อาการ เข่าแอ่น เกิดจากอะไร? เดิน เข่าแอ่น แก้ได้ไหม? ที่พยุงไหล่ต้องใส่ตลอดเวลาไหม ? ถาม-ตอบ กับ ReBRAIN เดินกับไม้เท้า!! ต้องเดินยังไง
เข่าแอ่น เดินกับไม้เท้า ต้องเดินยังไง ข้างอ่อนแรงก้าวไปก่อนหรือข้างมีแรงก่อน? อาการเข่าแอ่นเกิดจากอะไร? เดินเข่าแอ่นแก้ได้ไหม? และที่พยุงหัวไหล่ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองต้องใส่ตลอดเวลาไหม? วันนี้ทางReBRAIN จะมาตอบคำถามเคลียร์ทุกข้อสงสัยกันครับ
เดินกับไม้เท้า!! ต้องเดินยังไง?? : สำหรับการฝึกเดินในคนไข้หลอดเลือดสมองเพื่อความปลอดภัยในการเดินจะให้เดินกับไม้เท้า โดยให้ก้าวขาข้างอ่อนแรงเดินนำไปก่อน สำหรับในบางครั้งของการฝึกเดินอาจจะเดินโดยเอาขาข้างมีแรงเดินนำไปก่อนเพื่อจะกระตุ้นให้ขาข้างอ่อนแรงรับน้ำหนักในการยืนให้ได้มากขึ้น แต่ความมั่นใจและความปลอดภัยของผู้ป่วยจะลดลง
อาการเดินเข่าแอ่นเกิดจากอะไร?? : อาการเข่าแอ่น เป็นความผิดปกติที่จะเกิดขึ้นได้ในการเดิน ซึ่งสาเหตุของการเกิดเข่าแอ่นมีดังนี้
1.เข่าแอ่นตั้งแต่ก่อนป่วยเกิดจากโครงสร้างของร่างกายบริเวณข้อเข่ามีความผิดปกติอยู่แล้ว
2.เข่าแอ่นหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากการฝึกยืนหรือเดินที่ผิดตั้งแต่แรกและออกแรงในการยืนหรือเดินที่พยายามจะให้เข่าเหยียดจนมากเกินไป จนทำให้เอ็นกล้ามเนื้อหลังข้อเข่าเริ่มยืดออก เข่าจะเริ่มแอ่นมากขึ้นจนแอ่นเหยียดในที่สุด นอกจากนี้ยังส่งผลให้การใช้งานกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและกล้ามเนื้อก้นลดลง จนถึงไม่ได้ใช้งานเลย ทำให้เวลายืนหรือเดิน การรับน้ำหนักของขาจะไปลงที่ข้อเข่าแทน อาจก่อให้เกิดอาการปวดเข่าตามมาได้
เดินเข่าแอ่นแก้ได้ไหม?? : สามารถแก้ได้ในช่วงแรกของการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง โดยต้องเริ่มจากฝึกการควบคุมการลงน้ำหนักในท่ายืน กระตุ้นให้ขณะยืนถ่ายน้ำหนักลงขาข้างอ่อนแรงให้ยืดตัวตรงและดึงสะโพกมาด้านหน้าจะช่วยควบคุมให้อาการเข่าแอ่นลดลงได้
คนไข้ที่เป็นเข่าแอ่นมานานแล้วจากโรคหลอดเลือดสมองสามารถแก้อาการเข่าแอ่นได้ แต่จะค่อนข้างยากเนื่องจากสมองเราจะเริ่มจดจำการยืนและเดินเข่าแอ่นไปแล้ว แต่ยังพอสามารถรักษาได้ โดยเริ่มจากการฝึกยืนลงน้ำหนักขาใหม่ เริ่มจากการฝึกควบคุมการลงน้ำหนักขาโดยให้ยืนถ่ายน้ำหนักลงขาข้างที่อ่อนแรง ขณะยืนลงน้ำหนักต้องควบคุมแรงให้เข่าเหยียดแต่พอดี ออกแรงควบคุมกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและกล้ามเนื้อก้นให้พอดี ยืดตัวตรงร่วมกับดึงสะโพกมาด้านหน้า ไม่ให้เข่าแอ่นไปด้านหลังหรือล็อค ร่วมกับจัดท่าทางของร่างกายให้เหมาะสมก่อนการฝึกยืนถ่ายน้ำหนักด้วย และสิ่งที่สำคัญคือต้องให้คำสั่งกับตัวเองว่า “ยืดตัวตรง ดึงสะโพกมาด้านหน้าร่วมกับคุมแรงไม่ให้เข่าเหยียดมากไป” นอกจากนี้ต้องออกกำลังกายควบคุมกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการเหยียดเข่าให้เหมาะสมด้วย
ท่าออกกำลังกายสำหรับควบคุมการเหยียดเข่าป้องกันเข่าแอ่น ได้แก่
– ท่าเตะขาขึ้นตรง โดยท่านี้จะให้ผู้ป่วยเตะขาขึ้นตรงๆ อย่างช้าๆ จากนั้นค่อยๆผ่อนขาลง ขณะเตะขาขึ้นจะไม่เตะให้ขาสะบัดขึ้นตรงๆ หรือออกแรงเตะขาขึ้นจนเหยียดมากจนเกินไป ถ้าออกแรงเตะขาขึ้นตรงมากจนเกินไป แสดงว่าออกแรงกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้ามากเกินไป ถ้าเริ่มสามารถคุมแรงการเตะขาขึ้นตรงได้ดีแล้ว อาจจะใช้ถุงทรายในการเพิ่มน้ำหนักให้ออกแรงควบคุมให้ยากขึ้น
– ท่ายกก้น จะเป็นท่าที่ควบคุมการออกแรงของกล้ามเนื้อสะโพกหรือก้นให้เหมาะสม โดยสามารถทำได้ 2 แบบ คือ
1. ให้ชันเข่าทั้งสองข้างขึ้นแล้วยกก้นให้ลอยขึ้นออกแรงเกร็งที่ก้นไม่ออกแรงเกร็งที่หลัง
2.ให้นอนเฉียง จากนั้นเอาขาข้างออกแรงปล่อยตกมาข้างเตียงโดยมีเก้าอี้เตี้ยมายันที่เท้าไว้ จากนั้นค่อยๆยกก้นขึ้นจนลอย ออกแรงกดลงที่เท้า ขณะทำจะต้องรู้สึกเกร็งที่ก้นไม่ออกแรงเกร็งที่กล้ามเนื้อหลัง โดยเน้นให้ยกค้างไว้เพื่อควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อก้นและขณะทำจะต้องไม่แอ่นก้นจนมากเกินไป
สำหรับการฝึกจากท่านั่งไปลุกยืน ในท่านี้เวลาลุกขึ้นมายืนจะต้องพยายามควบคุมลำตัวให้ยืดสูงและตรง ออกแรงกล้ามเนื้อก้นหรือสะโพกให้ไปทางด้านหน้า ไม่พยายามเกร็งเข่า ดันเข่า ดีดเข่าหรือถีบขาขณะจะยืน ถ้าเกร็งในบริเวณดังกล่าวกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าจะออกแรงมากไปจะส่งผลทำให้เกิดอาการเข่าแอ่นตามมาได้
ส่วนการเดิน ขณะเดินก้าวขาลงน้ำหนักขาข้างอ่อนแรงจะต้องคุมแรงให้ถูกต้อง จะต้องยืดตัวตรงร่วมกับดึงสะโพกมาด้านหน้า อย่าใช้แรงในการสั่งให้เหยียดเข่าขณะเดินลงน้ำหนักขาข้างอ่อนแรง เพราะถ้ายิ่งออกแรงสั่งให้เหยียดเข่าขณะเดินลงน้ำหนักขาข้างที่อ่อนแรง จะยิ่งกระตุ้นทำให้กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าออกแรงมากจนเกินไป ส่งผลทำให้เกิดอาการเข่าแอ่นได้
ที่พยุงไหล่ต้องใส่ตลอดเวลาไหม??? : ไม่จำเป็นต้องใส่ตลอดเวลา จะใส่เฉพาะช่วงนั่ง ยืนหรือเดิน เพื่อป้องกันเอ็นหัวไหล่บาดเจ็บ จากการที่หัวไหล่ถูกดึงจากแรงโน้มถ่วงของโลกขณะอยู่ท่านั่ง ยืนหรือเดิน ส่วนการนอนไม่ต้องใส่ แต่ให้เน้นการจัดท่าทางให้เหมาะสม ซึ่งการจัดท่าทางให้เหมาะสมในขณะทำกิจกรรมต่างๆ จะช่วยทำให้ลดอาการบาดเจ็บของหัวไหล่ได้ดีกว่าการใส่ที่พยุงไหล่
สรุป การฝึกเดินในคนไข้หลอดเลือดสมองกับไม้เท้า จะเดินขาข้างอ่อนแรงนำไปก่อน เพื่อความปลอดภัยในการเดิน สำหรับเรื่องอาการเข่าแอ่นในผู้ป่วยสามารถแก้ได้ไหม คำตอบคือสามารถแก้ได้ ถ้าพึ่งเริ่มมีอาการเข่าแอ่นจากโรคหลอดเลือดสมองจะสามารถแก้ได้ง่ายกว่า โดยต้องฝึกการควบคุมการลงน้ำหนักในท่ายืนและเดิน กระตุ้นให้ขณะยืนถ่ายน้ำหนักลงขาข้างอ่อนแรงให้ยืดตัวตรงและดึงสะโพกมาด้านหน้าจะช่วยควบคุมให้อาการเข่าแอ่นลดลง และคำถามสุดท้าย ที่พยุงไหล่ต้องใส่ตลอดเวลาไหม คำตอบคือ ใส่เฉพาะนั่ง ยืนเดิน แต่สิ่งที่สำคัญคือ การจัดท่าจะช่วยลดอาการบาดเจ็บได้ดีกว่าการใส่ที่พยุงไหล่
Bent knees, walk with a cane how to walk Is the weak side going first or the strong side first? What causes knee bends?
Can walking knees be healed? And the shoulder support in cerebrovascular patients must be worn all the time? Today via ReBRAIN I will answer all questions and clear all my doubts.
Walking with a cane!! How should I walk?? : For walking training in cerebrovascular patients, for safe walking, walk with a cane. By letting the weak leg step lead first For some time in the practice of walking, it may be possible to walk with the side leg that has the strength to walk first in order to encourage the weak leg to support more weight in standing. But the patient’s confidence and safety will be reduced.
What is the cause of the stooped knee? : knee bend It is an abnormality that can occur in walking. The causes of knee bends are as follows:
1. Knee bends since before sickness is caused by the structure of the body around the knee joint that is already abnormal.
2. Knee bends after a stroke This is caused by improper standing or walking training in the first place and exerting too much force in standing or walking trying to stretch your knees too much. until the tendons behind the knee joints begin to stretch The knee will begin to bend more and more until it finally stretches. It also results in decreased use of the front thigh muscles and the buttock muscles. so far not in use make time to stand or walk The weight of the leg goes down to the knee instead. may cause knee pain
เอกสารอ้างอิง
1. ReBRAIN กายภาพบำบัด, EP7 เดินกับไม้เท้า!! ต้องเดินยังไง?/ถาม-ตอบกับReBRAIN. 2021. แหล่งที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=foTPBfZdGME&t=213s ค้นเมื่อ 5 มกราคม, 2565.
2. ReBRAIN กายภาพบำบัด, EP1-4 เข่าล็อค!! เข่าแอ่น!! เดินไม่สวย!! ฝึกไปด้วยกันกับReBRAIN. 2021. แหล่งที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=vLAuqjadcoA ค้นเมื่อ 5 มกราคม, 2565.