รับมือและจัดการอย่างไรหลังเป็น Stroke
โรคหลอดเลือดในสมองในยุคปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากมีผู้สูงวัยมากขึ้น จึงต้องรู้จักการการรับมือและ
การจัดการหลังจากเป็น Stroke ซึ่งต้องมีการปรับตัวเรียนรู้ใหม่และปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตด้วยตนเอง หรือ อาจจะได้รับการดูแลจากครอบครัวและสังคมร่วมด้วย เพราะการรับมือที่ดีจะส่งผลให้มีการพัฒนาตนเองได้ มากขึ้นและจะช่วยให้การทำงานของร่างกายทำได้อย่างสม่ำเสมอมากขึ้น ซึ่งวันนี้ทาง ReBRAIN จะมาให้
ความรู้เกี่ยวกับการรับมือและการจัดการหลังเป็น Stroke
การรับมือหลังจากที่รู้ว่าเป็น Stroke ควรต้องรู้ทั้งผู้ที่เป็นและผู้ที่ดูแล ซึ่งมีอยู่หลายประการที่ควรรู้
- ควรศึกษาความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง โดยต้องรู้สาเหตุ อาการ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและ การป้องกัน การรับประทานยา การไปตรวจตามนัด และการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจให้ดีอยู่เสมอ
- ในกรณีที่ผู้ที่เป็นหลอดเลือดในสมองได้รับอาหารทางสายยาง ใส่สายสวนปัสสะวะไว้ มีท่อหลอดคอ ต้องรู้วิธีการปฏิบัติ และสังเกตอาการที่อาจเป็นอันตรายหรืออาการแสดงของภาวะแทรกซ้อน
- การฝึกทักษะการฟื้นฟูสภาพร่างกาย ทางกายภาพบำบัดและนักกิจกรรมบำบัดร่วมกัน
- การฟื้นฟูด้านจิตใจ หลังจากที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองอาจทำให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลเกิดปัญหาในการปรับตัว และปัญหาด้านจิตใจเช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า
- การศึกษาด้านความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ ในกรณีที่ผู้ป่วยใส่สายยาง ต้องรู้วิธีเตรียมและทำอาหารปั่นผสม วิธีการให้อาหารทางสายยาง วิธีการทำสะอาดอุปกรณ์
- ควรรู้วิธีจัดการกับภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น เช่น การดูแลเมื่อผู้ป่วยสำลักอาหาร พลัดตกหกล้ม การสังเกตอาการเตือนของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ และการจัดการนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที ภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง
การรักษาหรือฟื้นฟูทางกายภาพบำบัด
- Breathing exercise ปรับท่านอนศีรษะสูง 30-40 องศา มือประสานวางช่วงท้องค่อยๆหายใจเข้าช้าท้อง
พองออกแล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกยาวๆให้ท้องแฟบลง ทำติดต่อกัน 6-10 ครั้ง
- Positioning เริ่มจาก 15 องศา แล้วเป็น 30องศา ค่อยๆเพิ่มเท่าที่ผู้ป่วยไม่ปวดศีรษะจนกว่าจะนั่งได้ตรง
- Passive stretching สอนให้ผู้ดูแลยืดกล้ามเนื้อให้ผู้ป่วย เพื่อป้องกันข้อติดและเพิ่มองศาการเคลื่อนไหว
- Balance training โดยสามารถฝึกได้ทั้งท่านั่งและยืน ท่านั่งสามารถนั่งโน้มตัวไปข้างหน้า-หลัง หรือเริ่มเอื้อมหยิบสิ่งของ ส่วนท่ายืนอาจจะหาที่เกาะจับในช่วงแรกและทำการเขย่งเท้าขึ้นลง ทำ10 ครั้ง3เซต
- Proprioception training เป็นการฝึกการรับรู้ของข้อต่อ เช่นการยืนกระต่ายขาเดียวเพื่อให้ข้อต่อข้อเท้าได้
ฝึกการรับรู้ของข้อต่อ
- Functional training เป็นการฝึกใช้กล้ามเนื้อทั้งร่างกาย เช่นการยืน การเดินอย่างถูกต้อง
- Home program ฝึกฝนออกกำลังกายตามที่นักกายภาพบำบัดแนะนำเป็นประจำ
โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่เกิดมากขึ้นในปัจจุบันและสามารถเกิดขึ้นซ้ำได้ ถ้าไม่มีการรับมือและ
การดูแลที่ดี เพราะฉะนั้นแล้วทุกคนควรรับรู้วิธีการรับมือและจัดการหลังการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้อย่าง
ถูกต้อง จะได้เป็นผลดีต่อสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยและผู้ดูแล
เอกสารอ้างอิง
- Fiona Jones, Afsane Riazi.(2017).Self-efficacy and self-management after stroke: a systematic review,1-22
- Sararin Pitthayapong.(2018). Situations, Problems, and Barriers of Post-Stroke
Care in the Transitional Period from Hospital to Home,11(2),26-39
- Bencharong Srisura.(2020). Physical therapy in patient with hemiplegia after receiving a traumatic brain injury, lying in bed for a long time in the community : Case study,17(1),88-95
How to cope and manage after a stroke
Stroke disease in today’s era is on the rise. Because there are more elderly people Therefore, you must know how to cope and
Management after a stroke, which requires adjusting to new learning and adjusting one’s life on one’s own or may be taken care of by family and society as well. Because good coping will result in self-development. more and will help the body function more regularly Which today ReBRAIN will give you.
Knowledge about coping and management after a stroke.
Coping after knowing that you are having a stroke requires knowledge of both the person who has it and the person taking care of it. There are many things that you should know.
You should study your knowledge about cerebrovascular disease. You must know the causes, symptoms, complications that may occur and prevention of taking medicine. Going for an appointment to check up and restoring the physical and mental condition to be always good
In cases where a person who has had a stroke receives food through a tube. Put in a urinary catheter and have a throat tube. You must know how to do it. and observe symptoms that may be dangerous or signs of complications
Physical rehabilitation skills training physical therapy and occupational therapist together
Psychological rehabilitation After a stroke, it can cause adjustment problems for patients and caregivers. and psychological problems such as anxiety and depression
Education in knowledge about nutrition In the case where the patient wears a rubber tube You must know how to prepare and make blended food. How to give tube feeding How to clean equipment
You should know how to deal with emergencies that may occur, such as taking care of a patient who chokes on food or falls, and observing warning signs of a recurrent stroke. and managing to take the patient to the hospital immediately Within a period of not more than 4.5 hours