สุรา / เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

สุรา / เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

อย่างที่ทุกคนทราบดีว่าการดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็นเบียร์หรือ สุรา นั้นอยู่คู่สังคมเรามานาน ซึ่งมักจะมาควบคู่กับกิจกรรมพบปะสังสรรค์ งานเลี้ยงรื่นเริงต่างๆ แต่รู้หรือไม่ว่าในระยะยาวพฤติกรรมการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายและยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและส่งผลต่อระบบหลอดเลือดของร่างกาย ซึ่งในวันนี้เราจะมาเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน

โรคหลอดเลือดสมองสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งปัจจัยความเสี่ยงนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อายุ เพศ หรือภาวะความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดและ ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลายคนคงสงสัยใช่ไหมว่าการดื่มสุราเกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมองอย่างไรและมีผลอะไรบ้างต่อร่างกาย บทความนี้มีคำตอบครับ

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อความดันกล่าวคือ จะไปกระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น เนื่องจาก “ร้อยละ 95 ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไปจะซึมเข้าสู่กระแสเลือด ผ่านทางเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะไปขยายหลอดเลือดทำให้ความดันโลหิตสูงมากขึ้นและอาจทำให้เส้นเลือดแตกได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ดื่มแอลกอฮอล์ปานกลางไปจนถึงหนัก เนื่องจากผลงานวิจัยการศึกษาปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มมีความสัมพันธ์กับ  Systolic BP และ Diastolic BP โดยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1-2 แก้วต่อวัน (1 แก้วเท่ากับปริมาณแอลกอฮอล์ 30 ซีซี หรือ 1 ดื่มมาตรฐาน) จะเพิ่ม Systolic BP และ Diastolic BP 1 และ 0.5 mmHg และนอกจากนี้การดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 30 ซีซี ต่อวัน  ยังมีโอกาสเกิดกลุ่มอาการ metabolic syndrome เป็น 12 เท่า และการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากจะส่งผลให้เลือดอ่อนตัว เลือดออกง่ายและหยุดยาก เมื่อเกิดการปริแตกของหลอดเลือดในสมอง ประกอบกับความดันโลหิตสูง และภาวะเลือดออกง่ายจากการดื่มสุรา ความเสียหายต่อเนื้อเยื่อสมองจะมีโอกาสเกิดมากขึ้น และมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น กล่าวได้ว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น และนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองได้

จะเห็นได้ว่าในระยะยาวการดื่มแอลกอฮอล์นั้นส่งผลเสียกับระบบต่างๆและอวัยวะภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นตับ ตับอ่อน กระเพาะปัสสาวะ ไต และระบบหัวใจโดยเฉพาะความดันโลหิต ซึ่งการดื่มสุราเป็นประจำจะส่งผลให้ความดันโลหิตค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการ metabolic syndrome ซึ่งเป็นสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น เบาหวาน และความดันโลหิตสูงจะส่งผลให้หลอดเลือดสมองแตกได้ง่ายและมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จากข้อมูลข้างต้นเราพอจะทราบผลเสียของแอลกอฮอล์กันแล้ว ซึ่งการดื่มสุราและของมึนเมาที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบสามารถควบคุมและดูแลตนเองได้โดยการลด ละ เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากไม่สามารถเลิกได้ในทันทีก็ควรดื่มในปริมาณที่ไม่เกิน 30 ซีซีต่อวันและค่อยๆลดปริมาณลง แล้วหันมาดูแลตนเอง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและโรคต่างๆตามมา

liquor / alcoholic beverages Risk Factors for Stroke

As everyone knows, drinking alcohol Be it beer or liquor, it has been with our society for a long time. which often comes in conjunction with socializing activities various festivities But did you know that in the long term, drinking or drinking alcohol has a negative effect on the body and is also a risk factor for stroke and affects the body’s vascular system? which today we will learn together

Stroke can occur for many reasons. The risk factors are divided into two types: uncontrollable, such as age, sex, or congenital anomalies and Controllable risk factors include high blood pressure, diabetes, obesity, smoking and alcohol consumption. Many people are probably wondering how drinking alcohol is related to stroke and what effect it has on the body. This article has the answer.

 

แหล่งอ้างอิง

  1. นายณฐกร นิลเนตร.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ. 2560.
  2. ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จังหวัดพะเยา. Journal of Public Health. 2014; 44(1).
  3. สสส.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.ซดเหล้าเสี่ยงเส้นเลือดสมองแตก. 2555.

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top