โรคหลอดเลือดสมองเป็นแล้วไม่หาย สูญเสียความสามารถอย่างถาวร หรือ ฟื้นตัว ได้
การ ฟื้นตัว สำหรับคนไข้โรคหลอดเลือดในสมอง นั้นเป็นเรื่องที่ยากหรือไม่ วันนี้เรามาทำความเข้าใจกันค่ะโรคหลอดเลือดในสมอง ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด สูญเสียความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน เป็นสาเหตุสำคัญของความพิการและเสียชีวิต พยาธิสภาพและความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ระยะเวลาที่สมองขาดเลือด พื้นฐานสุขภาพก่อนที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองรวมถึงโรคประจำตัว อายุ เป็นต้น ทั้งนี้ก็มักมีความเชื่อที่ว่า เป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้วผู้ป่วยมักจะต้องติดเตียง หรือสูญเสียความสามารถต่าง ๆ อย่างถาวร วันนี้ ReBRAIN พามาหาคำตอบกันว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่
การฟื้นตัวของร่างกายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแต่ละรายมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความรุนแรงของรอยโรค ผู้ป่วยบางรายอาจฟื้นได้ดีจนกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติภายใน 1 อาทิตย์ ในขณะที่บางรายอาจใช้ระยะเวลามากกว่า 6 เดือน การฟื้นตัวของระบบประสาทส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นภายใน 3 เดือนแรกหลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ถ้าหลัง 6 เดือนแล้วการฟื้นตัวจะช้าลง โดยการฟื้นตัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ
ระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีการฟื้นตัวของระบบประสาทตามธรรมชาติ (Natural spontaneous neurological recovery)
หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เหมาะสมและรวดเร็ว ทำให้การไหลเวียนเลือดของสมองดีขึ้น สมองยุบบวมลงความดันภายในช่องกะโหลกลดลง ซึ่งจะแสดงให้เห็นได้ จากการที่ผู้ป่วยสามารถขยับแขนขาได้ดีขึ้น ความสามารถในการพูดและเข้าใจภาษาดีขึ้น การฟื้นฟูตามธรรมชาติมักจะเกิดขึ้นภายในหนึ่งเดือนหลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
การฟื้นตัวจากกระบวนการปรับตัวของเซลล์ประสาทสมอง (Neural plasticity)
มีการงอกใหม่ของแขนงประสาทและเชื่อมต่อกันเพื่อสร้างเครือข่ายประสาทใหม่ขึ้น ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและการทำงานของเซลล์สมองใหม่เกิดขึ้น กระบวนการ Neural plasticity เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ใช้เวลานานเป็นเดือนถึงปี การเรียนรู้และฝึกฝนอย่างเต็มที่จะช่วยกระตุ้นให้กระบวนการนี้เกิดได้ดีขึ้น โดยเฉพาะงานด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูจะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก เช่น การทำกายภาพบำบัด การทำกิจกรรมบำบัด เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าความเชื่อที่ว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นแล้วไม่หาย เป็นแล้วต้องติดเตียง เป็นแล้วจะสูญเสียความสามารถต่าง ๆ อย่างถาวร เป็นความเชื่อที่ผิด เนื่องจากสมองมีการฟื้นฟูภายหลังเกิดรอยโรค ยิ่งถ้าหากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมผ่านกระบวนการปรับตัวของเซลล์ประสาทสมอง (Neural plasticity) ไม่ว่าจะเป็นการทำกายภาพบัด การทำกิจกรรมบำบัด เป็นต้น จะยิ่งทำให้การฟื้นตัวของผู้ป่วยดีขึ้นไปอีก ทั้งนี้ต้องอาศัยกำลังใจ แรงใจ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจากบุคคลในครอบครัว เพื่อเป็นแรงผลักดันและเป็นเป้าหมายให้ผู้ป่วยอยากกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ
cerebrovascular disease is not cured Permanent loss of ability or recovery
recovery for patients with cerebrovascular disease Is that difficult? Today we come to understand each other. Vascular disease in the brain. As a result, the body becomes weak, drooping, slurred speech, loss of ability to perform daily activities. It is a leading cause of disability and death. The pathology and severity of the disease depends on many factors, such as the length of the brain ischemia. basic health before having a stroke, including congenital diseases, age, etc. It is often believed that After having a stroke, patients are often bedridden. Or permanently losing various abilities Today, ReBRAIN brings you to find out if it’s true or not.
แหล่งอ้างอิง
วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล. Role of rehabilitation in stroke. ใน: วรวิทย์ เลาห์เรณู และคณะ,
บรรณาธิการ. หนังสือประชุมวิชาการประจำปี 2545 คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: ธนบรรณการพิมพ์; 2545: หน้า 538-42.
พรพิมล มาศสกุลพรรณ และคณะ, บรรณาธิการ. แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. ฉบับปรับปรุงครั้งที่2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธนาเพลส; 2554.