ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นที่ปอด ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นที่ปอด ถือว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้ วันนี้ทาง ReBRAIN จะมาอธิบายถึงสาเหตุการเกิดโรค อาการ การป้องกันภาวะโรค และการรักษากันครับภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นที่ปอด เกิดจากก้อนลิ่มเลือดหลุดลอยมาจากส่วนอื่นๆของร่างกาย(โดยเฉพาะจากขา) ไปอุดกั้นในบริเวณของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงปอด ซึ่งก้อนลิ่มเลือดส่วนใหญ่ที่หลุดออกมาจะมาจากภาวะของโรคลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดดำส่วนลึกในบริเวณน่อง ซึ่งโดยปกติในหลอดเลือดดำจะเป็นหลอดเลือดที่มีการนำเอาเลือดดำที่มีออกซิเจนต่ำกลับเข้าสู่หัวใจ เนื่องด้วยในตัวหลอดเลือดดำจะมีความดันต่ำกว่าหลอดเลือดแดง จึงมีส่วนที่เรียกว่า “วาว์ล” ที่คอยช่วยผลักดัน ร่วมกับใช้การหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อในการผลักดันเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ นอกจากนี้วาว์ลจะคอยช่วยป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับด้วย เมื่อมีการอักเสบที่หลอดเลือดจึงเกิดการซ่อมแซม เกิดเป็นลิ่มเลือดขึ้นมาขวางทางเลือด จนเกิดการตีบและอุดตันในที่สุด เมื่อลิ่มเลือดดังกล่าวที่อุดตันบริเวณน่องถูกกระตุ้นให้เกิดการขยับเคลื่อนไหวในบริเวณดังกล่าวจะทำให้ลิ่มเลือดหลุดลอยออกไป และไปอุดกั้นที่หลอดเลือดปอดในที่สุด และสามารถหลุดลอยไปอุดกั้นที่หลอดเลือดส่วนอื่นๆได้ด้วยเช่น เส้นเลือดหัวใจ หรือสมองจนเกิดการอุดตันเป็นโรคหลอดเลือดสมองซ้ำได้อีกเช่นกัน
อาการของภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นที่ปอด จะมีลักษณะอาการดังนี้
1.หายใจหอบเหนื่อย
2. มีอาการแน่นหน้าอก
3. มีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ
4.ความดันโลหิตต่ำ
5.มีอาการเขียวคล้ำ
สำหรับการรักษานั้น แพทย์จะพิจารณาในการให้ยาละลายลิ่มเลือดเพื่อสลายลิ่มเลือดที่ไปอุดตัน ถ้าแพทย์พิจารณาแล้วว่าไม่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ แพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดเอาลิ่มเลือดออก สำหรับการรักษาทางกายภาพบำบัดจะทำการรักษาหลังจากแพทย์เอาลิ่มเลือดออกไปแล้ว การรักษาทางกายภาพบำบัดจะเน้นการรักษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจและการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยเช่น การฝึกการหายใจ การฝึกกำหนดลมหายใจ การจัดท่าทางระบายเสมหะและการเคาะปอด สั่นปอดเพื่อขับเสมหะ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อและปอด เช่น การปั่นจักรยาน การเดินในระยะทางไกลๆ เป็นต้น
การป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นที่ปอด สามารถดูแลได้ด้วยการป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นที่หลอดเลือดดำส่วนลึกเช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมน้ำหนักตัว เคลื่อนไหวออกกำลังกาย ใช้ถุงน่องแบบรัดหรือผ้ารัดยืดช่วยป้องกัน
pulmonary embolism Complications that can occur in cerebrovascular patients.
pulmonary embolism It is considered a complication that can occur in patients with cerebrovascular disease, which is life-threatening. Today, ReBRAIN will explain the causes of the disease, symptoms, prevention of disease conditions. and treatment of pulmonary embolism It is caused by a blood clot that slips from another part of the body (especially from the legs) to blockage in the blood vessels that supply the lungs.
Most of the clots that come off come from deep vein thrombosis in the calf area.
Usually in the veins are the blood vessels that carry oxygen-poor venous blood back to the heart.
Because the veins have lower pressure than the arteries. There is a part called “valve” that keeps pushing.
Together with the contraction and relaxation of muscles to push blood back into the heart. In addition, the valve will prevent the blood from flowing back.
When there is inflammation in the blood vessels, it is repaired.
Formed a blood clot blocking the bloodstream.
until the stenosis and obstruction in the end When the clot that clogs the calf area is stimulated, movement in that area causes the clot to go away.
and eventually blocked the pulmonary artery and can slip off to block other blood vessels as well coronary artery or the brain until the blockage is repeated as well
แหล่งอ้างอิง
1.Essers BA, Prins MH. Methods to measure treatment satisfaction in patients with pulmonary embolism or deep venous thrombosis. Curr Opin Pulm Med. 2010; 16(5): 437-41.
2.Hough, A. Physiotherapy in Respiratory Care; An evidence-based approach to respiratory and cardiac management. 3rd eds. United Kingdom: Nelson Thomes Ltd, 2001.