ภาวะเสี่ยงในผู้ป่วย อัมพาต ครึ่งซีก

ภาวะเสี่ยงในผู้ป่วย อัมพาต ครึ่งซีก

ภาวะเสี่ยงในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

ภาวะเสี่ยงในผู้ป่วย อัมพาต ครึ่งซีก Shoulder Hand Syndrome เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อย ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก (Hemiplegia) โดยเกิดขึ้นภายหลังอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 12.5 ถึง 27 มักเกิดขึ้นในช่วง 2-3 เดือนหลังการเกิดโรคสาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัดแต่เชื่อว่าเกิดจากความบกพร่องของการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ Sympathetic จากการที่ผู้ป่วยขาดการเคลื่อนไหวของไหล่ด้านที่อ่อนแรงเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ไม่สามารถพยุงข้อต่อให้ยึดกันได้ หากไม่ได้รับการป้องกันอาจเกิดการบาดเจ็บ และอักเสบที่เนื้อเยื่อรอบหัวไหล่อย่างซ้ำๆ ทำให้ร่างกายจะตอบสนองโดย โดยเกิดการบาดเจ็บต่อหน่วยรับความรู้สึกปวดที่บริเวณผิวหนัง (Afferent fiber) ร่วมกับการสูญเสียการควบคุมจากระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้หน่วยรับความรู้สึกที่ผิวหนังไวต่อการถูกกระตุ้นจากตัวกระตุ้นอื่นที่ไม่ใช่ตัวกระตุ้นปกติ ซึ่งอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมองเป็นปัจจัยกระตุ้นที่พบบ่อยที่สุด

นอกจากนี้การผ่าตัดทรวงอก ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลัน รวมถึงการได้รับบาดเจ็บบริเวณแขนและมือเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน ผู้ป่วยจะเกิดภาวะไวต่อการรับความรู้สึก หรือ Hypersensitivity จะมีอาการปวดอย่างรุนแรงมาก ซึ่งแตกต่างจากการปวดแบบอื่นๆ มักปวดแสบปวดร้อนตลอดเวลาแม้ไม่ได้เคลื่อนไหว ร่วมกับมีข้อยึดติด มือบวม และมีการเปลี่ยนแปลงสีของผิวหนัง อาการจะเกิดขึ้นเฉพาะข้อไหล่ข้อมือ และข้อนิ้วมือด้วยไม่เกิดขึ้นกับข้อศอก เกณฑ์การวินิจฉัย Shoulder Hand Syndrome

ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะแรกคือ

1.ปวดแขนขณะพักหรือขณะเคลื่อนไหว
2.ข้อมือและมือมีอาการบวม
3.มีการเปลี่ยนแปลงของ vasomotor
โดยผิวหนังมีการเปลี่ยนสีซีดหรือม่วง
อุณหภูมิผิวมักเย็นลงหรือมีเหงื่อมากขึ้น
4.กดเจ็บบริเวณข้อมือข้อโคนนิ้วมือ
และข้อนิ้วมือ

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงของภาวะ Shoulder Hand Syndrome ดังนั้นจะเป็นการป้องกันและดูแล
เพื่อไม่ให้เกิดภาวะ Shoulder Hand Syndrome ซึ่งมีดังต่อไปนี้

  1. การจัดท่าของแขนและมือในด้านที่อ่อนแรงให้ถูกต้อง ไม่ควรนอนตะแคงทับด้านที่อ่อนแรง หรือหากนอนตะแคงด้านที่อ่อนแรงต้องมีการจัดท่าอย่างเหมาะสม
  2. ป้องกันการบาดเจ็บของแขนข้างที่อ่อนแรงเช่น ภาวะข้อไหล่หลุดจากการที่นั่ง โดยขณะนั่ง หรือเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วย ควรมีการประคองแขนข้างอ่อนแรง อย่างถูกต้อง ขณะนั่งควรมีหมอนมารองบริเวณข้อศอก และขณะเคลื่อนย้ายตัวควรระวังไม่ให้เกิดการกระชากหรือรั้งบริเวณข้อไหล่ เป็นต้น
  3. การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ แขน และมือข้างที่อ่อนแรง ให้คงพิสัยการเคลื่อนไหว เพื่อให้ระบบไหลเวียนเลือดดี และป้องกันภาวะข้อติดแข็ง
  4. การดูแลอาการบวมบริเวณข้อมือในระยะแรก เนื่องจากเป็นอาการแสดงที่พบได้ในระยะแรกของภาวะ Shoulder Hand Syndrome หากดูแลได้เหมาะสมจะสามารถลดตัวกระตุ้นของการเกิดภาวะนี้ได้ โดยสามารถป้องกันและรักษาได้โดยยกมือขึ้นให้สูงกว่าระดับหัวใจเพื่อช่วยการไหลเวียนกลับของเลือดดำ จัดท่าของมือให้เหมาะสมกับอีกเรื่องถ้างอข้อมือเพราะจะทำให้เลือดดำไหลกลับลำบาก และการออกกำลังกายขยับข้อมือ

การรักษาทางกายภาพบำบัดมีส่วนสำคัญอย่างมากในผู้ป่วยอัมพาต
ระยะแรก  สามารถให้คำแนะนำ  การดูแลและจัดการ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ Shoulder hand syndrome นอกจากนี้หากเกิดภาวะ Shoulder hand syndrome การรักษาทางกายภาพบำบัดจะสามารถลดความรุนแรงของภาวะนี้ได้  ดังนั้นการได้รับการรักษาทาง กายภาพบำบัด จึงมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นอย่างยิ่ง

ในปัจจุบันการทำ กายภาพบำบัดที่บ้าน มีเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการ ฟื้นฟู ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่แพ้กับโรงพยาบาล ซึ่งจะทำให้ไม่เสียเวลาในการเดินทางและรอรับการรักษา รวมทั้งไม่ต้องใช้คนจำนวนมากในการไปรับไปส่ง นอกจากนี้ค่ารักษาไม่แตกต่างกันมาก

เอกสารอ้างอิง

ปิยะภัทร พัชราวิวัฒน์พงษ์.Common problems of upper extremity in stroke patients. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2545;12(2): 44-62

Tepperman PS, Greyson ND, Hilbert L, Jimenez J, Williams JI. Reflex Sympathetic Dystrophy in hemiplegia, Arch Phys Med Rehab il1984; 65:442-7.

 

โรคหลอดเลือดสมอง
Facebook :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top