ทำไมผู้ป่วยหลอดเลือดสมองถึงต้อง ฝึกกลืน ?

ทำไมผู้ป่วยหลอดเลือดสมองถึงต้อง ฝึกกลืน

ฝึกกลืน ในผู้ป่วย stroke นั้นจำเป็นอย่างไร ไปดูกันค่ะ ผู้ป่วย stroke นั้นเกิดจากภาวะสมองนั้นเกิดการขาดเลือด เลือดออกในสมอง หรือเกิดจากอุบัติเหตุ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางด้านร่างกาย อาทิเช่น ภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนขา ปัญหาทางด้านการพูด ด้านการทรงตัวในท่านั่ง ท่าเดิน หรือในผู้ป่วยบางคนจะพบปัญหาเกี่ยวกับการกลืน ซึ่งปัญหานี้เป็นอีกหนึ่งปัญหาของผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่มักพบได้มากเช่นกัน หากไม่รีบแก้ไขจะทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงมากต่อการสำลักทั้งน้ำและอาหาร ที่มีผลต่อทางเดินหายใจและอาจนำไปสู่การเกิดภาวะติดเชื้อในปอดได้ วันนี้เราจึงมีวิธีการฝึกกลืนที่สามารถฝึกได้เองที่บ้านและไม่ทำให้การกลืนเป็นปัญหาอีกต่อไป

วิธีการฝึกกลืนมีดังนี้

  1. การบริหารริมฝีปากและแก้ม (Lip exercise / Cheek exercise)
  • อ้าปากกว้างออกเสียง “ อา ”/เม้มริมฝีปากแน่นๆแล้วคลายออก
  • กิจกรรมการเป่า ดูด เช่น ดูดน้ำด้วยหลอด เป่าเทียน เป่านกหวีด เป็นต้น
  • ทำปากจู๋สลับกับฉีกยิ้ม หรือออกเสียง “อู”สลับเสียง “อี”/กักลมในปากให้แก้มป่องแล้วเป่าลมออกช้าๆ
  1. การบริหารลิ้น (Tongue Exercise)
  • ให้ผู้ป่วยใช้ลิ้นแตะมุมปากทั้งสองข้างสลับกัน
  • ให้ผู้ป่วยใช้ลิ้นแตะกระพุ้งแก้มทั้งสองข้างสลับกัน ซึ่งถ้าผู้ป่วยทำได้ให้ผู้ป่วยออกแรงต้านโดยเอานิ้ว ดันบริเวณแก้มของผู้ป่วยในทิศทางตรงกันข้าม
  • ให้ผู้ป่วยเดาะลิ้น/ให้ผู้ป่วยพูด ลาลาลา คาคาคา ซ้ำหลายหลายรอบ
  • ใช้น้ำหวานแตะบริเวณริมฝีปากบนและล่างมุมปากแล้วให้ผู้ป่วยพยายามใช้ลิ้นเลียหรือแตะบริเวณริมฝีปากและมุมปาก
  • ให้ผู้ป่วยยกลิ้นแตะเหงือกและเคลื่อนลิ้นจากด้านหน้าไปด้านหลังสลับกันไปมา
  • ให้ผู้ป่วยดันลิ้นออกมานอกปากให้ญาติใช้ไม้กดลิ้นดันลิ้นไปในทิศทางตรงกันข้ามคือด้านหลังหรือทิศทางซ้ายขวา

3.การบริหารขากรรไกร

  • อ้าปากกว้างค้างไว้ 5 วินาทีและออกเสียง อา แล้วหุบปากให้ฟันกระทบกัน
  • ปัดริมฝีปากแล้วเคลื่อนขากรรไกรล่างไปด้านข้าง ค้างไว้ 5 วินาที(ทำสลับข้างซ้าย-ขวา)
  • เคลื่อนไหวขากรรไกรในลักษณะการเคี้ยวข้าวหรือเคี้ยวหมากฝรั่งทำซ้ำ 5-10รอบ

โดยการฝึกกลืนในข้างต้นนั้น สามารถทำได้ง่ายและสามารถทำได้เองที่บ้าน เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืนนั้นมีความแข็งแรงได้มากขึ้น โดยการฝึกกลืนอาจจะแบ่งการฝึกสลับกันไป และ การฝึกนั้น แบ่งออกจำนวนละ 5-10 ครั้งต่อท่า แต่ละท่าทำจำนวนละ 2 เซต เพื่อป้องกันอาการล้าของกล้ามเนื้อได้ และในขณะออกกำลังกายนั้นควรมีคนดูแลอย่างใกล้ชิดนะคะ

Why do cerebrovascular patients need to practice swallowing?

Practice swallowing in stroke patients. How is it necessary? Let’s see. Stroke patients are caused by brain ischemia. cerebral hemorrhage or caused by an accident Resulting in physical disorders such as weakness of the muscles of the limbs. speech problems Balance in sitting, walking or in some patients will have problems with swallowing. This problem is another problem of stroke patients that are often found as well. If not promptly corrected, the patient is at a greater risk of choking on both food and water. that affects the airways and can lead to lung infections Today we have a method for practicing swallowing that you can practice at home and not make swallowing a problem anymore.

แหล่งอ้างอิง

  • ลัดดา ศิลาเรียม,ธีรนุช ห้านิรัติศัยและสมบัติ มุ่งทวีพงษา.(2557).ผลของโปรแกรมการส่งเสริมให้ญาติมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสภาพต่อความสามารถในการกลืนและการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน.พยาบาลสารปีที่41.(ฉบับพิเศษ):182

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top