แนวทางการดูแล ฟื้นฟู ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน
เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลจนอาการคงที่แล้ว หลายคนอาจยังคงหลงเหลือความผิดปกติทางระบบประสาทอยู่บ้าง เช่น ปัญหาการเคลื่อนไหว การช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน การรับประทานอาหาร รวมไปถึงการสื่อสาร จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมทั้งตัวผู้ป่วยเอง ผู้ดูแล รวมถึงสภาพแวดล้อมภายในบ้านหรือที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม ในผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษหรือต้องทำกายภาพบำบัดเพื่อเป็นการ ฟื้นฟู รวมถึงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ รวมถึงไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก เรามาดูกันว่าการ ฟื้นฟูที่บ้านต้องทำยังไงบ้าง
การ ฟื้นฟู ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน
- คำแนะนำโรค เพื่อทำความเข้าใจถึงระยะเวลาที่ผู้ป่วยจะมีโอกาสดีขึ้น และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้โรคกลับมาเป็นซ้ำ เช่น ควรรับประทานยาที่แพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง ทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส การควบคุมอาหารหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด และไขมันสูง
- การสังเกตอาการผิดปกติของผู้ป่วย ได้แก่ อาการปวดศรีษะ เวียนศรีษะ อาการอ่อนแรงมากขึ้น พูดไม่ชัด ความดันโลหิตสูงหรือต่ำกว่าปกติ หายใจเร็ว ซึม หมดสติเป็นลม หากผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์
- การจัดท่าทางการนอน เพื่อป้องกันแผลกดทับ โดยการพลิกตะแคงตัวหรือนอนหงายทุกๆ 2 ชั่วโมง
- การออกกำลังกายเคลื่อนไหวข้อต่อ ภายใต้การสอนของพยาบาลหรือนักกายภาพบำบัด
- การฟื้นฟูผู้ป่วยด้วยทักษะพิเศษ เช่น การทำกายภาพบำบัดเองที่บ้าน โดยอยู่ภายใต้การสอนของนักกายภาพบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย
- ฝึกการเคลื่อนไหวตัวบนเตียง เช่น พลิกตะแคง ลุกขึ้นนั่งข้างเตียง เป็นต้น
- ฝึกการลุกนั่ง การทรงตัวในท่านั่ง
- ฝึกการยืนให้มั่นคงและปลอดภัย ไม่ทรุด ไม่เซ
- ฝึกเดินด้วยอุปกรณ์กับนักกายภาพบำบัด หรือเดินด้วยตนเองกับอุปกรณ์
- ฝึกการเดินในรูปแบบใกล้เคียงปกติ
- ฝึกการช่วยเหลือตนเองภายในบ้านหรือภายนอกบ้านให้ปลอดภัย
- ฝึกการเคลื่อนไหวแขน การใช้แขนข้างอ่อนแรง ออกกำลังกายแขนข้างอ่อนแรง
- ฝึกการใช้แขนทำกิจกรรมในชีวิตประจำ เช่น การรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หยิบจับสิ่งของ
สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่ได้รับการรักษาแล้ว ควรป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หรือกลับมาเป็นซ้ำ เนื่องจากอาจมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ดังนั้นควรได้รับความรู้และแนวทางวิธีการรักษา ฟื้นฟู ที่ถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และมีความเหมาะสมกับปัญหาของผู้ป่วย เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย
อ้างอิง
- www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/การเตรียม-ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง-ก่อนกลับบ้าน
- rehab.redcross.or.th/การดูแลผู้ป่วยโรคหลอด
Guidelines for rehabilitation care for stroke patients at home
When the patient receives treatment from the hospital until his condition is stable. Many people may still have some residual neurological abnormalities, such as movement problems. Self-help in daily life Eating Including communication Therefore, it is necessary to prepare both the patient, the caregiver, and the home or living environment appropriately. In some patients, special care or physical therapy is required for rehabilitation. including prevention of various complications Including not coming back again. Let’s see what to do to restore it at home.
Rehabilitation of stroke patients at home
Disease recommendations to understand how long it will take for the patient to have a chance of getting better And in order to prevent the disease from coming back again, for example, you should take medicine prescribed by the doctor continuously. Do physical therapy regularly Make your mind cheerful and clear. Controlling your diet or avoiding foods that are extremely sweet, salty, and high in fat.
Observing abnormal symptoms of the patient includes headaches, dizziness, increased weakness, slurred speech, high blood pressure or lower than normal, rapid breathing, lethargy, loss of consciousness, fainting. If the patient has these symptoms, they should see a doctor immediately.
Sleeping posture To prevent pressure sores By turning on your side or lying on your back every 2 hours.
joint movement exercises Under the teaching of a nurse or physical therapist.
Rehabilitating patients with special skills such as physical therapy at home It is under the teaching of a physical therapist so that patients can help themselves in daily life with stability and safety.
Practice moving in bed, such as turning on your side, sitting up on the side of the bed, etc.
Practice sitting up Balance in a sitting position
Practice standing firmly and safely, not slumping, not staggering.
Practice walking with the equipment with a physical therapist. or walk manually with equipment
Practice walking in a pattern that is close to normal.
Practice self-help inside or outside the house to be safe.
Practice arm movement Weak use of the arm Exercise for weak arm
Practice using your arms for everyday activities such as eating, drinking, and picking up objects.