สมองบวม ภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย และมีผลต่อการฟื้นตัวของสมอง

สมองบวม ภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย และมีผลต่อการฟื้นตัวของสมอง

ภาวะ สมองบวม เป็นโรคแทรกซ้อนที่พบเห็นได้บ่อยครั้งในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด (Ischemic Stroke) เป็นภาวะที่ภายในสมองมีสารน้ำเพิ่มขึ้น ลองคิดตามนะคะ สมองเราเป็นอวัยวะที่ลอยตัวอยู่ภายในกะโหลกศีรษะ เมื่อมีน้ำเข้าไปภายในกะโหลกศีรษะมากขึ้นๆ น้ำออกไปไหนไม่ได้ก็อัดแน่นอยู่ภายใน ซึ่งก็จะส่งผลทำให้ความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มสูงขึ้น และไปกดศูนย์ควบคุมการหายใจ อาจส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ด้วยนะคะ เพื่อรู้ทันภาวะสมองบวม วันนี้ ReBRAIN จะขอพูดถึง ที่มาของการเกิดภาวะนี้ การจัดการดูแลของทีมแพทย์รวมถึงแนวทางการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดด้วย 

สมองบวม (Brain Edema) เป็นภาวะที่มีของเหลวส่วนเกินสะสมในสมอง อาจเกิดแค่บางส่วนของสมองหรือทั้งหมดก็ได้ ทำให้สมองบวมและมีความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการบาดเจ็บและอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ภาวะนี้เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากรับการรักษาไม่ทันการณ์

 

สาเหตุของสมองบวม 

ภาวะสมองบวมเกิดได้จากหลายสาเหตุคือ

  • โรคหลอดเลือดสมอง สมองบวม อาจเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด (Ischemic Stroke) ซึ่งสาเหตุเกิดจากการอุดตันของลิ่มเลือดบริเวณสมอง ทำให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ให้เซลล์ในสมองตายและส่งผลให้สมองเกิดการบวมตามมาได้
  • เนื้องอก ถ้าเนื้องอกขนาดใหญ่อาจไปปิดกั้นการไหลเวียนของน้ำในไขสันหลัง ส่งผลให้เกิดภาวะสมองบวมและทำให้ความดันในกะโหลกสูงขึ้น 
  • การบาดเจ็บของสมอง เมื่อได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างถูกกระแทกหรือพลัดตกจากที่สูง อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อสมองและทำให้เนื้อเยื่อในสมองเกิดการบวม รวมทั้งการบาดเจ็บอย่างรุนแรงจนกะโหลกศีรษะแตกก็ทำให้เส้นเลือดในสมองแตกหรือส่งผลให้สมองบวมได้เช่นกัน
  • การติดเชื้อ แบคทีเรียหรือไวรัสบางชนิดอาจทำให้เกิดโรคและความผิดปกติที่นำไปสู่สมองอักเสบและเกิดการบวมได้ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีหนองที่เยื่อหุ้มสมอง ไข้สมองอักเสบ และโรคทอกโซพลาสโมซิส เป็นต้น

 

อาการสมองบวม 

บางอาการต่อไปนี้ที่เราควรเฝ้าระวังหลังจากได้รับบาดเจ็บหรือมีการติดเชื้อบางอย่างที่อาจบ่งบอกว่ามีการบวมเกิดขึ้น ซึ่งเป็นอาการของสมองบวมดังนี้:

  • ปวดศีรษะ
  • มึนงง
  • คลื่นไส้
  • ไม่ให้ความร่วมมือ
  • เป็นเหน็บชา

ในรายที่สมองบวมรุนแรง อาจมีอาการต่างๆดังนี้ร่วมด้วย:

  • อารมณ์เปลี่ยนแปลง
  • สูญเสียความทรงจำ
  • พูดสื่อสารลำบาก
  • ขาดการยับยั้ง
  • สติอารมณ์เปลี่ยนไป
  • เกิดอาการชัก
  • ร่างกายอ่อนแรง

 

การรักษาสมองบวม 

เป็นภาวะอันตรายที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นหรืออาจเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยจุดประสงค์เพื่อทำให้เลือดและออกซิเจนไหลเวียนเข้าสู่สมองได้ตามปกติและลดภาวะสมองบวม ซึ่งแพทย์อาจรักษาหลายวิธีร่วมกัน ดังนี้

  • ให้ยาลดสมองบวม การใช้ยาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ โดยทั่วไปแพทย์อาจให้ยาบรรเทาอาการบวมและป้องกันการเกิดลิ่มเลือด เพื่อให้ร่างกายตอบสนองต่ออาการบวมช้าลง ซึ่งแพทย์อาจให้ยาลดสมองบวมชนิดที่มีความเข้มข้นสูงในผู้ป่วยบางราย เพื่อเอาของเหลวออกมาจากสมองและทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น เพราะอาการสมองบวมนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากของเหลวส่วนเกินด้วย
  • ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เป็นการให้ของเหลวหรือยาผ่านทางการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อไม่ให้ความดันเลือดต่ำเกินไป ซึ่งการรักษานี้จะทำให้ร่างกายและสมองได้รับเลือดอย่างเพียงพอ โดยแพทย์มักให้ยาหรือของเหลวที่เหมาะกับคนไข้ เนื่องจากของเหลวบางชนิดอาจทำให้อาการสมองบวมแย่ลงได้
  • ระบายน้ำไขสันหลังจากสมอง เป็นการผ่าตัดนำท่อใส่เข้าไปบริเวณกะโหลกเพื่อระบายน้ำส่วนเกินออกจากสมอง โดยจะช่วยลดความดันในกะโหลกศีรษะและลดอาการบวมได้
  • ผ่าตัดกะโหลกศีรษะ อาจทำได้หลายวิธี ซึ่งมักใช้กับภาวะสมองบวมที่มีความรุนแรง เพื่อลดความดันในกะโหลกศีรษะ โดยการผ่าตัดกะโหลกศีรษะอาจเป็นการตัดบางส่วนของกะโหลกศีรษะออก หรืออาจตัดส่วนที่เป็นต้นเหตุของอาการบวมอย่างเนื้องอกออกไปด้วย รวมทั้งรักษาต้นเหตุของอาการบวม เช่น รักษาหลอดเลือดเเดงหรือหลอดเลือดดำในสมอง เป็นต้น

 

ภาวะแทรกซ้อนจากสมองบวม

ภาวะสมองบวมถือเป็นอาการที่มีความรุนแรงมาก หากไม่รับการรักษาอาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ หรือหากรับการรักษาช้าเกินไปก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวตามมา เช่น การคิด การตัดสินใจ หรือการนอนหลับผิดปกติ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป การสื่อสารมีปัญหา ความสามารถในการจำลดลง การเดิน การทรงตัวเป็นต้น
ในทางกายภาพบำบัด หากพบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีประวัติเกิดภาวะสมองบวมขณะเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลอาจพยากรณ์โรคได้ว่าการฟื้นฟูอาจทำได้ยากขึ้น หากผู้ป่วยเกิดภาวะนี้อยู่หลายวัน เพราะนั้นหมายความว่า สมองมีการกดเบียดและอาจขาดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงเป็นเวลานาน สมองอาจตายเป็นวงกว้างมากขึ้น ทำให้การฟื้นฟูทั้งด้านกำลังกล้ามเนื้อ การควบคุมสั่งการกล้ามเนื้อ การทรงท่าต่างๆก็จะทำได้ยากขึ้น อาจต้องใช้เวลามากในการเรียนรู้ให้เกิดกระบวนการคิดและคำสั่งใหม่ ที่ใช้เวลานานขึ้น

Complications from cerebral edema

Cerebral edema is a very serious condition. If not treated, it can cause death. Or, if treated too late, it can lead to long-term complications, such as abnormal thinking, decision-making, or sleeplessness. Behavior changes Communication problem Decreased memory ability, walking, balance, etc.
In physical therapy If it is found that a stroke patient has a history of cerebral edema while being admitted to the hospital, the prognosis is that recovery may be more difficult. If the patient has this condition for several days Because that means The brain is suppressed and may be lacking blood and oxygen for a long time. The brain may die more widely. Make the recovery of both the muscle power Control over the muscles The different postures will be more difficult. It may take a lot of time to learn new thinking processes and instructions. That take longer

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top