รู้หรือไม่ทำไมผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจึงมีอาการ เท้าตก (Foot-drop)

รู้หรือไม่ทำไมผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจึงมีอาการ เท้าตก (Foot-drop)

อาการ เท้าตก ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้น สงสัยกันหรือไม่ว่าทำไมผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลายๆคนถึงมีท่าเดินที่ผิดเเปลกไปจากปกติ ซึ่งหนึ่งในความผิดปกติที่มักพบได้บ่อย คือ ภาวะปลายเท้าตกนั่นเอง ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลต่อการเดินของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ในผู้ป่วยบางคนจะรู้สึกว่าตัวเองขาสั้นยาวไม่เท่ากันขณะเดิน เสี่ยงต่อการสะดุดล้มได้มากขึ้น จึงเป็นปัญหาที่เราไม่ควรมองข้าม ในที่นี้ผู้ป่วยหลายคนยังไม่ทราบว่าปัญหานี้ มีสาเหตุมาจากอะไร ไม่รู้วิธีการป้องกันและวิธีการรักษาที่เหมาะสม วันนี้เราจึงจะมาพูดกันถึงเรื่องภาวะปลายเท้าตก แต่ก่อนอื่นเราจะมารู้จักกับโรคหลอดเลือดสมองกันก่อน

ปกติรอยโรคของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ การทําหน้าที่ การรู้คิด และเมื่อเจ็บป่วยเป็นระยะเวลานาน ร่างกายขาดการเคลื่อนไหวมักจะทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา รวมไปถึงปัญหาเช่น แผลกดทับ ข้อติดยึดแข็ง กล้ามเนื้อฝ่อลีบ และอีกหนึ่งปัญหาที่จะทำให้เกิดนั่นก็คือภาวะปลายเท้าตก

ภาวะปลายเท้าตก (Foot drop) ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อ บริเวณหน้าแข้ง(Tibialis Anterior) ไม่หดตัวในจังหวะการก้าวเดินและกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่กระดกข้อเท้าขึ้น มีการอ่อนแรง มากกว่ากล้ามเนื้อที่กระดกข้อเท้าลง ร่วมกับเบื้องต้นมีการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อร่วมด้วยทำให้ก้าวไม่พ้นพื้นในช่วงที่ผู้ป่วยยกขาจะก้าวไปทางด้านหน้า(Swing phase) ผู้ป่วยต้องเหวี่ยงขาและยันสะโพกขึ้นแทนการก้าวไปตรงๆ ทำให้มี การเคลื่อนไหวลำบาก และมีความผิดปกติในการเดิน ผู้ป่วยจึงต้องการการรักษาตลอดจนการดูแลและการฝึกฝนทักษะการเคลื่อนไหวต่างๆที่เหมาะสม จึงจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับสู่สภาวะที่ใกล้เคียงปกติและช่วยเหลือตัวเองได้มากที่สุด ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะสูญเสียสมรรถภาพไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนและใช้อุปกรณ์ครื่องช่วยในการฟื้นฟูระบบประสาทสั่งการและกล้ามเนื้อเพื่อให้ สามารถดำรงชีวิตได้ใกล้เคียงปกติที่สุดและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นตามมา หากมีอาการกระดกข้อเท้าไม่ขึ้น ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพื่อป้องกันระดับอาการที่รุนแรงตามมา วิธีการรักษาคือกายภาพบำบัด เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นมากขึ้น และช่วยให้มีโอกาสกลับมากระดกข้อเท้าได้ดีขึ้น

วิธีกายภาพบำบัด ได้แก่

– ยืดเหยียดเอ็นร้อยหวาย

– ยืดเหยียดกล้ามเนื้อน่อง เพื่อลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อน่องที่อาจเกิดการหดรั้งและเป็นส่วนที่

ส่งผลทำให้กระดกข้อเท้าขึ้นได้ยาก

– ออกกำลังกายเกร็งกล้ามเนื้อด้านหน้าขา เนื่องจากเป็นกล้ามเนื้อที่ช่วยในการกระดกข้อเท้า ถ้า

ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายจนมีแรงมากเพียงพอ จะทำให้สามารถกระดกข้อเท้าได้มากขึ้น

ผลของการรักษาขึ้นอยู่กับระดับอาการ หากไม่รุนแรงมากสามารถฟื้นตัวกลับมาได้ แต่ถ้าหากไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ จะช่วยให้กล้ามเนื้อมีแรงมากขึ้น และมีโอกาสกลับมากระดกข้อเท้าได้ดีขึ้น

 

Physical therapy methods include:

– Stretching the Achilles tendon

– Stretching the calf muscles To reduce the tightness of the calf muscles that may cause contraction and is the part.

As a result, it is difficult to tilt the ankle up.

– Exercise the muscles in the front of the legs. Because it is a muscle that helps in tilting the ankle if

Patients can exercise until they have enough strength. Will make it possible to tilt the ankle more

The outcome of treatment depends on the level of symptoms. If not very severe can be recovered. but if unable to recover It will help the muscles have more strength. And have a better chance of coming back to tilting the ankle

 

แหล่งอ้างอิง

  • อังคณา พรประไพ.การพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือด จังหวัดชัยภูมิ.วารสารวิชาการสาธารณาสุข.2558;24(5):921-926
  • ปรเมษฐ์ ฉายารัตนศิลป์,ศิวพร วงศ์พิพัฒน์,วารี จิรอดิศัย. การศึกษานำร่องเพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการเดินเมื่อใส่ไม่ใส่เครื่องกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้าขณะเดิน “เครื่องเดินดี”ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปลายเท้าตก.เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร.2558;25(2):53-59

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top