Aspirin แอสไพริน ยาป้องกันหลอดเลือดสมองตีบ สำคัญอย่างไร?
ยา แอสไพริน เป็นยาตัวหนึ่งที่คนไข้หลอดเลือดสมองมักจะได้รับจากแพทย์กลับมารับประทาน เพื่อป้องกันไม่ให้หลอดเลือดที่สมองกลับมาตีบซ้ำ นอกจากนี้ยังสามารถรับประทานยาดังกล่าวเพื่อรักษาอาการป่วยอื่นๆได้ด้วย ซึ่งในวันนี้ทาง ReBRAIN จะมาอธิบายเกี่ยวกับตัวยา แอสไพริน กันว่าสามารถรักษาโรคอะไรได้บ้าง ออกฤทธิ์ยังไง และมีผลข้างเคียงอะไรบ้างที่ต้องระวัง
Aspirin ( แอสไพริน ) เป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่ม Non Streroidal anti-inflammatory drugs หรือเรียกเป็นตัวย่อว่า เอ็นเสด (NSAIDs) ซึ่งยากลุ่มนี้จะเป็นยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่ยากลุ่มสเตียรอยด์ ตัวอย่างยา เช่น Diclofenac (ไดโคฟีเนก), Ibuprofen (ไอบูโปรเฟน), Piroxicam (ไพโรซิแคม) และ Aspirin ( แอสไพริน ) โดยปกติยากลุ่มนี้ช่วยรักษาบรรเทาอาการอักเสบต่างๆ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์, ข้ออักเสบเก๊าท์ เป็นต้น ช่วยลดอาการปวด, ลดไข้, ใช้ป้องกันการเกิดมะเร็งและออกฤทธิ์เป็นยาต้านเกล็ดเลือด
ก่อนจะไปพูดถึงเรื่องการออกฤทธิ์ของยา แอสไพริน เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับกลไกการอักเสบก่อน เมื่อร่างกายเกิดการบาดเจ็บขึ้น ร่างกายจะผลิตเอนไซม์ที่ชื่อ Cyclooxygenase (ไซโคลออกซิจีเนส) หรือเรียกสั้นๆว่า ค็อกซ์ ซึ่งเอนไซม์นี้จะมีหน้าที่ย่อยสารบางตัวในร่างกายเพื่อให้เกิดการสร้างสารที่ชื่อ prostaglandins (โพรสตาแกลนดิน) ซึ่งสารนี้จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบขึ้น ส่งผลทำให้ร่างกายเกิดอาการปวด บวม แดง ร้อนและมีไข้ตามมา ตัวยา Aspirin จะไปยับยั้งการสร้างเอนไซม์ค็อกซ์เพื่อลดการสร้างสารโพรสตาแกลนดิน เพื่อลดอาการอักเสบ อาการปวดและไข้นั่นเอง
อีกกลไกของเอ็นไซม์ค็อกซ์ คือ ช่วยกระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือด กระตุ้นให้เกล็ดเลือดไปรวมตัวกันเมื่อเวลาร่างกายเกิดบาดแผล ซึ่งในบางครั้งบาดแผลไปเกิดขึ้นในหลอดเลือดขนาดเล็กในร่างกาย เช่น หลอดเลือดในสมอง เป็นต้น เกล็ดเลือดที่ไปรวมตัวกันมากบริเวณแผลในหลอดเลือดจะส่งผลทำให้เลือดไหลเวียนไม่ได้ ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบได้ในที่สุด ตัวยา Aspirin จะไปช่วยสลายการรวมตัวกันของเกล็ดเลือด ไม่ให้เกล็ดเลือดรวมตัวกัน ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหลอดเลือดตีบซ้ำ
สำหรับการใช้ยา Aspirin นั้นจะต้องรับประทานทุกๆ 4-6 ชม. ในขนาดยา 325-650 มิลลิกรัม หรือใช้เมื่อมีอาการ ส่วนในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่ต้องรับประทานยา Aspirin จะต้องรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์
ข้อควรระวังและข้อห้ามสำหรับการรับประทานยา Aspirin คือ
1.ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออก เช่น ผู้ป่วยเลือดออกผิดปกติ, คนไข้ที่ต้องทำฟัน (ผ่าตัดฟันหรือถอนฟัน), ผู้ป่วยไข้เลือดออก เป็นต้น
2.หลีกเลี่ยงการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหืด เพราะยาจะไปออกฤทธิ์ส่งผลต่อโรคหืด ทำให้โรคหืดกำเริบได้
- หลีกเลี่ยงการใช้ยา Aspirin ในสตรีมีครรภ์
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างรับประทานยา
- ห้ามใช้ยาในผู้ป่วยที่แพ้ยา Aspirin และแพ้ยาอื่นๆในกลุ่ม NSAIDs
สำหรับอาการข้างเคียงของการใช้ยา Aspirin คือ จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ รวมถึงจะไปกระตุ้นอาการโรคหืดให้กำเริบได้ ในผู้ป่วยบางรายจะเกิดภาวะเลือดออกง่ายกว่าปกติได้
ยา Aspirin จึงเป็นยาที่แพทย์จะจ่ายยาให้ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองรับประทานเพื่อป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบซ้ำควบคู่กับการใช้ยารักษาอื่นๆของผู้ป่วยหลอดเลือดสมองด้วย ดังนั้นยา Aspirin ควรจะรับประทานอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ห้ามหยุดยาเอง และควรกินยาตามคำแนะนำของแพทย์
Aspirin, a drug that prevents cerebrovascular disease How is it important?
Aspirin is one drug that stroke patients often receive from a doctor back to take. to prevent the blood vessels in the brain from returning to narrow again They can also be taken to treat other ailments. Today, ReBRAIN will explain about what aspirin can treat. how does it work And what are the side effects to be aware of?
Aspirin is a drug that is classified as Non Streroidal anti-inflammatory drugs, also known as NSAIDs, which are non-steroidal anti-inflammatory drugs. These include Diclofenac (Dicofenac), Ibuprofen (Ibuprofen), Piroxicam (Pyroxicam), and Aspirin (Aspirin). , gout arthritis, etc. It helps reduce pain, reduce fever, is used to prevent cancer and act as an antiplatelet drug.
Before talking about the action of aspirin Let’s learn about the mechanism of inflammation first. When the body is injured The body produces an enzyme called Cyclooxygenase (Cyclooxygenase) or abbreviated as Cox, which this enzyme is responsible for digesting certain substances in the body to create a substance called prostaglandins (Prostaglandin), which will stimulate inflammation. As a result, the body causes pain, swelling, redness, heat and fever. Aspirin will inhibit the production of Cox enzyme to reduce the production of prostaglandins. to reduce inflammation Pain and fever itself.
Another mechanism of Cox enzyme is to stimulate the activity of platelets. Stimulates platelets to gather when the body is wounded. Sometimes the wound occurs in the small blood vessels in the body, such as the blood vessels in the brain, etc. Platelets that clump together in the wound in the artery can result in the inability of blood to flow. Causing cerebrovascular disease in the end. Aspirin will help break down the aggregation of platelets. prevent platelet aggregation prevent recurrence of aortic stenosis
Aspirin must be administered orally every 4-6 hours at a dose of 325-650 mg or when symptomatic. Patients with cerebrovascular disease who are taking aspirin must take the drug as recommended by a doctor.
Precautions and contraindications for taking Aspirin are:
1. Be careful of using the drug in patients who are at risk of bleeding, such as patients with bleeding disorders, patients who need dental work. (Tooth surgery or tooth extraction), Dengue patients, etc.
2. Avoid using the drug in asthmatic patients. Because the drug will act to affect asthma. can cause asthma attacks
Avoid using aspirin in pregnant women.
Avoid drinking alcohol while taking the medication.
The drug should not be used in patients with known hypersensitivity to aspirin and other NSAIDs.
เอกสารอ้างอิง
- Johnston SC, Easton JD, Farrant M, Barsan W, Conwit RA, Elm JJ, et al. Clopidogrel and Aspirin in Acute Ischemic Stroke and High-Risk TIA. The New England journal of medicine. 2018; 379(3): 215-25.
- Schror K. Aspirin and platelets: the antiplatelet action of aspirin and its role in thrombosis treatment and prophylaxis. Seminars in thrombosis and hemostasis. 1997; 23(4): 349-56.
- Vane JR, Botting RM. The mechanism of action of aspirin. Thrombosis research. 2003; 110(5-6): 255-8.