVY2Rak2Ry56qjlWnYy&index=4 ค้นเมื่อ 8 มกราคม, 2565.