ผ่าตัดข้อสะโพก เตรียมตัวอย่างไรดี
เคยไหมคะ? หมอบอกต้อง ผ่าตัดข้อสะโพก หลายๆ คนคิดว่าการผ่าตัดน่ากลัว แต่ก็มีอีกหลายคนที่ไม่ได้กลัวการผ่าตัดแต่กลับกังวลว่า เอ๊ะ! ก่อนเราจะผ่าตัด เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง และหลังผ่าตัดไปแล้ว เราสามารถดูแลตัวเองอย่างไรได้บ้างหลังออกจากโรงพยาบาล วันนี้บทความนี้จะช่วยทำให้การผ่าตัดข้อสะโพกของคุณไม่มีเรื่องที่น่ากังวลอีกต่อไป
ข้อบ่งชี้การผ่าตัดข้อสะโพก
- ข้อสะโพกเคลื่อนหลุดและไม่สามารถดึงให้เข้าที่ได้
- ข้อสะโพกเข้าไม่เต็มที่เนื่องจากมีเศษกระดูกเข้าไปขวาง
- มีการแตกของหัวกระดูกต้นขา หรือ เบ้าสะโพกชนิดไม่มั่นคงร่วมด้วย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการยึดตรึงกระดูกภายในด้วยโลหะต่อไป
การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดข้อสะโพก
- การทำความสะอาดร่างกาย ก่อนผ่าตัด งดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน และได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
- การตรวจเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และเอกซเรย์ปอด
- การเตรียมเลือด 1-2 ยูนิตถ้ารับประทานยาห้ามการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาแอสไพริน ให้แจ้งแพทย์ หรือพยาบาล ก่อนผ่าตัดต้องหยุดยาก่อนผ่าตัด 7 วัน
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
- หลังผ่าตัดเมื่อเริ่มรู้สึกตัวผู้ป่วยสามารถลุกนั่ง ขยับขา และข้อเท้าได้ทันที เพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่เส้นเลือดดำบริเวณขา
- หากสามารถมีวิธีปิดแผลด้วยกาวกันน้ำ ผู้ป่วยสามารถอาบน้ำได้เลย แต่สำหรับใครที่ไม่มีจะต้องดูแลแผลผ่าตัดให้แห้ง และห้ามโดนน้ำประมาณ 10 ถึง 14 วันหลังผ่าตัด
- โดยส่วนใหญ่หลังการผ่าตัดสามารถลงน้ำหนักได้ทันที ร่วมกับการใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน ในช่วง 4 สัปดาห์แรกซึ่งจะพิจารณาอุปกรณ์ช่วยเดินที่ใช้ตามดุลพินิจของนักกายภาพบำบัด
ท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่
- ห้ามงอข้อสะโพกเกินกว่า 90 องศา ซึ่งท่าทางนี้อาจจะส่งผลให้ข้อสะโพกเทียมเคลื่อนหลุดได้
- ห้ามนำขาข้างที่ทำการผ่าตัดไขว้ขา หรือไขว้ห้าง ทั้งในท่านั้งและท่านอน
- หลีกเลี่ยงการนั่งยองๆ นั่งเก้าอี้เตี้ย และนั่งกับพื้น
- ควรนั่งเก้าอี้ที่สูงพอดีที่ไม่ทำให้ข้อสะโพกงอมากกว่า 90 องศา
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
- “หัวกระดูกขาดเลือด” พบได้ประมาณร้อยละ 5-40% ของการบาดเจ็บ อัตราการเกิดสัมพันธ์กับระยะเวลาที่สะโพกหลุด รวมถึงความรุนแรงของอุบัติเหตุ และจำนวนครั้งที่พยายามดึงสะโพกให้เข้าที่
- “ข้อสะโพกเสื่อม”เป็นภาวะแทรกซ้อนระยะยาวและสัมพันธ์โดยตรงกับข้อสะโพกเคลื่อนหลุดที่มีการแตกของหัวกระดูกต้นขาหรือเบ้าสะโพกร่วมด้วย
- “การบาดเจ็บของเส้นประสาทSciatic”พบประมาณร้อยละ10-20% เกิดจากเส้นประสาทถูกดึงรั้งในขณะที่สะโพกเคลื่อนหลุด พยากรณ์โรคมีเพียงร้อยละ 50 ที่เส้นประสาทจะกลับมาทำงานปกติ
อย่างไรก็ตามหากคุณรู้วิธีการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดที่ถูกต้องจะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการผ่าตัดได้ รวมถึงรู้วิธีการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดอย่างถูกวิธี จะช่วยส่งเสริมให้หลังการผ่าตัดคุณสามารถกลับไปทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้เร็วที่สุด ฉะนั้นหากคุณทราบว่าจะต้องผ่าตัดควรหาข้อมูลให้พร้อม หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเกิดน้อยที่สุดหลังการผ่าตัด
hip joint surgery How to prepare
Have you ever? The doctor told me to have hip surgery. Many people think the surgery is scary. But there are many people who are not afraid of surgery but are worried that eh! before we have surgery How should we prepare? and after the surgery How can we take care of ourselves after leaving the hospital? Today, this article will help make your hip replacement surgery a worry-free affair.
Indications for hip joint surgery
The hip joint has dislocated and cannot be pulled into place.
The hip joint is incomplete due to bone fragments interfering with it.
There is a fracture of the femoral head or an unstable hip socket. This required further fixation of the internal bone with metal.
อ้างอิง
- นพ.นรเทพ กุลโชติ พ.บ.,ว.ว.ศลัยศาสตรอ์อรโ์ธปิดกิส.กระดูกหักและข้อเคลื่อนหลดุรอบข้อสะโพก (Hip Fracture-Dislocation and Femur Fracture).1,4,5
- ผศ.ดร.นพ. สักกาเดช ลิ้มมหาคุณ ภาควิชาออร์โทปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.(2021).การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม (Total Hip Arthroplasty).1