กลัวการล้มหลังจากเกิด โรคหลอดเลือดสมอง

กลัวการล้มหลังจากเกิด โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นเรื่องไม่ไกลตัว ปัจจุบันการล้ม เป็นสาเหตุหนึ่งของการตาย ในผู้สูงอายุ ซึ่งได้มีความตระหนักถึงความรุนแรงของการล้มมากขึ้น โดยผลข้างเคียงเมื่อมีการล้มพบว่าอุบัติการการเกิดความรู้สึกกลัวเพิ่มขึ้นตามมาในหลายๆการศึกษาได้รายว่าความชุกและความรุนแรงของความกลัวการล้มมีระดับสูง นอกจากนี้ความรู้สึกกลัวการล้มปรากฎว่าไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้ที่เคยมีประสบการณ์ล้มจริงเท่านั้น ซึ่งนั่นก็หมายความผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์การล้มมาก่อนก็สามารถรู้สึกกลัวการล้มได้ด้วยเหมือนกัน

สิ่งที่เป็นผลกระทบหลักของความรู้สึกกลัวการล้มคือการละเลยการทำกิจกรรมต่างๆ การออกสังคม หรือแม้กระทั่งการทำกิจวัตรประจำวันของตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ความสามารถของการทำกิจกรรมต่างๆลดลง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะนำมาสู่กล้ามเนื้อฝ่อลีบ หรือ กล้ามเนื้อปรับเปลี่ยนสภาพเสื่อมสลายลง นอกจากนี้ทำให้ความสามารถในการทำกิจกรรมทางกายภาพลดลง และคุณภาพชีวิตแย่ลง เช่น การเข้าสังคมพบปะผู้คน หรือจำกัดการทำกิจกรรมยามว่างถูก หากความรุนแรงของความรู้สึกกลัวการล้มอยู่ในระดับที่สูงจะต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ในบางรายที่กลัวมากอาจส่งผลให้เกิดภาวะติดเตียงได้ 

การเขียนบทความในครั้งนี้เขียนเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญต่อความรู้สึกกลัวการล้ม และการสำรวจความรู้สึกกลัวการล้มจากแบบสอบถามเพื่อตรวจประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วย คือ แบบสอบถาม Fear of Falling and Activity Restriction: The Survey of Activities and Fear of Falling in the Elderly หรือ SAFE ซึ่ง  Lachman และคณะ, 1998 พบว่า การกลัวการล้มนำไปสู่ข้อจำกัดกิจกรรมทางกาย นอกจากนี้มีความสัมพันธ์ที่จะทำให้คุณภาพชีวิตต่ำลง

ดังนั้นนักกายภาพจึงต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงของความรู้สึกกลัวการล้มซึ่งปัญหาหลักอาจจะไม่ได้มาจากสภาพทางกาย แต่อาจมีผลมากจากสภาวะจิตใจที่เกิดจากความกลัวต่างๆ เช่น กลัวความเจ็บปวด กลัวการล้ม เป็นต้น ซึ่งการให้ความรู้ที่เพียงพอ รวมถึงการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ หากผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยมีความเข้าใจ และปรับเปลี่ยนทัศนคติจะสามารถลดความวิตกกังวลการกลัวความล้มได้ และทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข  ในบทความถัดๆไปจะมาให้ข้อแนะนำ รวมถึงการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อเพิ่มความมั่นใจ และลดความวิตกกังวลการกลัวล้ม สามารถติดตาม ReBRAIN ได้ทุกช่องทางเพื่อรับข่าวสารและบทความดี ๆ

 

แหล่งอ้างอิง

Lachman, M. E., Howland, J., Tennstedt, S., Jette, A., Assmann, S. and Peterson, E. W. (1998). Fear of falling and activity restriction: the survey of activities and fear of falling in the elderly (SAFE). The Journals of Gerontology Series B: Psychological Sciences and Social Sciences, 53(1), P43-P50.

Cerebrovascular disease Is not far away Current falling It is one of the leading causes of death in the elderly who are more aware of the severity of the fall. As a side effect after falling, the incidence of feelings of fear has increased, and in many studies the prevalence and severity of the fear of falling are high. In addition, the fear of falling appears not only to those who have actually experienced falling. This also means those who have never experienced a fall can also feel the fear of falling.

 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top