หุ่นยนต์ฝึกเดิน กับ การทำกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
หุ่นยนต์ฝึกเดิน กับ การทำกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ร่วมกับการรักษาด้วยหุ่นยนต์ หลายหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยหรือญาติ มีความตั้งใจที่จะหาวิธีที่ดีที่สุด เพื่อรักษาตัวเอง หรือ คนที่เรารักให้ดีขึ้นมากที่สุดในปัจจุบันมีทางเลือกในการรักษามากมายไม่ว่าจะเป็นการฝังเข็ม, การทำTMS หรือจะเป็นการนวดแผนไทย ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีร่างกายที่ดีมากขึ้น โดยการรักษาหนึ่งที่ช่วยได้ไม่แพ้กันก็คือการรักษาด้วยหุ่นยนต์เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้เช่นกันบทความนี้จะแนะนำเกี่ยวกับชนิดของหุ่นยนต์ที่ใช้ในการฟื้นฟูผู้ป่วยและประโยชน์ของการรักษาหุ่นยนต์ให้ได้ทราบกันนะครับ
การรักษาด้วยหุ่นยนต์
เป็นการรักษา ที่ช่วยเหลือผู้ป่วยในการใช้ชีวิตจำวัน และ กิจวัตรประจำวันได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหาร การฝึกยืน การเดิน หรือ การขึ้นลงบันไดโดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยนั้นนอกจะทำให้สะดวกสบายยิ่งขึ้นแล้วยังช่วยในการฟื้นฟูและทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสามารถเคลื่อนไหวได้โดยไม่มีข้อจำกัดซึ่งสามารถแบ่งประเภทหุ่นยนต์ออกได้ดังนี้
- Treadmill-based robotic : เป็นการฝึกเดินบนลู่วิ่งงงกับการมีระบบพยุงตัวในขณะฝึกเดินซึ่งควบคุมการเคลื่อนไหวของสะโพกและข้อเข่าในขณะเดินทำให้ลดการเกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ซึ่งเราจะรู้จักกันคือ Lokomat และ ReoAmbulator
- Mobile robotic : เป็นการฝึกเดินโดยจะช่วยพยุงผู้ป่วยให้สามารถเดินบนพื้นไปยังทิศทางตามที่ผู้ป่วยต้องการได้ ซึ่งเป็นการเดินที่มีความคล้ายคลึงการเดินที่ปกติ โดยหุ่นยนต์ชนิดนี้จะคอยควบคุมบริเวณสะโพกและข้อเข่าของผู้ป่วยในขณะเดิน ซึ่งเราจะรู้จักกันคือ KineAssist และ HAL
- Stationary robotic base : จะเป็นการเคลื่อนไหวการออกกำลังกายขา โดยจะออกแรงช่วยเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่กำหนด ซึ่งจะส่งผลให้เพิ่มความแข็งแรงของขามากขึ้น ส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อต่อ และการทำงานประสานสัมพันธ์ของขาทั้งสองข้างได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเราจะรู้จักกันคือ MotionMaker และ Lambda
- Ankle and knee rehabilitation system : เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อการฟื้นฟูของข้อเข่าและข้อเท้าโดยจะเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพิ่มการทรงตัวได้ดียิ่งขึ้นรวมไปถึงช่วยให้ก้าวขาได้ดียิ่งขึ้นสำหรับผู้ป่วยบางคนที่มีข้อเท้าผิดรูปหรือไม่สามารถเดิน จะสามารถกลับมาเดินได้ใกล้เคียงปกติมากขึ้น ซึ่งเราจะรู้จักกันคือ High Performance Ankle Rehabilitation Robot
ซึ่งการรักษาด้วยหุ่นยนต์นั้นมีหลากหลายประเภท การเลือกใช้หุ่นยนต์แต่ละประเภทขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของร่างกายของผู้ป่วยโดยการรักษาด้วยหุ่นยนต์นั้นมีประโยชน์มากมายทั้งช่วยทุ่นแรงทำให้ผู้ป่วยได้ฝึกการเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้นแต่ก็ตามการรักษาด้วยหุ่นยนต์เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ทั้งหมดสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ดังนั้นการรักษาด้วยกายภาพโรคหลอดเลือดสมอง ร่วมกับการรักษาด้วยหุ่นยนต์นั้นจะทำให้การฟื้นตัวของผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น โดยหุ่นยนต์จะช่วยในการประคองส่วนที่บนของร่างกายในขณะฝึกกระตุ้นการลงน้ำหนัก การถ่ายน้ำหนักและกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อช่วงล่างในขณะยืนได้ดียิ่งขึ้น และยังสามารถเลือกการฝึกเดินที่ผู้ป่วยมีปัญหาทีละส่วนได้ ส่วนนักกายภาพบำบัดช่วยส่งเสริมผู้ป่วยในด้านอื่นๆไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกายการยืดเหยียดเพื่อลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ, การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการช่วยส่งเสริมในการเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้ความแข็งแรงกล้ามเนื้อ ความทนทานของกล้ามเนื้อดียิ่งขึ้น จึงทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาเคลื่อนไหวได้อย่างเต็มความสามารถและพัฒนาได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
Therefore, physical therapy for cerebrovascular disease Together with robotic therapy, the recovery of the patient can be improved. The robot helps to support the upper body while training to stimulate weight gain. Better shifting of weight and stimulating the work of the lower body while standing. And can also choose to practice walking where the patient has problems individually Physiotherapists support patients in other areas such as Stretching exercises to reduce muscle contractions, exercises that increase muscle strength and promote proper movement. Resulting in muscle strength Improved muscle endurance This allows the patient to return to move to the fullest extent possible and develop more quickly.