หกล้ม ในผู้สูงอายุ เรื่องใกล้ตัวที่ต้องระวัง

หกล้ม ในผู้สูงอายุ เรื่องใกล้ตัวที่ต้องระวัง

             ในวัยผู้สูงอายุนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย และ จิตใจ ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่างๆ ทางด้านสุขภาพมากมาย การเกิดอุบัติเหตุ ลื่น พลัดตก หกล้ม มักจะเป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะกระดูกหักในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกระดูกสะโพก และยังพบว่า 1 ใน 5 ของผู้สูงอายุที่ หกล้ม และมีกระดูกหัก ไม่สามารถกลับมาเดินได้อีก ต้องใช้รถเข็น ส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการดูแลตนเอง และมีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลอยู่ตลอดเวลา การป้องกันดูแลจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย ดังนั้นเราจะมารู้ถึงปัจจัยเสี่ยงที่เกิดภาวะล้ม และแนวทางในการป้องกันการล้มในผู้สูงอายุกัน

ปัจจัยเสี่ยงการหกล้มในผู้สูงอายุ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตก หกล้ม ในผู้สูงอายุ สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  1.  ปัจจัยภายในร่างกาย (Intrinsic Factor) หมายถึง สภาวะร่างกายหรือการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการ หกล้ม ซึ่งสามารถจำแนกได้ ดังนี้

1.1 การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามวัย เช่น ความเสื่อมของการมองเห็น การเปลี่ยนแปลงของระบบโครงสร้าง และกล้ามเนื้อ

1.2 การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากความเจ็บป่วย เช่น ระบบหัวใจหรือหลอดเลือด อาจเกิดจากความผิดปกติของหัวใจหรือหลอดเลือด ปัญหาที่พบได้เสมอคือ ภาวะความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า ทำให้เกิดอาการหน้ามืด และวิงเวียนศีรษะซึ่งอาจทำให้ผู้สูงอายุ หกล้ม ได้ ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก จากการทำกิจกรรมลดลง ทำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง หรือความผิดปกติทางจิต เช่น อาการวิตก กังวล ภาวะหลงลืมและซึมเศร้า เป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุ

  1. ปัจจัยภายนอกร่างกาย (Extrinsic factors) หมายถึง สิ่งแวดล้อมรอบตัวของบุคคล ซึ่งอาจเป็นสิ่งแวดล้อมภายในหรือภายนอกบ้าน 

2.1 สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน ที่ทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการหกล้ม เช่น พื้นที่มีลักษณะไม่ปลอดภัย ได้แก่ พื้นบ้านที่ลื่น พื้นที่มีผิวไม่เรียบ พื้นที่มีระดับต่างกัน บริเวณบันได เช่น ขั้นบันไดมีความสูงไม่สม่ำเสมอ อันตรายที่เกิดจากการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ไม่เป็นระเบียบ ขัดขวางทางเดิน หรือการแต่งกายและอุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ เสื้อผ้าที่มีขนาด หลวม ใหญ่ หรือยาวเกินไป อาจทำให้เกิดการสะดุด เกี่ยวดึง รองเท้าที่มีรูปทรง ไม่พอดีเท้า ก็ส่งผลให้เกิดการล้มในผู้สูงอายุได้

2.2 สิ่งแวดล้อมภายนอกบ้าน มีความสำคัญกับผู้สูงอายุมากเช่นกัน เนื่องจากผู้สูงอายุยังสามารถทำกิจกรรมต่างๆ นอกบ้านได้ เช่น เก็บกวาดใบไม้ เก็บผ้าที่ตากไว้ ไปทำธุระนอกบ้าน ไปวัด กิจกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดโอกาสเสี่ยงและเป็นสาเหตุของการหกล้มได้

แนวทางป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ


1. การส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ การฝึกเดินที่ถูกต้อง รวมถึงการสวมรองเท้าที่เหมาะสม การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกำลังของกล้ามเนื้อ ฝึกการทรงตัว
2.การสร้างเสริมภาวะโภชนาการที่ดี การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
3.การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น โครงเหล็ก 4 ขา (Walker) ไม้เท้า ฯลฯ
4.การปรับพฤติกรรมส่วนตัว เช่น การค่อย ๆ ลุกยืนอย่างช้า ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ความดันโลหิตตกในท่ายืนหรือหน้ามืด การหาราวสำหรับเกาะเดิน
5.ประเมินการใช้ยา หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็นหรือมากเกินไป หากได้รับยาหลายชนิดที่อาจส่งผลให้เกิดการหกล้มแนะนำให้ปรึกษาแพทย์
6.การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน เช่น       

– มีวัสดุกันลื่นในห้องน้ำ          

 – ไม่วางของระเกะระกะ           

– มีแสงสว่างเพียงพอ โดยเฉพาะตรงราวบันได หรือ พื้นต่างระดับ     

– เตียงนอน เก้าอี้ และโถส้วม ควรมีความสูงพอเหมาะ ไม่เตี้ยเกินไป           

– ทางเดินและบันไดควรมีราวจับตลอดและขั้นบันไดสม่ำเสมอ         

 – พื้นห้องสม่ำเสมอและเป็นวัสดุที่ไม่ลื่นโดยเฉพาะในห้องน้ำ หรือ ขั้นบันได        

– บริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างห้องควรอยู่ในระดับเดียวกัน           

– หลีกเลี่ยงธรณีประตู          

 – ไม่ควรมีสิ่งของเกะกะ เช่น พรมเช็ดเท้า สายไฟฟ้า เป็นต้น
การหกล้มนั้นเป็นปัญหาสำคัญในผู้สูงอายุและส่งผลกระทบในหลายด้าน ดังนั้นหากเราสามารถป้องกันการหกล้มได้ จะก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีในผู้สูงอายุ

 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

 

อ้างอิง :
ปริศนา รถสีดา (2561) การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน: บทบาทพยาบาล กับการดูแลสุขภาพที่บ้าน.วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 11 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 61
National Center for Injury Prevention and Control. Preventing falls (2008) How to develop community-based fall prevention programs for older adults. Atlanta, GA: Centers for Disease Control and Prevention;

 

Falls in the elderly Things to watch out for

. . . in the elderly There will be changes both physically and mentally which pose various risks. Many health Accidents, slips, falls, and falls are often the main causes of fractures in the elderly. Especially the hip bone and also found that 1 in 5 of the elderly who fell and had fractures unable to walk again must use a wheelchair This results in the loss of self-care ability. And it is necessary to be taken care of all the time. Prevention and care is therefore important that should not be neglected. Therefore, we will come to know the risk factors for falling. and guidelines for preventing falls in the elderly

Risk factors for falls in the elderly

Risk factors for falls and falls among the elderly can be divided into two groups as follows:

Intrinsic factors are physical conditions or changes within the body that cause the risk of falling, which can be classified as follows:

1.1 Changes in the body according to age, such as deterioration of vision change of structural system and muscles

1.2 Changes in the body due to illness, such as the heart or blood vessels It can be caused by heart or blood vessel abnormalities. The problem that is always found is Hypotension during posture change cause faintness and dizziness, which may cause the elderly to fall. Musculoskeletal system from decreased activity decreases muscle strength or mental disorders such as anxiety, forgetfulness and depression It is a factor that increases the risk of falls among the elderly.

Extrinsic factors refer to the environment around a person. This could be the environment inside or outside the house.

2.1 Home environment that make the elderly at risk of falling, such as areas that look unsafe, including slippery floors The area has an uneven surface. The floor has different levels. The stairs area, for example, the steps are uneven in height. Dangers arising from the placement of things and utensils in a mess obstruct the passage or inappropriate dressing and movement aids, including clothing that is too loose, too large or too long May cause tripping, hooking, shoes that do not fit the foot, resulting in falling in the elderly.

2.2 The environment outside the house It is very important to the elderly as well. Because the elderly can still do various activities outside the house, such as cleaning leaves. keep the clothes dry Going on errands outside the home, going to temples, these activities pose risks and can cause falls.

Guidelines for preventing falls in the elderly

1. Health promotion: correct walking training including wearing appropriate shoes Exercises to strengthen muscle power, balance training
2. Promoting good nutritional status Eating food from all 5 food groups
3.Use of walking aids such as a 4-legged steel frame (Walker), cane, etc.
4. Adjusting personal behavior, such as slowly standing up slowly to prevent blood pressure from falling in a standing position or fainting. Finding railings for walking islands
5. Evaluate drug use Avoid unnecessary or excessive use of medication. If taking a variety of drugs that may result in falls, it is advisable to consult a doctor.
6. Modifications to the home environment such as . . .

– There is anti-slip material in the bathroom

– Do not place clutter

– There is enough light. Especially at the railing or level floor

– Beds, chairs and toilets should be at the right height. not too short

– Corridors and stairs should have handrails at all times and the steps are consistent.

– The floor is uniform and is a non-slip material, especially in the bathroom or stairs

– The connection point between the rooms should be at the same level.

– Avoid the threshold

– There should not be cluttered things such as doormats, electric wires, etc.
Falls are a major problem in the elderly and affect many aspects. So if we can prevent falls. will cause a good quality of life in the elderly

 

 

โทร.
Scroll to Top