เทคโนโลยี ผ่าตัดกระดูกสันหลัง แผลเล็ก MINIMALLY INVASIVE SPINE SURGERY (MISS)
การ ผ่าตัดกระดูกสันหลัง สามารถทำได้ทุกโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังที่มีข้อบ่งชี้ว่าต้องผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดแผลเล็กจะได้เปรียบในด้านแผลมีขนาดเล็ก เสียเลือดน้อย ลดการทำลายกล้ามเนื้อโดยรอบและกระดูกสันหลัง มีหลายวิธี ซึ่งช่วยลดอาการปวดหลัง เป็นหนึ่งในสาเหตุอันดับต้นๆที่ทำให้ผู้ป่วยมารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยพบว่าประมาณ 30% ของผู้ป่วยไทย เคยมีอาการปวดหลังมาก่อน ซึ่งบางรายมีอาการแสดงของการทับเส้นประสาท เช่นปวดร้าวลงขา ชา หรืออ่อนแรง โดยแม้จะได้รับการรักษาแบบประคับประคองด้วยการรับประทานยาหรือทำกายภาพบำบัดแล้ว อาการดังกล่าวก็ยังไม่ดีขึ้น
1.MICROSCOPIC DISCECTOMY / FORAMINOTOMY การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทที่ได้ผลและเป็นหนึ่งในการผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Spine Surgery) เป็นการผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic) ด้วยกล้องไมโครสโคปที่มีกำลังขยายมากกว่าปกติ 20 – 100 เท่า ทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นรายละเอียด เส้นประสาท และพยาธิสภาพที่ต้องการแก้ไขได้ชัดเจน, การใช้ระบบนำวิถี Stealth Navigation System บอกตำแหน่งขณะผ่าตัด และเครื่องมือติดตามการทำงานของระบบประสาทขณะผ่าตัด (IOM) ป้องกันเส้นประสาทบาดเจ็บขณะผ่าตัด ช่วยให้สามารถผ่าตัดในจุดที่ต้องการได้มีประสิทธิภาพ แผลมีขนาดเล็กประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร เสียเลือดน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว
2.IOM เครื่องมือติดตามการทำงานของระบบประสาทและไขสันหลังขณะผ่าตัด (Intraoperative Neurological Monitoring – IOM) มีความสำคัญต่อการผ่าตัดแผลเล็ก เพราะคอยติดตามการทำงานของระบบประสาทและไขสันหลังระหว่างผ่าตัด โดยใช้เทคนิคทางด้านประสาทสรีรวิทยาที่เกิดจากการตอบสนองของระบบประสาททางด้านไฟฟ้า จึงช่วยลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บต่อระบบประสาทและไขสันหลังขณะผ่าตัด
3.O – ARM Navigator เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติโออาร์ม (O – ARM) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเสริมความชัดเจนในการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ช่วยบันทึกภาพกระดูกสันหลังในขณะศัลยแพทย์กำลังผ่าตัดกระดูกสันหลังของผู้ป่วยทั้งแนวตั้ง แนวนอน ภาพตัดขวาง โดยจะแสดงภาพสามมิติชัดเจน แสดงตำแหน่งของกระดูกสันหลังแบบละเอียด รวมถึงแปลงภาพออกมาในรูปแบบแอนิเมชันสามมิติ เพื่อส่งต่อข้อมูลไปยังระบบนำวิถีสามมิติ ทำให้แพทย์ประเมินระยะที่สามารถเข้าถึงตำแหน่งผ่าตัดได้ระดับมิลลิเมตร ทำให้ผ่าตัดกระดูกสันหลังได้ตรงตำแหน่งที่ต้องการ สามารถใส่โลหะได้อย่างราบรื่น แม้กระดูกสันหลังจะผิดรูปรุนแรง ก่อนจะทำการสแกนตรวจสอบอีกครั้งก่อนเย็บแผล ช่วยลดความเจ็บปวด ลดความเสี่ยงในการผ่าตัด ฟื้นตัวได้เร็ว
การรักษาอาการปวดหลังและเส้นประสาทถูกทับ
Spinal injection การรักษาด้วยการฉีดยาเข้าไปที่บริเวณเส้นประสาทหรือไขประสาทโดยยาที่ใช้จะเป็นส่วนผสมของยาชา (anesthetic drug) เพื่อลดความเจ็บปวดร่วมกับยาในกลุ่ม steroid เพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาทอีกทั้งยังใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยยืนยันต่าแหน่งเส้นประสาทที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดได้โดยแบ่งแนวทางการฉีดได้ 2 ประเภทคือ
1.1 ฉีดรอบเส้นประสาท (selective neve root block) ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังร้าวลงขา (radicular pain) โดยวัตถุประสงค์หลักของการฉีดนี้เพื่อเป็นการยืนยันตำแหน่งที่มาการกดทับเส้นประสาทโดยเฉพาะในกรณีที่พบมีการตีบของช่องเส้นประสาทหลายระดับเพื่อช่วยตัดสินในผ่าตัดการศึกษาพบว่า 70% ของผู้ป่วยจะปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังได้รับการรักษา 1.2 ฉีดเข้าช่องไขสันหลัง (Epidural steroid Injection) ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังปวดร้าวลงขาหรือปวดล้าขา (Claudication) โดยสามารถฉีดยาเข้าได้ 3 ทางคือผ่านช่องกระดูกสันหลัง (interlaminar) ผ่านทางช่องเส้นประสาท (transforaminal) หรือผ่านทางช่องกันกบ (transCaudal) แม้จะยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าการฉีดแบบใดให้ผลการรักษากว่ากัน แต่พบว่าการฉีดผ่านทางของเส้นประสาทจะได้ผลการรักษาที่แน่นอนกว่าและการฉีดผ่านทางกันกบจะมีโอกาสต่ำที่สุดที่ยาจะอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องการศึกษาพบว่า 70-80% ของผู้ป่วยจะปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังได้รับการรักษาและ 35% ของผู้ป่วยอาการดีขึ้นจนไม่ต้องผ่าตัด
เอกสารอ้างอิง
-Chatupon Chotigavanichaya MD, Ekkapoj Korwutthikulrangsri MD, Minimally Invasive Lumbar Disectomy with the Tubular Retractor System: 4-7 Years Follow-Up 2012 : s82
-Rahman M, Summers LE, Richter B, Mimran RI, Jacob RP. Comparison of techniques for decompressive lumbar laminectomy: the minimally invasive versus the “classic” open approach. Minim Invasive Neurosurg 2008; 51: 100-5.
การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบแผลเล็ก (minimally invasive spine surgery) รศ.นพ.ทวีชัย เตชะพงศ์วรชัย นพ.วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ World Medical Hospital