พูดไม่ได้ ภาวะบกพร่องทางการสื่อความ (Aphasia)

พูดไม่ได้ ภาวะบกพร่องทางการสื่อความ (Aphasia)

พูดไม่ได้ ภาวะบกพร่องทางการสื่อความ เมื่อคุณหรือคนที่คุณรักมีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก และสังเกตเห็นอาการผิดปกติบางอย่างที่เกี่ยวกับการพูด นั้นอาจแสดงว่าผู้ป่วยมีความบกพร่องด้านการสื่อสาร หรือ Aphasia เป็นอาการที่พบเห็นได้บ่อยในผู้ป่วยเส้นเลือดสมองหรือ ได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ แสดงถึงการมีความผิดปกติด้านการสื่อสารเนื่องจากมีพยาธิสภาพของสมองส่วนที่ควบคุมภาษา ทำให้มีความผิดปกติในการสื่อสารอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน

 

อาการของ Aphasia

อาการจะแตกต่างไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับบริเวณที่สมองได้รับความเสียหายและระดับความรุนแรงของความเสียหาย ภาวะนี้ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาต่อการพูด การทำความเข้าใจ การอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการรับสาร เช่น พูดได้แค่ประโยคสั้น ๆ หรือพูดไม่จบประโยค ไม่สามารถเรียบเรียงประโยคในการพูดหรือการเขียนให้ผู้ฟังเข้าใจได้ ใช้คำไม่เหมาะสม เลือกใช้คำหนึ่งแทนที่อีกคำ พูดคำที่ไม่มีความหมาย หรือไม่เข้าใจในบทสนทนาของผู้อื่น พูดไม่ได้  เป็นต้น Aphasia สามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิดใหญ่ ๆ คือ 

  1. ชนิดที่มีปัญหาด้านการรับรู้ทางภาษาเป็นปัญหานำ (receptive aphasia, sensory aphasia หรือ Wernicke’s aphasia) พยาธิสภาพของสมองอยู่ที่ส่วนกลางของสมองส่วนหน้า (Wernicker’ s area) ผู้ป่วยจะมีความบกพร่องด้านการฟังและการอ่านเป็นหลัก โดยมักจะพูดได้คล่องและชัดเจน แต่ไม่เข้าใจคำพูดของตัวเอง หรือไม่รู้ว่าตัวเองพูดผิดแต่บางรายอาจมีการสร้างคำพูดใหม่ ๆ ขึ้นมาเองได้อาจสรุปปัญหาด้านการรับรู้ทางภาษาในผู้ป่วยประเภทนี้ได้ดังนี้

ก. ปัญหาในการฟังเข้าใจคำพูด

ข. ปัญหาในการอ่านหนังสือ

ค. ปัญหาในการพูดตาม

 

  1. ชนิดที่มีปัญหาด้านการแสดงออกทางภาษาเป็นปัญหานำ (expressive aphasia, motor aphasia หรือ Broca’s aphasia) พยาธิสภาพของสมองอยู่ที่ส่วนหน้าของสมองซีกซ้าย (Broca’s area) ผู้ป่วยจะมีความบกพร่องด้านการพูดและการเขียนหนังสือเป็นหลัก โดยจะสามารถฟังเข้าใจคำพูดของผู้อื่นหรืออ่านหนังสือได้ แต่ไม่สามารถพูดคุยหรือพูดบอกความต้องการของตัวเองได้อาจสรุปปัญหาด้านการพูดในผู้ป่วยประเภทนี้ได้ดังนี้

ก. พูดไม่ชัดอาจจะพูดไม่ชัดแบบ apraxia หรือ dysarthria ร่วมด้วย แล้วแต่ความรุนแรงและตำแหน่งของพยาธิสภาพ

ข. พูดเฉพาะคำสำคัญของประโยค

ค. พูดไม่คล่องตะกุกตะกัก หยุดพูดระหว่างคำบ่อยและนานกว่าปกติเพราะต้องหยุดนึกหาคำพูด

ง. พูดใช้เสียงหนึ่งแทนเสียงหนึ่งหรือใช้คำหนึ่งแทนอีกคำหนึ่งโดยไม่รู้ตัว

จ. ปัญหาในการพูดตาม

ฉ. ปัญหาในการคิดคำนวณหรือการนับเงินตรา

ช. ปัญหาในการพูดสิ่งที่เรียงลำดับ 

ซ. ปัญหาในการนึกคิดหาคำพูดหรือคำศัพท์ต่างๆ 

 

  1. ชนิดที่มีปัญหาทั้งด้านการรับรู้และการแสดงออกทางภาษา (receptive-expressive aphasia หรือ Global aphasia) พยาธิสภาพของสมองอยู่ที่สมองซีกซ้าย (Wernicke’s area และ Broca’s area) ผู้ป่วยจะมีปัญหาในการสื่อสารทั้งด้านการรับรู้และการแสดงออกทางภาษาในระดับใกล้เคียงกัน จึงมีความบกพร่องของปัญหาทั้ง  2 แบบข้างต้น โดยจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของพยาธิสภาพของโรคว่าอยู่ที่ Wernicke’s area หรือ Broca’s area ขั้นรุนแรงอาจพูดไม่ได้ ร่วมกับฟังไม่เข้าใจเลยก็เป็นได้
  2. ชนิดที่มีปัญหาด้านการนึกคำพูด (Amnesic aphasia) ผู้ป่วยมีความลำบากในการนึกคิดคำศัพท์เป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วย aphasia ประเภทอื่น ๆ ด้วยผู้ป่วยจะพูดได้คล่องชัดเจนถูกต้องตามไวยากรณ์ แต่จะพูดอ้อมค้อมและอธิบายถึงสิ่งที่ต้องการจะพูดแทนคำศัพท์ที่นึกไม่ออกหรือใช้คำอื่นแทนคำที่ต้องการจะพูดเช่นพูดว่า“ สิ่งที่ใช้ใส่น้ำดื่ม” แทนคำว่า“ แก้ว” เป็นต้นในรายที่เป็นรุนแรงมากจะมีท่าทางลังเลในสิ่งที่จะพูดอัตราการพูดช้าลงส่วนด้านการฟังคำพูดจะปกติดีปัญหาด้านความเข้าใจในการอ่านและการเขียนจะแตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงสำหรับความบกพร่องในการคิดคำนวณหรือการนับเงินตราจะมีปัญหาน้อยมาก

 

ผู้ป่วย aphasia จะมีพฤติกรรมและบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไปดังนี้ 

  1. ระดับความตื่นตัวลดลงต้องกระตุ้นหรือพูดซ้ำ ๆ ผู้ป่วยจึงจะตอบสนอง 
  2. วอกแวกง่าย (distractibility) มีการเปลี่ยนความสนใจจากสิ่งที่กำลังทำอยู่ไปสู่สิ่งกระตุ้นอื่นได้ง่าย 
  3. การตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นไม่แน่นอน (variability of response) บางครั้งทำได้ดี แต่บางครั้งทำไม่ได้ทั้งๆที่เป็นสิ่งกระตุ้นเดียวกัน 
  4. การทำซ้ำ ๆ โดยยับยั้งตัวเองไม่ได้ (perseveration) เช่น เมื่อบอกให้ชี้หูปากแล้วบอกให้ชี้ตาผู้ป่วยก็ยังคงชี้ปากอยู่ซ้ำ ๆ เป็นต้น 
  5. มีปัญหาในการรับรู้บุคคลเวลาและสถานที่ 
  6. ทัศนคติและแรงจูงใจเปลี่ยนแปลงไปเช่นเคยเป็นคนชอบเข้าสังคม แต่เมื่อมีปัญหา aphasia ป่วยไม่ชอบเข้าสังคมชอบอยู่คนเดียวเป็นต้น 
  7. อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย 
  8. เก็บกดเนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถสื่อความหมายกับผู้อื่นได้ดีเช่นเดิมผู้ป่วยจึงกังวลใจไม่อยากคุยกัน ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยสร้างนิสัยในการติดต่อสื่อสารที่ไม่ดีอีกด้วยผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการให้การักษาผู้ป่วย aphasia คือนักอรรถบำบัด (speech therapist) อย่างไรก็ตามบุคลากรทางการแพทย์สาขาอื่นและญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถมีส่วนร่วมในการรักษานี้ได้ด้วย

 

ภาวะแทรกซ้อนของ Aphasia

Aphasia เป็นภาวะที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านการสื่อสาร จึงอาจกระทบต่อความสัมพันธ์ การทำงาน หรือการทำกิจกรรมในแต่ละวัน อีกทั้งอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอับอาย หดหู่ เนื่องจากไม่สามารถสื่อสารได้ตามปกติ

 

สุดท้าย ReBRAIN อยากฝากให้ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยทุกคนทำความเข้าใจในอาการและการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยที่เกิดขึ้นอย่างเข้าใจ เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และพร้อมรับมือกับอาการที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

 

เอกสารอ้างอิง

น้อมจิตต์ นวลเนตร์. 2551. หลักการทางกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยทางระบบประสาท. พิมพ์ครั้งที่4. ขอนแก่น.    

หจก.โรงพิมพ์   นานาวิทยา -pro pad. 2563. ความหมาย APHASIA.

 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top