แผลกดทับ ภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยstrokeที่ไม่ควรมองข้าม

แผลกดทับ ภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยstrokeที่ไม่ควรมองข้าม

ภาวะ แผลกดทับ เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่มักพบในผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุ รวมไปถึงผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีการขยับเขยื้อนร่างกายได้น้อยหรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่บนเตียงในลักษณะท่าทางเดิมเป็นระยะเวลานาน ซึ่งอาจก่อให้เกิด แผลกดทับ หรือปัญหาต่าง ๆ ตามมาได้ ซึ่งหากเกิดภาวะแผลกดทับขึ้นอาจจะส่งผลให้เกิดภาวะแผลติดเชื้อ และอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ เรามาทำความเข้าใจไปพร้อมๆกันว่า ภาวะแผลกดทับเกิดขึ้นได้อย่างไร หากยังไม่เป็นสามารถป้องกันได้หรือไม่ แล้วถ้าหากเป็นแล้วมีวิธีการรักษาได้อย่างไรบ้าง

แผลกดทับเกิดจากผิวหนังที่ถูกกดทับเป็นเวลานาน ทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบขาดเลือดและสารอาหารมาเลี้ยง ส่งผลให้เนื้อเยื่อหรือผิวหนังตายและเกิดเป็นแผลกดทับตามมาซึ่งแผลกดทับนั้นมักเกิดบริเวณปุ่มกระดูก เช่น สะโพก ก้นกบ ตาตุ่ม ส้นเท้า เป็นต้น โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลกดทับแบ่งออกได้เป็น 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ แรงกด แรงเฉือนและแรงเสียดสี ส่วนปัจจัยภายใน เช่น การไม่เคลื่อนไหว ( Immobility ) การสูญเสียการรับรู้ความรู้สึก ( loss sense ) และทุพโภชนาการ เป็นต้น ถึงตรงนี้แล้วเราพอจะเข้าใจแล้วใช่ไหมครับว่าแผลกดทับนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร มีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง และต่อไปเรามาทำความรู้จักระดับความรุนแรงของแผลกดทับกันครับ

ระดับความรุนแรงของแผลกดทับ มีทั้งหมด 4 ระดับ ดังนี้

ระดับ 1 : ผิวหนังมีรอยแดงช้ำ มักอยู่บริเวณตามปุ่มกระดูก เช่น ก้นกบหรือตาตุ่ม

ระดับ 2 : มีลักษณะแผลเปิดตื้นออกสีชมพู หรือ เห็นเป็นลักษณะถุงน้ำนูนขึ้นมา

ระดับ 3 : เป็นแผลลึก ก้นแผลจะมองเห็นชั้นไขมันและอาจจะมีเนื้อตายปกคลุมเป็นขอบสีดำคล้ำ

ระดับ 4 : ลักษณะเป็นแผลโพรงลึกจนสามารถมองเห็นชั้นกล้ามเนื้อ เอ็น หรือกระดูกได้และอาจจะมีเนื้อตายปกคลุมบริเวณขอบแผล

การเกิดแผลกดทับอาจะมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาหากเรามีการดูแลรักษาที่ไม่ถูกวิธี เช่น ข้ออักเสบติดเชื้อ แผลเป็นหนอง และอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งการรักษาแผลกดทับใช้ระยะเวลานานและมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นการป้องกันการเกิดแผลกดทับจึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว วันนี้เราจึงนำวิธีการป้องกันแผลกดทับง่าย ๆ มาให้เรียนรู้ไปพร้อมกันครับ

ซึ่งวิธีการป้องกันแผลกดทับวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือการจัดท่านอนและการเปลี่ยนท่านอนบ่อย ๆ ครับ โดยเปลี่ยนท่านอนทุก ๆ 2 ชั่วโมง

  • ท่าแรกจัดท่านอนหงายนำหมอนมารองบริเวณท้ายทอย 0 – 30 องศา นำผ้าขนหนูหรือหมอนใบเล็กมารองบริเวณปุ่มกระดูก ส่วนปลายเท้าใช้ผ้าขนหนูหรือถุงมือใส่น้ำรองด้านข้างส้นเท้าทั้ง 2 ข้าง
  • ท่าที่สองท่านอนตะแคงทับข้างอ่อนแรง จัดศีรษะในแนวตรงโน้มไปทางด้านหน้าเล็กน้อย นำหมอนมาหนุนหลังให้ลำตัวอยู่ในแนวตรง แขนข้างอ่อนแรงจัดสะบักและข้อไหล่ยื่นไปทางด้านหน้าเหยียดศอกและหงายมือออก ส่วนขาข้างอ่อนแรงให้เหยียดขาเข่างอเล็กน้อย ส่วนขาข้างแข็งแรงนำหมอนมารองบริเวณสะโพกถึงปลายเท้างอเข่างอสะโพกเล็กน้อยในลักษณะกอดหมอนข้าง
  • ท่านอนตะแคงทับข้างที่แข็งแรง จัดศีรษะในแนวตรงโน้มไปทางด้านหน้าเล็กน้อย นำหมอนมาหนุนหลังให้ลำตัวอยู่ในแนวตรง แขนข้างอ่อนแรงให้นำหมอนรองใต้แขนบริเวณต้นแขนจนถึงปลายแขน ยื่นแขนไปข้างหน้า เหยียดศอกหงายมือนิ้วมือเหยียดออก สะโพกและเข่าข้างอ่อนแรงให้นำหมอนรองบริเวณสะโพกถึงปลายเท้างอเข่าและสะโพกเล็กน้อย หรือ ใช้ผ้าขนหนูเล็ก ถุงมือใส่น้ำ มาหนุนบริเวณตามปุ่มกระดูกต่างๆ เพื่อป้องกันการกดทับตามปุ่มกระดูกที่ต่างๆ เช่น ตาตุ่ม ส้นเท้า ข้อศอก

แต่ถ้าหากเกิดภาวะแผลกดทับขึ้นแล้ว ผู้ดูแลต้องหมั่นทำความสะอาดแผล ควรดูแลรักษาแผลเพื่อไม่ให้มีสิ่งสกปรกซึมเข้าไปในผ้าพันแผลและไม่ให้แผลอับชื้น เพื่อป้องกันภาวะแผลติดเชื้อตามมา

การดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา  ตลอดจนนำไปสู่ระยะเวลาการรักษาที่ยาวนานและค่าใช้จ่ายที่สูงตามมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เราจึงต้องหมั่นพลิกตัวขยับเคลื่อนไหวร่างกายและตรวจเช็คบริเวณปุ่มกระดูกอยู่เสมอ โดยการลูบคลำหรือใช้กระจกเงาส่องบริเวณที่เรามองไม่เห็นเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดภาวะแผลกดทับในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ซึ่งการที่ไม่มีภาวะแผลกดทับนั้นทำให้ผู้ป่วยไม่มีอาการเจ็บขณะเปลี่ยนท่าหรือมีอาการอ่อนเพลียจากการติดเชื้อของแผล ซึ่งส่งผลให้มีความพร้อมในการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและฝึกกิจวัตรประจำวันต่างๆ ต่อไป

Pressure ulcers are a complication of stroke patients that should not be overlooked.

Pressure ulcers are one of the most common complications in bedridden patients or the elderly. including patients with cerebrovascular disease who have little physical movement or are unable to help themselves Make the patient live in bed in the same posture for a long time.

This can cause complications or problems, which if a pressure ulcer occurs, it may result in infection. and can be severe to the point of death Let’s understand together that How do pressure ulcers occur? If not, can it be prevented? And if so, how can there be a remedy?

Pressure ulcers are caused by skin that has been pressed for a long time. This causes the skin and surrounding tissues to lack blood and nutrients.

Resulting in tissue or skin death and resulting in pressure ulcers, which pressure ulcers often occur in the area of ​​the bone, such as the hip, coccyx, astragalus, heel, etc.

The risk factors for pressure ulcers can be divided into 2 factors: external factors These include pressure, shear, and friction.

As for internal factors such as immobility, loss of perception (loss sense) and malnutrition, etc. At this point, we can understand how pressure ulcers occur.

What are the risk factors? And next, let’s get to know the severity of pressure ulcers.

There are 4 levels of severity of pressure ulcers

แหล่งอ้างอิง

1.ผศ.พญ. ภัทรา วัฒนพันธุ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

. การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และ การป้องกันภาวะแทรกซ้อน . North – Eastern Thai Journal of Neuroscience Vol1. No.1 ( 17 กันยายน 2562 ) : 31.

2.อ.พญ.ปรัชญาพร คำเมืองลือ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ . การฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ (Pressure Ulcer Management) ( 28 เมษายน 2558 ) : 55.

  1. REBRAIN ทีมนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง . การจัดท่านอน ในผู้ป่วย Stroke . ( 4 มีนาคม 2021 )

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top