ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต้อง ผ่าตัดเปิดกะโหลก ไหม

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต้อง ผ่าตัดเปิดกะโหลก ไหม

ผ่าตัดเปิดกะโหลก นั้นสำคัญและจำเป็นอย่างไรในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบ มักมีอาการอ่อนแรง การรับรู้สติลดลง สูญเสียความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน และอาจรุนแรงถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้ ในช่วงแรกที่ถึงโรงพยาบาลแพทย์มักให้การรักษาโดยการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การให้ยา การให้สารน้ำต่าง ๆ และการผ่าตัด เพื่อเป็นการรักษาชีวิตผู้ป่วยไว้ เนื่องจากการผ่าตัดเป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง มีเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บหลายส่วน รวมถึงต้องใช้ทักษะของแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ดังนั้นแพทย์จึงมักใช้วิธีการผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาท้าย ๆ

การผ่าตัดที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมักได้รับก็คือ การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ (Craniectomy) เป็นวิธีการผ่าตัดที่เปิดกะโหลกศีรษะ แล้วไม่ปิดกะโหลกศีรษะกลับไป จึงมักเห็นลักษณะของศีรษะผู้ป่วยมีรอยบุ๋มลงไป เมื่อสมองผู้ป่วยหายบวมหรือไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะ (Cranioplasty) โดยใช้กะโหลกศีรษะเดิมที่แช่แข็งเก็บไว้ หรือใช้กะโหลกศีรษะเทียม

เมื่อไหร่ถึงต้องผ่าตัดเปิดกะโหลก

  1. มีอาการบวมของสมองอย่างรุนแรง ทำให้เนื้อที่ในการขยายตัวของสมองภายใต้กะโหลกไม่เพียงพอ
  2. มีก้อนเลือดขนาดใหญ่อยู่ภายใต้กะโหลกศีรษะ ซึ่งก้อนเลือดดังกล่าวจะไปกดทับเนื้อสมองได้
  3. ความดันในสมองสูง แม้ได้รับการรักษาด้วยยา เมื่อความดันในสมองเพิ่มขึ้น จะทำให้สมองถูกกดจนอาจทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่ได้

ซึ่งภาวะดังกล่าวอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้หากได้รับการรักษาไม่ทันถ่วงที

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดเปิดกะโหลก

  1. มีการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด หรือที่สมอง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในสมอง เป็นต้น
  2. มีเลือดออกเพิ่มเติมภายหลังการผ่าตัด
  3. ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ภาวะเกี่ยวกับระบบหายใจ เนื่องจากการใช้ยาสลบระหว่างผ่าตัด หรือปอดติดเชื้อจากการใส่เครื่องช่วยหายใจ

ดังนั้นภายหลังการผ่าตัดเปิดกะโหลกในระยะแรก ผู้ป่วยมักจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เฝ้าสังเกตสัญญาณชีพ การรับรู้สติ รวมถึงอาการอื่น ๆ ที่หอผู้ป่วยอาการหนัก

ในระยะแรกผู้ป่วยมักจะไม่มีการรับรู้สติ ส่งผลให้การขยับร่างกายน้อยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลกดทับ การยึดติดของข้อ อาการบวม เป็นต้น บทบาทของนักกายภาพบำบัดในผู้ป่วยผ่าตัดสมองในระยะแรกมักจะเข้าไปเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เมื่ออาการดีขึ้นพ้นขีดอันตราย นักกายภาพบำบัดก็จะมีบทบาทมากขึ้นในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย ด้วยการออกกำลังกาย พาทำกิจวัตรประจำวัน เพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตประจำวันเช่นเดิม

Stroke patients must Craniotomy?

craniotomy What is important and necessary in this group of patients? Patients with ruptured or narrowed blood vessels in the brain often have weakness decreased awareness loss of ability to perform daily activities and may be severe to the point of disability or death During the first visit to the hospital, doctors often provide first aid, medication, fluids, and surgery to save the patient’s life. This is because surgery is a relatively expensive method. There are many injured tissues or organs. Including the skills of a skilled doctor Therefore, doctors often use surgery as a last resort.

อ้างอิง

พ.ญ.ปภาดา สุวรรณโรจน์และคณะ.  List of medicine terms in a specific category “Medical and Surgical Procedures of Nervous System”; เอกสารประกอบการเรียนการสอนภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์, 1-32.

 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top