วิธีดูแลอาการ ฟกช้ำ ดำเขียว จากการบาดเจ็บที่ไม่คาดคิด

วิธีดูแลอาการ ฟกช้ำ ดำเขียว จากการบาดเจ็บที่ไม่คาดคิด

ฟกช้ำ การดูแลผู้ป่วยต้องมีการเคลื่อนย้ายตัว เปลี่ยนท่าทาง การพายืน การพาเดิน ทั้งผู้ป่วยและคนดูแลอาจเกิดการบาดเจ็บได้ หลาย ๆ ครั้งพบว่าผู้ป่วยมีรอยฟกช้ำโดยไม่ทราบสาเหตุ เนื่องจากการกระแทกหรือการบาดเจ็บในระหว่างวัน แม้แต่ผู้ดูแลก็อาจเกิดการบาดเจ็บจากเหตุไม่คาดคิดได้เช่นกัน วิธีการดูแลเบื้องต้นทำอย่างไรได้บ้าง ต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ มาไขข้อข้องใจกันได้ในบทความนี้

เมื่อเกิดการฟกช้ำแล้ว เกิดแผลฟกช้ำ ผิวอาจมีสีแดง เขียว หรือม่วง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บ การกระแทกที่เกิดขึ้น ผิวจะอุ่นขึ้นเนื่องจากการอักเสบ มีอาการปวดตุ้บๆ บริเวณแผล หากได้รับบาดเจ็บเยอะอาจมมีอาการบวมร่วมด้วย

ในผู้ป่วยที่รับประทานยาต้านเกล็ดเลือดอยู่ มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคเลือด ต้องระวังผิวที่มีแผลฟกช้ำอาจเกิดการเลือดออกเพิ่มเติมได้หากไม่ระวัง ต้องระวังการนวดคลึงในบริเวณที่มีแผลฟกช้ำเนื่องจากอาจจะทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น ปวดมากขึ้น จากการเพิ่มการไหลเวียนเลือด

การดูแลแผลฟกช้ำสามารถทำได้โดยการประคบเย็นทันที การประคบเย็นจะช่วยลดอาการอักเสบ อาการปวด และบวมได้ เนื่องจากความเย็นช่วยให้หลอดเลือดหดตัว ลดการไหลเวียนเลือดมาบริเวณนั้น อาการอักเสบจึงลดลง หากมีอาการบวมมากแนะนำให้ใช้ผ้ายืดพันรอบๆบริเวณนั้นเพื่อช่วยให้ของเหลวในบริเวณนั้นบีบกลับได้ง่ายขึ้น รวมถึงการยกอวัยวะนั้นให้สูงขึ้นเหนือหัวใจเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดกลับเมื่อมีอาการบวม

การดูแลผู้ป่วย ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลอาจเกิดการบาดเจ็บได้ตลอดเวลาหากไม่ระมัดระวัง รวมถึงการเคลื่อนย้ายตัวที่ไม่ถูกวิธี การจัดสิ่งแวดล้อมได้ไม่ดี อาจะทำให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำ ๆ หากท่านใดที่ไม่ทราบวิธีปฏิบัติตน สามารถสอบถามนักกายภาพบำบัดประจำตัวท่านหรือรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้จากนักกายภาพบำบัด ReBRAIN โทร.086-3119699

How to take care of bruises from unexpected injuries

Bruises Caring for the patient requires mobility. Changing posture, standing, walking, both the patient and the caregiver may suffer multiple injuries. Due to bumps or injuries during the day Even caretakers can suffer from unforeseen injuries. How to do basic care? Need to be careful Let’s solve the problem in this article.

When a bruise occurs, the skin may appear red, green, or purple depending on the severity of the injury. Bumps that occur The skin becomes warm due to inflammation. There is a throbbing pain in the area of ​​the wound, and if the injury is severe, swelling may occur as well.

In patients taking antiplatelet drugs Having underlying diseases related to blood diseases Be careful with bruised skin, additional bleeding may occur if not careful. Be careful when massaging the bruised wound, as this can increase the inflammation and increase pain from increasing blood flow.

อ้างอิง

  1. Hing, W., Lopes, J., Hume, P. A., & Reid, D. A. (2011). Comparison of multimodal physiotherapy and” RICE” self-treatment for early management of ankle sprains. New zealand journal of physiotherapy39(1), 13.
  2. Kellett, J. (1986). Acute soft tissue injuries–a review of the literature. Medicine and science in sports and exercise, 18(5), 489-500.
  3. Bleakley, C., McDonough, S., & MacAuley, D. (2004). The use of ice in the treatment of acute soft-tissue injury: a systematic review of randomized controlled trials. The American journal of sports medicine, 32(1), 251-261.

 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top