อาหารสำหรับผู้ป่วย กลืนลำบาก
ภาวการณ์ กลืนลำบาก เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีปัญหาเกื่ยวกับระบบประสาท เช่น
โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน และโรคหลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก ร่วมถึงโรคอื่นอีกด้วย ทำให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารน้อยลงจนได้รับอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายส่งผลให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งภาวะกลืนลำบาก เป็นภาวะที่ทำให้เกิดความผิดปกติในการกลืน ทำให้ไม่สามารถกลืนได้หรือกลืนได้ลำบากมีความยากลำบากในการเริ่มต้นในการกลืนอาหาร หรือมีความลำบากในการเคลื่อนอาหารหรือของเหลวจากปากให้ผ่านคอหอยและหลอดอาหารไปสู่กระเพาะอาจส่งผลให้มีอาการอย่างอื่นร่วมด้วยเช่น ไอหรือสำลัก เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเราจึงต้องดัดแปลงอาหารให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคน โดยใช้เกณฑ์ฝึกกลืนของ TheInternational Dysphagia Diet Standardization Initiative (IDDSI) ตั้งเกณฑ์เพื่อกำหนดมาตรฐานของอาหาร ให้มีเนื้อสัมผัส ความหนืดข้น มาตรฐานเดียวกันทั่วโลก
โดยแบ่งอาหารออกเป็น 0-7 ระดับ ดังนี้
ระดับ 0 ลักษณะอาหาร เป็นของเหลว ไหลได้รวดเร็วเหมือนน้ำเปล่า สามารถดูดด้วยหลอด หรือไหลผ่านจุกนม ยางได้
ตัวอย่างอาหาร น้ำเปล่า น้ำหวาน น้ำสมุนไพร
ระดับ 1 ลักษณะอาหาร ลักษณะคล้ายนมเด็ก หรืออาหารทางการแพทย์ ไหลได้ช้ากว่าน้ำ ดูดหลอดได้
สามารถไหลผ่านจุกนมยางได้
ตัวอย่างอาหาร ซุปแครอทใสๆ น้ำข้าว
ระดับ 2 ลักษณะอาหาร ตักด้วยช้อนแล้วสามารถเทได้สามารถดื่มหรือจิบได้
ตัวอย่างอาหาร ซุปฟักทอง ซุปมันฝรั่ง ซุปครีม
ระดับ 3 ลักษณะอาหาร สามารถตักโดยใช้ช้อน หรือตักด้วยส้อมแล้วอาหารจะไหลผ่านร่องส้อม ไม่ต้องเคี้ยว
เนื้อสัมผัสนุ่มนิ่มไม่ต้องกัดหรือเคี้ยว
ตัวอย่างอาหาร โจ๊กปั่นเหลว ซุปข้าวโพด น้ำผึ้ง โยเกิร์ตแบบดื่ม
ระดับ 4 ลักษณะอาหาร สามารถตักได้ด้วยช้อนและคงตัวอยู่ได้ ไม่สามารถดื่มหรือจิบได้
ตัวอย่างอาหาร โจ๊กปั่นหยาบ ข้าวบดไก่/ไข่แดงผสมผัก
ระดับ 5 ลักษณะอาหาร ใช้ช้อนและส้อมตักทานได้ เนื้ออาจจะไม่แยกชั้นกัน เมื่อตักและเทลงบนจาน จะเกาะกัน
เป็นก้อนเมื่อใช้ลิ้นดันจะแตกออก
ตัวอย่างอาหาร ข้าวต้มหมูแห้งๆครูดผ่านกระชอน
ระดับ 6 ลักษณะอาหาร ใช้ช้อนส้อมและตะเกียบตักทานได้ อาหารจับตัวกันเป็นก้อน เมื่อใช้ส้อมกดจะแตก
ออกจากกัน ต้องเคี้ยว
ตัวอย่างอาหาร ข้าวต้มแห้งๆผัดกับเนื้อสัตว์สับละเอียด
ระดับ 7 ลักษณะอาหาร อาหารทั่วไปพี่ทานในชีวิตประจำวัน
การเลือกอาหารเป็นวิธีการรักษาอย่างหนึ่งในผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืนลำบาก ในผู้ป่วยรายหนึ่งอาจจะต้องอาศัยหลายวิธีในการช่วยบำบัดฟื้นฟูเพื่อให้กลับมาทานได้อย่างอิสระ หนึ่งในวิธีที่น่าสนใจคือการออกกำลังกายกล้ามเนื้อการกลืน
1.การบริหารริมฝีปากแก้มและเพดานอ่อน
2.การบริหารลิ้น
3.การบริหารเส้นเสียง
3.1 พูดหรือออกเสียงคำว่า อ๊ะ หรืออึ๊บ ประมาณ 5-10 ครั้งนำฝ่ามือสองข้างด้านเข้าหากันพร้อมออกเสียงลากเสียงให้
ยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้
3.2 ออกเสียง อี เริ่มไล่ เสียงจากระดับเสียงต่ำไปหาระดับเสียงสูงที่สุด
4.การบริหารขากรรไกร
สิ่งที่ควรคำนึงสำหรับการบริหารกล้ามเนื้อ
1.ทำท่าละ 15-20 ครั้ง ทำต่อเนื่อง 3-4 รอบ
2.การจัดท่าควรให้ผู้ป่วยปรับเตียงสูง 60 องศา ศีรษะตรง ผู้ป่วยรับรู้สติดี
อ้างอิง
- งานกิจกรรมบำบัดกลุ่มงานเวชศาสตรฟ์ฟื้นฟูกลุ่มภารกิจวิชาการ ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟู สมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติแนวทางปฏิบัติการให้บริการทางกจิกรรมบำบัดสำหรับผู้ที่มีภาวะการกลืนลำบากจากโลกหลอดเลือดสมอง.2554.
- เตือนใจ อัฐวงศ์. คู่มือการปฎิบัติงาน: การบำบัดฟื้นฟูการกลืนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะการกลืนลำบาก.เชียงใหม่:ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยลัยเชียงใหม่.2554
- 2562.ปัญหาภาวการณ์กลืนลำบาก.12,2566,จากเว็บ http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/971/dysphagia
ภัทรา วัฒนพันธุ์. Swallowing Rehabilitation การฟื้นฟูสภาพการกลืน (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2561.
Diet for patients with difficulty swallowing
Difficulty swallowing is a common problem in the elderly and patients with neurological problems such as
Alzheimer’s disease Parkinson’s disease and ischemic or ruptured cerebrovascular disease along with other diseases causing the patients to receive less nutrients until they receive insufficient food to meet the needs of the body, resulting in malnutrition which dysphagia It is a condition that causes swallowing disorders. This causes inability to swallow or difficulty swallowing, having difficulty starting to swallow food. Or having difficulty moving food or liquid from the mouth to the pharynx and esophagus to the stomach may result in other symptoms, such as coughing or choking. To prevent complications, we need to modify the diet to suit each patient. using the swallowing practice criterion The International Dysphagia Diet Standardization Initiative (IDDSI) sets criteria to define the standard of the diet. To have a texture, thick viscosity, the same standard around the world