อาการชัก กับภาวะโรคหลอกเลือดสมอง
อาการชัก เมื่อเกิดภาวะโรคหลอดเลือดสมอง จะส่งผลกระทบทางอารมณ์(Emotional) ความสามารถต่อการเคลื่อนไหว(Mobility) การสื่อสาร (Verbal communication ) ระบบความจำ (Memory) และอีกหนึ่งปัญหาที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้คือ ภาวะอาการชัก (Seizure) เนื่องจากภาวะโรคหลอดเลือดสมองนั้นส่งผลให้เกิดแผลบริเวณ เนื้อสมอง ซึ่งภาวะอาการชัก (Seizure) ทำให้ระบบการนำกระแสประสาทของสมองเปลี่ยนแปลงไป
โดยปกติแล้วการทำงานของเซลล์สมองนั้นเป็นการเชื่อมต่อรูปแบบเปิด-ปิด แต่ขณะที่เกิดอาการชักนั้นเกิดการ ปลดปล่อยของเซลล์พลังงานออกมา บางครั้งที่ให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายอัตโนมัติ หรือทำให้มีภาวะการรับรู้สติลดลงในระยะเวลาสั้นๆ
โดยส่วนมากโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic stroke) มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดอาการชัก มากกว่า ภาวะสมองขาดเลือด
(Ischemic stroke) โดยเฉพาะเมื่อเกิดพยาธิสภาพบริเวณกลีบขมบ(Temporal lobe) ซึ่งความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองที่ส่งผลต่ออาการชักที่เกิดขึ้นนั้น มักจะเกิดอาการสูงสุดใน 30 วันแรกของการเกิด Stroke โดยเฉพาะ 15% ของผู้ป่วยโรคลมชักมาจากโรคหลอดเลือดสมอง จากข้อมูลของสมาคม
โรคหลอดเลือดสมองแห่งชาติ(National Stroke Association) ระบุว่าประชาชนประมาณ 5% จะมีอาการชักภายใน 2-3 สัปดาห์ของการเกิดอาการ
บางครั้งการมีอาการชักเรื้อรัง และเป็นประจำ อาจจะได้รับการวินิจฉัย ว่าผู้ป่วยมีภาวะโรคลมชัก (Epilepsy)
ถึงแม้ว่าจะไม่มีประวัติการเกิดโรคลมชักมาก่อน แต่เมื่อผ่านไป 30 วัน หลังจากที่ผู้ป่วยเกิดภาวะ
โรคหลอดเลือดสมองและปราศจากอาการชัก การพัฒนาให้เกิดโรคลมชักก็จะต่ำสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการชักในผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง
อาการแสดงที่พบบ่อยเมื่อเกิดอาการ • กล้ามเนื้อเกร็ง (Muscle spasm) • มีอาการสั่น กระตุก (Shaking) • ระดับการรู้สติลดลง (Loss of consciousness) • การรับความรู้สึกผิดปกติ รู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่มหรือชา (Tingling sensation)
อาการแสดงอื่นที่อาจพบ • อาการสับสน เพ้อ • อารมณ์เปลี่ยนแปลง • ไม่สามารถควบคุมระบบขับถ่ายเมื่อผู้ป่วยเกิดอาการชักจะต้องรีบนำส่งแพทย์ทันที
โดยการดูแลเบื้องต้นในผู้ป่วยที่มีอาการชักได้แก่
1.จับผู้ป่วยนอนราบ และนอนตะแคง โดยให้มีหมอนรอง บริเวณศีรษะเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ
2.อย่านำสิ่งของเข้าปากผู้ป่วย
3.นำของมีคมให้ห่างจากผู้ป่วย
4.สังเกตุการณ์ผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดจนอาการของผู้ป่วย
จะ ดีขึ้นหรือมีรถ emergency มารับเพื่อส่งต่อการรักษาทางการแพทย์
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ReBRAIN กายภาพบำบัดโรคหลอดเลือดสมอง โทร 086-3119699
อ้างอิงจาก • Medically reviewed by Seunggu Han, MD on June 29, 2018 — Written by Kelli Hansen, RN, CMCN, CSA, CDP • Bhall D.;Godat,B.;Druet-cabanac,M.;Preux.;Pm. (Jun2011).”Etiologies of eilepsy: a Comprehensive review”.Expert Rev Neurother.11(6):861-76S