อาการ ปวดข้อไหล่ กับ ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
อาการ ปวดข้อไหล่ กับผู้ป่วยหลอดเลือดสมองมักมีอาการอ่อนแรงของร่างกายครึ่งซีกรวมถึงกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ด้วย โดยปกติข้อไหล่ของคนเราจะมีกล้ามเนื้อ เอ็นรอบข้อต่อและเยื่อหุ้มข้อไหล่ทำหน้าที่ในการสร้างความมั่นคง ซึ่งในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมักจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อกลุ่มนี้ หากไม่ได้รับการดูแล รักษา ฟื้นฟูที่ถูกต้องอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ขัดขวางการฟื้นตัวให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ได้
อาการปวดข้อไหล่ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่เกิดขึ้นกับแขนในผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก ซึ่งสามารถแบ่งปัญหาเป็นกลุ่มได้ดังนี้
1.ปัญหาของข้อไหล่
1.1 ภาวะไหล่เคลื่อน/ภาวะไหล่หลุด (Shoulder subluxation)
1.2 ภาวะปวดข้อไหล่ (Shoulder pain)
2.ปัญหาที่เกิดจากทั้งข้อไหล่ ข้อมือ และนิ้วมือ
2.1 ภาวะ Shoulder Hand Syndrome (SHS) หรือ Reflex Sympathetic Dystrophy (RSD)
ภาวะไหล่เคลื่อนหรือภาวะไหล่หลุด (Shoulder subluxation) คือ ภาวะที่ข้อไหล่มีการวางตัวผิดปกติไป โดยหัวกระดูก humerus มีการเคลื่อนตัวต่ำลง ซึ่งภาวะนี้จะมีอาการดีขึ้นเมื่อมีความตึงตัวของกล้ามเนื้อหรือความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งภาวะข้อไหล่เคลื่อนหรือหลุด ในระยะแรกจะไม่ได้ทำให้เกิดอาการปวดข้อไหล่ แต่หากปล่อยทิ้งไว้ให้แขนมีภาวะนี้นานๆ จะทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบๆข้อไหล่ได้และจะส่งผลให้มีอาการเจ็บปวดตามมา
ภาวะปวดข้อไหล่ (Shoulder pain) คือ ภาวะที่ไหล่ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีอาการอ่อนแรงครึ่งซีกและเกิดการบาดเจ็บของเอ็นรอบข้อต่อหรือเยื่อหุ้มไหล่ ซึ่งมี 2 สาเหตุหลัก ได้แก่
1.การขาดจังหวะการเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กันระหว่างกระดูกสะบักและกระดูกต้นแขน ทำให้เกิดการกดอัดเสียดสีของเอ็นกระดูกข้อไหล่และทำให้เกิดอาการเจ็บปวด
2.การขาดการหมุนของกระดูกต้นแขนออกขณะมีการเคลื่อนไหว จากการที่กล้ามเนื้อในการหมุน ข้อไหล่เข้ามีความตึงตัวที่สูงทำให้เกิดการขัดขวางการหมุนข้อไหล่ออกขณะที่ยกแขนหรือกางแขน และจากการที่กล้ามเนื้อหมุนข้อไหล่ออกมีความแข็งแรงไม่เพียงพอทำให้เมื่อยกแขนเกิดการกดอัดของเอ็นข้อต่อและ เกิดอาการเจ็บปวดขึ้น
ภาวะ Shoulder Hand Syndrome (SHS) หรือ Reflex Sympathetic Dystrophy (RSD)
เป็นภาวะที่มีอาการปวดอย่างรุนแรง มีข้อต่อยึดติด แขนและนิ้วมือมีอาการบวม อาจเกิดมาจากการที่ผู้ป่วย อ่อนแรงทำให้มีการเคลื่อนไหวที่ลดลง ทำให้การหมุนเวียนเลือดลดลง ส่งผลให้ระบบการทำงานของ ระบบประสาทอัตโนมัติของร่างกายเกิดความผิดปกติ ซึ่งทำให้การรับความรู้สึกที่ผิวหนังและอวัยวะมีความไวต่อการกระตุ้น ผู้ป่วยจึงมีอาการปวดที่ข้อไหล่ถึงนิ้วมือ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีโอกาสที่จะมีอาการปวดข้อไหล่ขึ้นได้ โดยหากได้รับการดูแลที่ไม่เหมาะสม หรือผิดวิธี และหากปล่อยให้เกิดอาการปวดทิ้งไว้เป็นเวลานาน จะขัดขวางการฟื้นฟูและการทำกิจวัตรประจำวันได้ ผู้ดูแลและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจึงควรที่จะดูแล และหมั่นสังเกตอาการของตนเอง ว่าปฏิบัติได้อย่างถูกต้องแล้วหรือไม่ เพื่อเป็นการป้องกันอาการปวดข้อไหล่ที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่หากเริ่มมีอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าปฏิบัติ ได้ถูกต้องหรือไม่ ควรจะปรึกษานักกายภาพบำบัด โดยนักกายภาพบำบัดจะสามารถให้คำแนะนำถึงการป้องกันและวางแผนเพื่อฟื้นฟูแขนในระยะยาวได้ ซึ่งหากคุณกำลังประสบปัญหาดังกล่าวอยู่หรือมีข้อสงสัยทักมาปรึกษาเรา ทีมนักกายภาพบำบัดรีเบรนยินดีให้คำปรึกษาค่ะ
Shoulder Hand Syndrome (SHS) or Reflex Sympathetic Dystrophy (RSD)
It is a condition characterized by severe pain. with mounting joints Swollen arms and fingers This may be due to the fact that the patient Weakness causes reduced movement. causing decreased blood flow resulting in the working system of The body’s autonomic nervous system malfunctions. This makes the skin and organs feel more sensitive to stimulation. The patient therefore has pain in the shoulder joint to the finger.
Stroke patients are more likely to experience shoulder pain. by if receiving improper or wrong care and if left to cause pain for a long time It can hinder recovery and daily activities. Caregivers and stroke patients are advised to take care of them. and keep an eye on their own symptoms that it is operating correctly or not To prevent shoulder pain that may occur. But if you start to have abnormal symptoms or suspect that you have practiced Is it correct? Should consult a physical therapist. A physical therapist can advise on prevention and plan for long-term rehabilitation of the arm. If you are facing such problems or have any questions, feel free to contact us. Rebren’s team of physical therapists are happy to give advice.
Reference
ปิยะภัทร พัชราวิวัฒน์พงษ์. Common Problem of Upper Extremity in Stroke Patients เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 2545; 12(2), 44-62
วิยะดา ศักดิ์ศรี. คู่มือกายภาพบำบัด ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2552.
รัมภา บุญสินสุข. เอกสารประกอบการสอน management of upper limb impairment. 2556.