วิธีลดอาการ เกร็ง แขนและขาในผู้ป่วยstroke
อาการ เกร็ง ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเกิดจากอะไร ทำไมถึงมีอาการ และระดับอาการมีกี่ระดับ แล้วเราจะมีวิธีลดอาการอย่างไรได้บาง
อาการกล้ามเนื้อเกร็ง เป็นความผิดปกติของระบบประสาทสั่งการและเป็นส่วนหนึ่งของ Upper motor neuron syndrome ซึ่งทำให้มีการทำงานของกล้ามเนื้อมากกว่าปกติ โดยไปเพิ่มความไวในการตอบสนองของ Tonic stretch reflexes ทำให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Muscletone) เพิ่มมากขึ้น จากระดับ Brunnstrom พบว่าผู้ป่วยเริ่มมีภาวะกล้ามเนื้อเกร็งเมื่อเข้าสู่ Brunnstrom stage 2 กล้ามเนื้อจะเริ่มมีความตึงตัวมากขึ้น มีการทำงานของกล้ามเนื้อกลุ่มงอ (Flexorsynergy) และกล้ามเนื้อกลุ่มเหยียด (Extensor synergy) โดยส่วนใหญ่จะพบ Flexor synergy มากกว่า โดยเฉพาะแขนและมือ และทำให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบไม่ตั้งใจ
ถ้าผู้ป่วยติดอยู่ในท่าที่ผิดปกติเหล่านี้เป็นระยะเวลานานก็จะส่งผลต่อการผิดรูปของข้อต่อ (Joint deformities) และ ข้อยึดติด (Joint contracture)
การประเมินภาวะอาการเกร็งของกล้ามเนื้อนิยมใช้ Modified Ashworth scale (MAS) โดยมีเกณฑ์คือ
0 หมายถึง ความตึงตัวของกล้ามเนื้อไม่เพิ่มขึ้น
1 หมายถึง ความตึงตัวของมีแรงต้านเฉพาะช่วงสุดท้ายขององศาการเคลื่อนไหว
1+ หมายถึง มีแรงต้านน้อยกว่าครึ่งหนึ่งขององศาการเคลื่อนไหว
2 หมายถึง กล้ามเนื้อมีแรงต้านเบาๆตลอดองศาการเคลื่อนไหว
3 หมายถึง ความตึงตัวของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นมากขึ้นตลอดช่วงจนเคลื่อนไหวข้อได้ยาก
4 หมายถึง ข้อแข็งอยู่ในท่างอหรือเหยียดตลอด
วิธีการรักษาทางกายภาพบำบัด ได้แก่
1.การยืดกล้ามเนื้อ
เป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อเพื่อคงความยาวของกล้ามเนื้อ ซึ่งการออกกำลังกายโดยการยืดกล้ามเนื้อแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การยืดกล้ามเนื้อแบบผู้ช่วยเป็นผู้ออกแรงให้ หรือเรียกว่า passive stretching exercise และ การยืดกล้ามเนื้อแบบผู้ป่วยเป็นผู้ออกแรงเอง หรือเรียกว่า active stretching exercise โดยจะให้เทคนิคการยืดกล้ามเนื้อแบบคงค้าง หรือเรียกว่า prolonged muscle stretching technique
2.การจัดแขนขาให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม
3.การรักษาโดยใช้ความร้อน และความเย็น ความร้อนสามารถใช้ ultrasound, paraffin, fluidotherapy, superficial heat หรือwhirlpool ความเย็น เช่น quick icing technique, prolonged cooling หรือ evaporating spray
4.การกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า
การใช้ TENS (Transcutaneous Electrical Nerve Stimulation) การใช้ FES (Functional Electrical Stimulation) ยังสามารถช่วยลดอาการได้โดยการกระตุ้น antagonist muscle
5.การใช้อุปกรณ์ดาม
อุปกรณ์ดามมีหลายแบบ เช่น dorsal hand splint, conical/roll hand splint, anti-spastic/stretching splint และsoft splint
Reference:
จารุวรรณ กิตติวราวุฒิ. (2561). การลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง. บูรพาเวชสาร. 5(2): 131-139.
พนินทร กองเกตุใหญ่, ธนิน นุตรทัต, ศิรประภา ลิ้มประเสริฐ และสุพิชชา สายสิทธิ์. (2563). อุปกรณ์ดามสำหรับผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งจากโรคหลอดเลือดสมอง. เวชบันทึกศิริราช. 13(4): 272-278.
How to reduce the spasticity of arms and legs in stroke patients
What causes spasticity in a stroke patient? Why do you have symptoms? and how many levels of symptoms Then how can we have some ways to reduce symptoms?
muscle spasms It is a disorder of the motor nervous system and part of the upper motor neuron syndrome, which causes more muscle activity. By increasing the sensitivity of the Tonic stretch reflexes, causing the muscle tension (Muscletone) to increase. From the Brunnstrom level, it was found that the patient began to have muscle spasm when entering Brunnstrom stage 2, the muscles will begin to have muscle spasms. more tight The work of the flexor muscle group Flexor synergy and extensor synergy are more common, especially the arms and hands. and cause involuntary movement
If the patient is stuck in these abnormal positions for an extended period of time, it can lead to joint deformities and joint contractures.
The Modified Ashworth scale (MAS) is used to assess muscle spasms with the following criteria:
0 means there is no increase in muscle tension.
1 means the tension of the resistance only at the end of the range of motion
1+ means resistance is less than half the degree of motion.
2 means the muscle has light resistance throughout the range of motion.
3 means that the tightness of the muscles increases throughout the range and makes it difficult to move the joints.
4 means that the joint is always in a bent or stretched position.