เครื่องอัลตราซาวด์ ในการรักษาทางกายภาพบำบัด
หลายๆคนอาจมีความสนใจใน เครื่องอัลตราซาวด์ ที่นักกายภาพบำบัดใช้เป็นเครื่องมือในการรักษา ว่าเครื่องนี้มันช่วยอะไรมีประโยชน์ยังไงและใช้ยังไง เราจะสามารถซื้อเครื่องนี้มาใช้ด้วยตัวเองได้ไหม ใช้อย่างอื่นแทนเจลอัลตราซาวด์ได้หรือเปล่าบทความนี้จะมาตอบข้อสงสัยเหล่านี้ก่อนที่จะรู้ว่ากลไกเป็นยังไงเรามารู้จักกับอุปกรณ์กันก่อน
- ตัวเครื่องอัลตราซาวด์: เป็นตัวสร้างสัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงแล้วส่งผ่านสัญญาณไปยัง head sound เพื่อเปลี่ยนเป็นสัญญาณความถี่สูง
- head sound: มีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงเป็นคลื่นเสียงความถี่สูง คลื่นจากอัลตราซาวน์จะส่งผ่านไปผิวหนังโดยมีตัวกลางระหว่างโลหะกับเนื้อเยื่อ หากตัวกลางระหว่างผิวหนังกับโลหะหรือเจล อัลตราซาวด์ที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่มีเจลอัลตราซาวด์ขณะซาวด์อาจทำให้เกิดอาการคันยิบๆหรือร้อนแสบได้
หากไม่มีเจลอัลตราซาวน์เราสามารถใช้น้ำเป็นตัวกลางแทนได้โดยการใช้เครื่องอัลตราซาวด์ที่สามารถเอา head sound จุ่มน้ำได้มาใช้ จากนั้นเอาบริเวณที่ต้องการใช้เครื่องมือจุ่มลงไปในน้ำให้ตั้งฉากกับหัวซาวด์ โดยที่ไม่ให้หัวซาวด์มาสัมผัสกับผิวหนัง
ประโยชน์ของคลื่นอัลตราซาวด์
– ผลทางความร้อน : คลื่นอัลตราซาวด์ช่วยในการรักษาเนื้อเยื่อชั้นลึกได้ถึง 5 เซนติเมตรหรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับการดูดซับคลื่นในเนื้อเยื่อ
– ผลที่ไม่ใช่ความร้อน : ผลทางสรีระวิทยาโดยมีการเพิ่มการยอมให้ผ่านของผนังเซลล์ เกิดการแลกเปลี่ยนของเสียและออกซิเจนในเนื้อเยื่อ, เพิ่มอัตราการสังเคราะห์โปรตีน, เพิ่มการสังเคราะห์คอลลาเจน และ เพิ่มการงอกเจริญของหลอดเลือด
ผลทางสรีระวิทยา
- ในระยะการอักเสบ : มีผลทำให้เกิดการเร่งกระบวนการซ่อมสร้างและลดช่วงเวลาการดำเนินของระยะการอักเสบลง
- ระยะการสร้างตัว (proliferative phase) : ช่วยกระตุ้นการหลั่ง growth factor ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อและสนับสนุนการเจริญของหลอดเลือด
- ระยะการสร้างรูปใหม่ (remodeling phase) : การปรับคลื่นอัลตราซาวน์ได้ถูกต้องกับสภาพเนื้อเยื่อที่ได้รับอันตรายจะช่วยการปรับปรุงคุณสมบัติเชิงซ้อนและรอยแผลเป็นที่เกิดขึ้นซึ่งจะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อได้รับการรักษาตั้งแต่ช่วง proliferative phase, inflammation phase
- ผลการลดปวด : เนื่องจากความร้อนของคลื่นจะลงไปในในเนื้อเยื่อทำให้การตอบสนองของตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดเปลี่ยนแปลงไปจึงทำให้ปวดน้อยลง
วิธีใช้
กลไกที่ใช้ในคลื่นอัลตราซาวด์ได้แก่
- อัตราที่ใช้พลังงานความร้อนและระยะเวลาที่ให้คลื่นอัลตราซาวด์แก่เนื้อเยื่อ : ควมคุมโดยความเข้ม(intensity) ของอัลตราซาวด์ หากความเข้มต่ำเกินไปจะไม่สามารถทำให้อุณหภูมิเนื้อเยื่อขึ้นไปถึงอุณหภูมิที่ใช้ในการรักษา แต่ถ้าให้ความเข้มที่สูงเกินไปก็มีโอกาสเกิดอันตรายแก่เนื้อเยื่อโดยเฉพาะบริเวณรอยต่อของเนื้อเยื่อกับกระดูก
- การนำความร้อนของเนื้อเยื่อ : กระดูกมีค่าการดูดซับคลื่นสูงที่สุดแต่ความร้อนจะไม่ได้สูงกว่าส่วนอื่นมากนักเนื่องจากมีการกระจายความร้อนสู่เนื้อเยื่อรอบๆอย่างรวดเร็ว
- อัตราการแพร่กระจายของเลือดในเนื้อเยื่อ : หากเนื้อเยื่อมีความผิดปกติเรื่องระบบไหลเวียนเลือด จะเสี่ยงต่อการเกิดความร้อนมากกว่าบริเวณปกติ เช่น เอ็นกล้ามเนื้อจะมีเลือดมาเลี้ยงน้อยกว่ากล้ามเนื้อแปลว่ามีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายที่เอ็นกล้ามเนื้อมากกว่า
ข้อบ่งชี้ในการใช้คลื่นอัลตราซาวด์
- Stimulation of tissue repair : การกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อในกลุ่มอาการอักเสบแบบเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลันจากกล้ามเนื้อฉีกขาด กล้ามเนื้ออักเสบ กลุ่มอาการดังกล่าวจะตอบสนองได้ดี
- Heat and stretch indicated : การใช้ผลจากความร้อนเพื่อยืดคลายกล้ามเนื้อ ในกลุ่มที่มีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อทั้งมีและไม่มีอาการปวดร่วมด้วย แผลเป็น อาการเหล่านี้มักจะตอบสนองได้ดีในอัลตราซาวด์ความเข้มสูง
ข้อห้ามใช้
- บริเวณใกล้กับการที่มีความเจริญเติบโตผิดปกติเช่น เนื้องอก มะเร็ง เนื้อเยื่อร่างกายที่ได้รับการฉายรังสี
- บริเวณที่มีอาการปวดแต่ไม่ทราบสาเหตุว่ามาจากอะไร
- ผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษาโดยการฝังพลาสติก
- บริเวณหลังส่วนล่างของสตรีมีครรภ์
- บริเวณตัวเพิ่มความยาวของกระดูกในเด็ก
- บริเวณเบ้าตา
- บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
- ไม่ใช้บริเวณใกล้เคียงกับเครื่องกระตุ้นหัวใจ
- ผู้ที่มีภาวะลิ่มเลือด
- ไม่รักษาด้วยผลความร้อนในผู้ที่พึ่งได้รับการบาดเจ็บ
คลื่นอัลตราซาวด์เหมาะกับการใช้งานในผู้ป่วยที่มีปัญหาของกล้ามเนื้ออักเสบ และกล้ามเนื้อเกร็งตัว ตัวเครื่องแต่ละยี่ห้อมีความแตกต่างกันแต่หากมีพื้นฐานและความเข้าใจเรื่องการตั้งค่าเครื่องมือก็จะสามารถปรับใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือรุ่นไหน ผู้ป่วยสามารถซื้อมาใช้เองได้โดยระมัดระวังตามข้อห้ามข้อควรระวังที่อธิบายไว้ข้างต้น อย่างไรก็ตามเครื่องอัลตราซาวด์จะไม่สามารถนำไปใช้ให้กับผู้อื่นได้นอกจากใช้กับตัวเองเนื่องจากข้อกำหนดทางกฎหมายใบประกอบวิชาชีพ
เอกสารอ้างอิง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กภ.ภครตี ชัยวัฒน์และคณะ(2561). Electrotherapy and Thermotherapy.การเลือกใช้เทคนิคการรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์.คณะกายภาพบำบัดมหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กภ.ภครตี ชัยวัฒน์และคณะ(2561). Electrotherapy and Thermotherapy.ข้อบ่งชี้ ข้อควรระวัง ข้อห้ามในการใช้คลื่นอัลตราซาวด์.คณะกายภาพบำบัดมหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กภ.ภครตี ชัยวัฒน์และคณะ(2561). Electrotherapy and Thermotherapy.Theraputic effect of ultrasound. คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
ultrasound machine in physical therapy treatment
Many people may be interested in ultrasound machine that physical therapists use as a treatment tool that this machine is helpful, how it is useful and how to use it Can we buy this machine and use it ourselves? Can I use something else instead of ultrasound gel? This article will answer these questions. Before knowing what the mechanism is, let’s get to know the device first.