วิธี กายภาพบำบัด เบื้องต้น สำหรับผู้ป่วยอัมพาต
อัมพาต เป็น อาการแสดงหนึ่ง ของโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งทำให้เกิดการอ่อนแรงครึ่งซีกซ้ายขวา หรือมีอาการอ่อนแรงแค่แขนหรือขา อย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ต้องพึ่งพาคนดูแลในชีวิตประจำวัน ซึ่งในวันนี้ทาง ReBRAIN จะแนะนำวิธี กายภาพบำบัดเ บื้องต้นในผู้ป่วยอัมพาตกันครับ ว่าสามารถให้ญาติ หรือ คนดูแลบริหารกายภาพบำบัดท่าทางใดได้บ้าง
กายภาพบำบัด เบื้องต้นในผู้ป่วยอัมพาตในวันนี้จะมาแนะนำใน การออกกำลังกายยืดเหยียดกล้ามเนื้อ จุดประสงค์ในการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อป้องกันการยึดรั้งของข้อต่อและเอ็นกล้ามเนื้อ ประโยชน์ของการยืดเหยียดกล้ามเนื้อจะช่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัวมากขึ้น ช่วยให้การออกกำลังกายเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อทำได้ง่ายขึ้น ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการเกร็งร่วมด้วยจะช่วยทำให้อาการเกร็งลดลง สำหรับการออกกำลังกายยืดเหยียดมีท่าเบื้องต้น ดังนี้
1.1 กล้ามเนื้อรอบสะบัก (ท่าดึงสะบัก)
- เริ่มจากเอามือจับบริเวณหัวไหล่และ 2. ใช้มือข้างที่จับสะบักดึงสะบักออกมา
แนวกระดูกสะบักทางด้านใน ตามแนวลูกศร ส่วนมืออีกข้างจับหัวไหล่ไว้
1.2 กล้ามเนื้อหมุนแขนออก (ท่าหมุนหัวไหล่ออก)
1.เริ่มจากมือจับบริเวณศอก 2. จากนั้นมือที่จับข้อมือหมุนจากคว่ำมือไปหงายมือ
ข้อมือ กางแขนให้อยู่ประมาณ 90 องศา ตามแนวลูกศรไปกลับตามภาพ
1.3 กล้ามเนื้อหัวไหล่ (ท่ายกแขน)
1. เริ่มจากมือจับประคองข้อมือและศอกตามภาพ 2.จากนั้น ยกแขนขึ้นลงตามแนวลูกศร
1.4 กล้ามเนื้อหัวไหล่ (ท่ากางแขน)
- เริ่มจากมือจับประคองข้อมือและศอกตามภาพ 2.จากนั้นยกแขนกางออกหงายมือ
ให้แขนผู้ป่วยกางอยู่ประมาณ 45 องศา ตามแนวลูกศรขึ้นให้สุด
1.5 กล้ามเนื้อศอก (ท่าเหยียดศอก)
1.เริ่มจากจับประคองข้อมือและ 2. จากนั้นค่อยๆจับมือเหยียดศอกออกช้าๆ
ศอกตามภาพ
1.6 กล้ามเนื้อมือ (ท่าหงายมือ)
1. 2. 3.
เริ่มจากจับมือผู้ป่วยตั้งขึ้นตามภาพ จากนั้นเอามือของเราจับประคองข้อมือผู้ป่วย ดันมือออกแรง
ตามภาพจากคว่ำมือไปเป็นหงายมือ
1.7 กล้ามเนื้อมือ (ท่ากระดกข้อมือ)
เริ่มจากจับข้อมือและบริเวณฝ่ามือของผู้ป่วย แล้วกระดกข้อมือขึ้นลง
1.8 กล้ามเนื้อนิ้วมือ (ท่าเหยียดนิ้ว)
เริ่มจากจับข้อมือและนิ้วมือของผู้ป่วย โดยเริ่มจากยืดนิ้วโป้งออกก่อน
จากนั้นค่อยๆจับนิ้วที่เหลือยืดเหยียดตาม
2.1 กล้ามเนื้อช่วงลำตัว (ท่าชันเข่าบิดตัว)
เริ่มจากจับตั้งขาผู้ป่วยขึ้นทั้งสองข้าง มือข้างหนึ่งจับที่ต้นขาหรือช่วงเอว อีกมือจับที่หัวไหล่
จากนั้นออกแรงดันที่ต้นขาหรือเอว และบริเวณหัวไหล่ตามภาพ ขณะทำหัวไหล่แนบกับเตียง
2.2 กล้ามเนื้องอสะโพก (ท่างอเข่าสะโพก)
เริ่มจากจับบริเวณข้อเท้าและข้อเข่าตามภาพ จับขาผู้ป่วยงอเข่าหาลำตัว เท่าที่ไหวหรือให้ได้ 90 องศา
2.3 กล้ามเนื้อกางขาหุบขา (ท่ากางหุบขา)
เริ่มจากจับบริเวณข้อเท้าและข้อเข่าตามภาพ จากนั้นค่อยๆกางขาผู้ป่วยเท่าที่ไหว หรือให้ได้ 45 องศา
2.4 กล้ามเนื้อต้นขาหลัง (ท่ายกขาขึ้นตรง)
เริ่มจากจับประคองบริเวณข้อเข่าทั้งสองมือตามภาพ โดยข้างหนึ่งโอบผ่านใต้ขาไปยังหลังข้อเข่า
อีกข้างหนึ่งจับบริเวณด้านหน้าข้อเข่า จากนั้นค่อยๆออกแรงโน้มตัวดันขาคนไข้เหยียดขึ้น ในองศาที่ผู้ป่วยไหวหรืออย่างน้อยประมาณ 50 – 90 องศา
2.5 กล้ามเนื้อน่อง (ท่ากระดกเท้าขึ้น)
เริ่มจากจับประคองบริเวณข้อเท้าและบริเวณเหนือข้อเท้า
จากนั้นค่อยๆออกแรงแขนดันเท้ากระดกขึ้น ในองศาที่ผู้ป่วยไหวหรืออย่างน้อยประมาณ 15 องศา
โดยท่าทางทั้งหมดแต่ละท่าจะทำครั้งละ 5-10 ครั้ง/เซต ขณะยืดให้ยืดค้างไว้ประมาณ 10 วินาที ยืดสุดเท่าที่ผู้ป่วยทนไหวและไม่มีอาการเจ็บ ทำอย่างน้อยวันละ 3 เซต
วิธีกายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตเบื้องต้น จะเห็นได้ว่าเป็นท่าที่ทำได้ไม่ยาก ท่าบริหารเบื้องต้นจะช่วยทำให้ผู้ป่วยมีอาการตึงของกล้ามเนื้อลดลง พร้อมสำหรับการกายภาพบำบัด เช่น การออกกำลังกล้ามเนื้อ การฝึกยืน การเดิน การฝึกมือ ซึ่งหากมีข้อสงสัยในท่าบริหารเบื้องต้น หรือต้องการนักกายภาพบำบัดในการฝึกกระตุ้นผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ทาง ReBRAIN มีทีมนักกายภาพบำบัดที่พร้อมดูแล พร้อมให้คำปรึกษา การรักษา แก่ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยอัมพาตทุกๆท่านครับ
เอกสารอ้างอิง
งานกายภาพบำบัด กลุ่มเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลราชวิถี. (2562). กายภาพบำบัดในผู้ป่วยอัมพาต
ครึ่งท่อนล่าง. สืบค้น 8 ธันวาคม 2566, จาก
https://www.rajavithi.go.th/rj/wp-content/uploads/2019/08/SCI_booklet.pdf
ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. (2563). กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก.
สืบค้น 8 ธันวาคม 2566, จาก
https://rehabmed.md.chula.ac.th/wp-content/uploads/2020/05/กายภาพบำบัดสำหรับ ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก.pdf
Basic physical therapy methods For paralysis patients
Paralysis is one of the symptoms. of cerebrovascular disease which causes weakness in the left and right hemispheres Or have weakness in just your arms or legs? any one Makes it impossible to use daily life normally Must rely on caregivers in daily life Today, ReBRAIN will introduce basic physical therapy methods for paralyzed patients. What physical therapy poses can be given to relatives or caregivers?
Basic physical therapy for paralysis patients today will be introduced in Muscle stretching exercises The purpose of stretching muscles is to prevent joint and muscle tendon retention. The benefits of stretching the muscles will help the patient feel more comfortable. Makes it easier to exercise to increase muscle strength. In some patients who also have spasticity, it will help reduce the spasticity. For stretching exercises, the basic positions are as follows: