นอนไม่หลับ ในผู้ป่วย stroke

นอนไม่หลับ ในผู้ป่วย stroke

          ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองหลายรายมักมีอาการต่างๆ มากมายที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นอาการชาตามแขน ขา ปวดหัว มึนหัว เจ็บบริเวณข้อต่อ ถ่ายอุจจาระไม่ออก รวมถึง นอนไม่หลับ อาการต่างๆที่กล่าวมาส่งผลกระทบให้การใช้ชีวิตไม่สะดวกสบายโดยเฉพาะการนอนไม่หลับซึ่งทำให้เป็นผลเสียต่อวงจรชีวิต เวลาในการรับประทานยา รวมถึงทำให้ไม่มีสมาธิระหว่างวัน กระทบต่อการทำกายภาพบำบัดและการฝึกอื่นๆ

            ภาวะนอนไม่หลับเป็นภาวะที่มีความลำบากในการนอนหลับ ตั้งแต่เริ่มนอนหลับ ระหว่างนอนหลับ กระทั่งคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพส่วนต่างๆ และการใช้ชีวิตประจำวัน สาเหตุของการ นอนไม่หลับ ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุภายนอก เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล รวมถึงการเจ็บปวด และอาจเกิดได้จากอาการซึมเศร้าหรือความผิดปกติจากสารสื่อประสาทในสมอง

แบ่งประเภทการนอนหลับ

           การนอนหลับ แบ่งได้เป็น 2ช่วงอย่างง่าย คือช่วง REM sleep (Rapid Eye Movement) เป็นช่วงที่ร่างกายหลับแต่สมองยังตื่นอยู่ และช่วง Non-REM sleep เป็นช่วงที่สมองหลับแต่ยังเชื่อมกับอวัยวะรับสัมผัสและกล้ามเนื้ออยู่ ในระหว่างการนอนหลับใน1คืน วงจรทั้งสองอย่างนี้จะหมุนเวียนซ้ำไปมาเป็นรอบๆ รอบละประมาณ 90 นาที REM sleep คือการที่ลูกตาเคลื่อนไหวไปมาอย่างรวดเร็ว โดยลูกตาจะกลอกไปกลอกมาอยู่ใต้เปลือกตาของคนที่กำลังนอนหลับอยู่ หรือเรียกอีกอย่างว่าการหลับตื้น

           การกระตุ้นให้เกิดการหลับและตื่นนั้นเกิดจาก flip-flop switch model คือทฤษฎีที่กล่าวว่าการหลับตื่นนั้นเป็นผลจากการทำงานของสารสื่อประสาท ได้แก่ histamine, adenosine, serotonin, acetylcholine, noradrenaline และ hypocretine และการทำงานของสมองในส่วนต่างๆ ได้แก่ ก้านสมอง (brain stem), เซลล์เวนโทรแลเทอรัลพรีออปติกนิวเคลียส (ventrolateral preoptic nucleus; VLPO), สมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus), คอร์เท็กซ์สมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex) เป็นต้น ซึ่งทำหน้าที่เปิดปิดวงจรตื่นนอน รวมถึงควบคุมการนอนหลับทั้งช่วง REM sleep และ Non-REM sleep 

               ดังนั้นเมื่อสมองส่วนต่างๆ ที่ถูกทำลายหรือมีรอยโรค จะส่งผลให้สารสื่อประสาทต่างๆ ในสมองไม่สมดุล จึงทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติของวงจรการหลับตื่น ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองชนิดไหนก็ตาม

              การรักษาภาวะ นอนไม่หลับ มักจะรักษาโดยไม่ใช้ยาก่อน โดยการลดปวด การรักษาวงจรการหลับตื่นให้เป็นปกติตามธรรมชาติ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในช่วงเช้า สร้างสภาพแวดล้อมการนอนให้ดูสบาย เช่น เป็นห้องมืด เงียบ จัดท่าทางการนอนให้สบาย ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ เช่น การจัดให้กางแขน หงายมือ เหยียดศอก เท้าเอาหมอนดันไม่ให้เท้าตกจิก และหนุนหมอนจัดให้ปลายเท้าชี้ไปบนเพดาน หรือไม่ให้ปลายเท้าหมุนออกนั่นเอง หากการรักษาโดยไม่ใช้ยาไม่ได้ผล หมอจะทำการพิจารณารักษาโดยการใช้ยาต่อไป

               ภาวะนอนไม่หลับมักเกิดได้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองซึ่งเกิดจากการไม่สบายตัวจากความเจ็บปวด ความเครียด ความวิตกกังวล หรือเกิดจากการเสียสมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้วงจรการหลับตื่นเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพ การใช้ชีวิตประจำวัน และการทำกายภาพบำบัด การรักษาโดยไม่ใช้ยาทำโดยการลดปวดทางกายภาพบำบัด การจัดท่าทางการนอน การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการนอน หากการรักษาโดยไม่ใช้ยาไม่ได้ผลจึงพิจารณาการรักษาโดยใช้ยาต่อไป

 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

 

 

เอกสารอ้างอิง
1. ปริญญา ปั้นพล (สถานเสาวภา สภากาชาดไทย). โรคนอนไม่หลับ (Insomnia). 2018.
2. วนิดา ลุนกา และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะซึมเศร้าและสุขวิทยาการนอนกับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Relationships Among Types of Stroke, Depression, Sleep Hygiene Practices and Insomnia of Stroke Patients). 2018; 42(21):41-53.
3. สมภพ เรืองตระกูล. ความผิดปกติของการนอนหลับ การประเมินและการรักษา. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์; 2550.
4. Suh M, Choi-Kwon S, Kim JS. Sleep disturbances at 3 months after cerebral Infarction. Eur neurol. 2016;75(1-2):75-81.
5. Tucker AP. Sleep hygiene. AARC Times. 2007: 12-9.

 

Insomnia in stroke patients

Many stroke patients often have various symptoms. many that affect daily life Whether it is numbness in the arms, legs, headache, dizziness, pain in the joints. inability to defecate including insomnia The symptoms mentioned above affect life’s discomfort, especially insomnia, which negatively affects the life cycle. time of taking medication Including making you unable to concentrate during the day Affect physical therapy and other training

Insomnia is a condition in which it is difficult to fall asleep. since the beginning of sleep during sleep even sleep quality which affects the health of various parts and daily use Most of the causes of insomnia are caused by external causes such as stress, anxiety. including pain And may be caused by depression or disorders from neurotransmitters in the brain.

 Sleep can be divided into 2 simple phases:

REM sleep (Rapid Eye Movement) is when the body sleeps but the brain is still awake and Non-REM sleep is when the brain sleeps but still connects to the sense organs and muscles. During sleep in 1 night Both of these cycles repeat over and over for approximately 90 minutes each. REM sleep is the rapid movement of the eyeballs. The eyeballs move under the sleeping person’s eyelids. Also known as shallow sleep.

Sleep-wake activation is a flip-flop switch model. It is theorized that sleep-wake is the result of the action of neurotransmitters histamine, adenosine, serotonin, acetylcholine, noradrenaline, and hypocretine, and that the activity of Parts of the brain: brain stem, ventrolateral preoptic nucleus (ventrolateral preoptic nucleus; VLPO), hypothalamus (Hypothalamus), prefrontal cortex, etc., which acts to open and close the wake-up cycle. Including controlling sleep during both REM sleep and Non-REM sleep

Therefore, when different parts of the brain that is destroyed or has lesions will result in various neurotransmitters in the brain is out of balance As a result, the patient has a sleep-wake cycle disorder. no matter what kind of stroke

Treatments for insomnia are usually treated without medication first, by reducing pain and maintaining a natural sleep-wake cycle. exercising regularly in the morning Create a comfortable sleeping environment, such as a dark, quiet room. Set a comfortable sleeping position. Reduce muscle contraction, such as arranging to spread the arms, turn the hands over, straighten the elbows, and press the feet with pillows to prevent the feet from falling. and support the pillow, arrange the toes pointing towards the ceiling Or don’t let the toes turn out there. If non-drug treatment is ineffective The doctor will continue to consider treatment by using medication.

Insomnia often occurs in stroke patients as a result of discomfort caused by pain, stress, and anxiety. or caused by the imbalance of neurotransmitters in the brain changes the sleep-wake cycle which affect health daily use and physical therapy Non-drug treatment is performed by physical therapy pain reduction. sleeping posture Setting up an environment suitable for sleeping If non-drug therapy is ineffective, further drug therapy is considered.

โทร.
Scroll to Top