
คำตอบ
หากเกิดเหตุในทันที คือเห็นอาการอ่อนแรงแขนขาข้างเดียวกันเฉียบพลัน น้ำลายไหล พูดไม่ค่อยชัด ให้รีบพานอนราบ และพาส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจประเมินและหยุดภาวะสมองขาดเลือดโดยเร็ว หลังจากนั้นศึกษาหาความรู้เรื่องตัวโรคหลอดเลือดสมองให้เข้าใจตัวโรคมากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนก สร้างความเข้าใจกับครอบครัว ให้กำลังซึ่งกันและกัน และไว้วางใจให้ทีมแพทย์ได้รักษาอย่างเต็มประสิทธิภาพ หมั่นคอยติดตามอาการ และการฟื้นฟูในแต่ละระดับ ซึ่งในช่วงแรกคนไข้กลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ (Re–current stroke) ได้มาก จึงควรการสังเกตอาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่ควรเกิดขึ้น อาการเบื้องต้นดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อสมองหยุดทำงาน หรือเกิดความเสียหายเพิ่มเติมจะสังเกตเห็นอาการข้างต้น หากพบเจอควรแจ้งแพทย์หรือพยาบาลให้ตรวจประเมินซ้ำโดยทันที เพื่อเป็นการช่วยสังเกตุอาการและติดตามการฟื้นฟูของผู้ป่วยในช่วงแรก หลังจากพ้นช่วงการรักษาของแพทย์ไปแล้วแล้วจึงพยายามกระตุ้น ทำกายภาพบำบัด ออกกำลังกาย พาทำกิจกรรมต่างและดูแลต่อเนื่อง ทำกายภาพบำบัดที่บ้าน ฟื้นฟูร่างกายไม่ให้ขาดหาย โดยเฉพาะในช่วง Golden periode
คำตอบ
ขั้นตอนการฟื้นฟูคนไข้โรคหลอดเลือดสมองจะเริ่มขึ้นตั้งแต่หลังจากที่คนไข้ได้รับการรักษาจาก
แพทย์ แล้วอาการเริ่มคงที่ ซึ่งในช่วงแรกมีความจำเป็นที่ต้องทำกายภาพบำบัดอย่างง่ายเพื่อ
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นดังนี้ (ไม่ใช่เพื่อการฟื้นฟู)
หลังจากผ่านพ้นช่วงแรกนี้ไป อาการผู้ป่วยเริ่มคงที่ จะเป็นการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟู
ร่างกาย นั่นคือ
กระตุ้นการสั่งการ ให้มีแรงมากขึ้น
ฝึกการรับรู้ให้รู้ตำแหน่งร่างกายให้ดีขึ้น
ฝึกการนั่งทรงตัวและกล้ามเนื้อลำตัว
ฝึกการยืนทรงตัว และถ่ายน้ำหนัก
ฝึกการลงน้ำหนักขาข้างเดียว
ฝึกการเดินด้วยอุปกรณ์
ฝึกขึ้นลงบันได
ฝึกการยกขาก้าว
ฝึกเดินด้วยตนเอง
การฟื้นฟูตามลำดับขั้นตอนเบื้องต้นนี้จะเป็นบทบาทของนักกายภาพบำบัด ที่จะประเมินอาการ
และปรับโปรแกรมการรักษาตามความสามารถ ซึ่งการฟื้นฟูต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน เพราะ
เป็นการกระตุ้นให้เซลล์สมองกลับมาทำงาน และเป็นการสร้างการทำงานใหม่ทดแทนสมองส่วนที่
เสียไป ดังนั้นระยะเวลาการฟื้นฟูจึงขึ้นอยู่กับความเสียหายที่เกิดขึ้นในสมองด้วยเป็นสำคัญ
ประกอบกับความแข็งแรงของร่างกายในขณะนั้น (ได้แก่ อายุ โรคประจำตัว ปัญหาอื่นๆ เป็นต้น)
และช่วงที่ฟื้นฟูได้ดีที่สุด จะเป็นช่วง 3-6 เดือนแรก หรือเรียกว่า Golden Period จะเห็น
พัฒนาการได้เร็ว จึงควรทำกายภาพบำบัด ทำกายภาพบำบัดที่บ้าน ให้ได้มากที่สุด หลังจากนั้น
พัฒนาการจะช้าลง แต่หากคนไข้ยังพยายามทำกายภาพ และออกกำลังกายต่อเนื่อง ก็จะเห็น
พัฒนาการขึ้นได้
คำตอบ
การที่คนไข้ โรคหลอดเลือดสมอง จะกลับมาเดินได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ปัจจัยที่สำคัญได้แก่
ตำแหน่งและปริมาณความเสียหายที่เกิดขึ้นในสมอง หากความเสียหายเป็นวงกว้าง และโดนตำแหน่งของการสั่งการ แนวโน้มการฟื้นฟูจะไม่ค่อยดี อาจจะกลับมาเดินไม่ได้ เราสามารถเห็นตำแหน่งความเสียหายได้จากการทำ MRI หรือ CT scan ซึ่งแพทย์ระบบประสาทจะมีความชำนาญที่จะเห็นตำแหน่งและประเมินความรุนแรงเบื้องต้นได้
ส่วนปัจจัยเสริมอื่นๆที่มีผลต่อการประเมิน ได้แก่
1. อายุของผู้ป่วย
2. ความแข็งแรงของร่างกายก่อนป่วย
3. ปัญหา หรือโรคอื่นๆที่เคยเจ็บป่วย เช่น หากเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม มีอาการปวดเข่าร่วมด้วย การฝึกและการฟื้นฟูจะยากขึ้นตามไป
4. และกำลังใจของผู้ป่วย นับเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ
หากไม่โดนตำแหน่งที่รุนแรง และไม่กว้างมาก ผู้ป่วยหลายท่านสามารถฟื้ฟูกลับมาเดินได้ อาจต้องมีคนช่วยแตกต่างกันไปตามระดับความสามารถ บางคนเดินได้คล้ายปกติก็เป็นไปได้ ในส่วนนี้ต้องอาศัยหลักการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดที่ถูกหลัก และผู้ที่มีความชำนาญ เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วที่สุด และเกิดท่าทางที่ผิดปกติน้อยที่สุด การทำกายภาพบำบัดกับนักกายภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วง Golden Period หากกลับบ้านก็ควร หาทีมนักกายภาพบำบัดที่บ้าน ที่มีประสิทธิภาพ และความชำนาญมาดูแลต่อเนื่อง เพื่อการฟื้นฟูที่เร็วที่สุด
คำตอบ
ศึกษาหาความรู้เรื่องตัวโรคหลอดเลือดสมองให้เข้าใจตัวโรคมากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความตื่น
ตระหนก สร้างความเข้าใจกับครอบครัว ให้กำลังซึ่งกันและกัน และไว้วางใจให้ทีมแพทย์ได้รักษา
อย่างเต็มประสิทธิภาพ หมั่นคอยติดตามอาการ และการฟื้นฟูในแต่ละระดับ ซึ่งในช่วงแรกคนไข้
กลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ (Re-current stroke) ได้มาก จึงควรการ
สังเกตอาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่ควรเกิดขึ้น ได้แก่
อาการอ่อนแรงมากขึ้น เปรียบเทียบความสามารถปัจจุบัน หากพอเคลื่อนไหวได้บ้าง
แล้ววันรุ่งขึ้นการแรงน้อยลง นี่คืออาการที่ผิดปกติ
การตอบสนองช้าลง ในช่วงแรกผู้ป่วยอาจมีการตอบสนองช้า หรือหลับ ทำตามสั่งช้า แต่
อาการจะค่อยๆดีขึ้น หากมีช่วงไหนที่หลับมากกว่าปกติ ปกติบอกแล้วทำตามคำสั่งได้ แต่
ตอนนี้ทำได้น้อยลง นี่คืออาการผิดปกติ
อาการน้ำลายไหล สังเกตจากปริมาณน้ำลายที่ไหลออกจากปาก ถ้าเดิมไม่มี หรือน้อย แต่มี
มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นี่คืออาการที่ผิดปกติ
อาการเบื้องต้นดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อสมองหยุดทำงาน หรือเกิดความเสียหายเพิ่มเติมจะสังเกต
เห็นอาการข้างต้น หากพบเจอควรแจ้งแพทย์หรือพยาบาลให้ตรวจประเมินซ้ำโดยทันที เพื่อ
เป็นการช่วยสังเกตุอาการและติดตามการฟื้นฟูของผู้ป่วยในช่วงแรก
ขั้นตอนการฟื้นฟูคนไข้โรคหลอดเลือดสมองจะเริ่มขึ้นตั้งแต่หลังจากที่คนไข้ได้รับการรักษาจาก
แพทย์ แล้วอาการเริ่มคงที่ ซึ่งในช่วงแรกมีความจำเป็นที่ต้องทำกายภาพบำบัดอย่างง่ายเพื่อ
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นดังนี้
ยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อป้องกันการข้อติด หากไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อจะมี
การยึดตึง ทำการเคลื่อนไหวถูกจำกัด จะเป็นปัญหาในอนาคตหลังจากเริ่มฟื้นตัวมาแล้ว โดย
เฉพาะข้อเท้า ขอศอก และข้อไหล่จัดท่านอน ท่านั่ง ป้องกันขอไหล่เคลื่อน อีกหนึ่งปัญหาที่สามารถป้องกันได้หากดูแลได้ดีใน
ช่วงแรก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนร่วมด้วย ทำให้กล้ามเนื้อไม่มี
แรงพยุงข้อไหล่ให้อยู่ภายในเบ้า จึงต้องจัดท่าให้ข้อไหล่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องในท่านั่ง ท่า
นอน ท่ายืน และมีอุปกรณ์ที่ช่วยพยุงข้อไหล่ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะข้อไหล่เคลื่อน หรือ
อาการเจ็บไหล่ในอนาคตกระตุ้นการหายใจ เพื่อรักษาการขยายตัวของทรวงอก เมื่อการเคลื่อนไหวน้อยลงประกอบ
กับการนอนอยู่เตียงเป็นเวลานาน จะทำให้การขยายตัวของทรวงอกน้อยลง ซึ่งนำมาสู่
อาการเหนื่อยง่าย เสมหะคั่งค้าง
คำตอบ
ก่อนออกจากโรงพยาบาลสิ่งที่ญาติและคนไข้โรคหลอดเลือดสมองควรเตรียมความพร้อมใน
เรื่องของวิธีการดูแลปฏิบัติคนไข้โรคหลอดเลือดสมองได้อย่างถูกวิธีในเรื่องต่างๆดังนี้
ทานอาหาร บางท่านต้องใส่สายให้อาหาร ญาติจึงควรเรียนรู้เรื่องการเตรียมอาหารปั่น การ
ให้อาหารทางสาย การให้ยาทางสาย หรือการดูแลสุขอนามัยประจำวัน หากคนไข้ยังไม่
สามารถลุก หรือเดินได้ ก็จำเป็นต้องอาบน้ำบนเตียง รวมไปถึงการปูที่นอน การวางแผนรอง
การจัดท่า การป้องกันแผลกดทับ รวมไปถึงการทำกายภาพบำบัดเบื้องต้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ
ทั้งสิ้นสำหรับผู้ป่วยที่ยังช่วยเหลือตัวเองได้น้อย หากทางบ้านไม่สะดวกในการเรียนรู้ก็
สามารถหาคนดูแล (Care giver) หรือผู้ช่วยพยาบาล หรือพยาบาลวิชาชีพ(PN, NA, RN) ที่มี
ความชำนาญในการดูแลเรื่องต่างๆ ไปอยู่ดูแลที่บ้านได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ความจำเป็นต้องหาเตียงผู้ป่วยที่สามารถปรับนั่งได้เพื่อกระตุ้นการนั่งและการทำงานของ
ปอด เป็นต้น
หรือหากคนไข้ยังเดินไม่คล่อง รถเข็นก็มีความจำเป็น และควรเป็นรถเข้นที่เปิดที่พักแขน
และที่พักขาได้ เพื่อความสะดวกและปลอดภัยขณะย้ายตัวขึ้นลงรถเข็นและพกพาไปนอก
สถานที่
ใหญ่ยังเคลื่อนไหวไม่คล่อง เดินทางลำบาก นอกจากนี้การทำกายภาพบำบัดที่บ้านยัง
ประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง คนไปรับ-ส่ง และได้ทำกายภาพบำบัดในสถานที่ที่
ต้องอยู่อาศัยจริง ซึ่งประสิทธิภาพการฟื้นฟูไม่น้อยกว่าโรงพยาบาล แต่ต้องคัดกรองและ
เลือกทีมกายภาพบำบัดที่มีความชำนาญและมีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูผู้ป่วยกลุ่มนี้ รวมถึง
ต้องมีอุปกรณ์เครื่องมือที่พร้อมสำหรับการกระตุ้น และระบบการรายงานผลเพื่อนำแนวทาง
การฟื้นฟูให้แพทย์ประเมินต่อเนื่องเป็นระยะ
เข้าใจวิธีการสังเกตอาการไม่พึงประสงค์เบื้องต้น เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ (Re-current stroke)
รู้จักยาชนิดต่างๆที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องทาน และควบคุมให้ผู้ป่วยทานยาตามแพทย์กำหนดอย่างต่อเนื่อง
เรียนรู้และเข้าใจวิธีการดูแลคนไข้โรคหลอดเลือดสมองเบื้อต้นในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การ
เตรียมสถานที่บริเวณบ้านในสิ่งที่จำเป็น ปรับพื้นที่บ้าน ห้องน้ำติดราวจับ ย้ายห้องนอนไว้ชั้นล่างเพื่อเลี่ยงการขึ้นลงบันไดในช่วงแรก หากผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ยังนั่งไม่ได้ อาจมี
อุปกรณ์เครื่องมืออื่นๆที่จำเป็น ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยเดินตามระดับความสามารถ ไม้เท้า 3 ขา
ทีมนักกายภาพบำบัดที่มีความชำนาญโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อการฟื้นฟูร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันนิยมการฟื้นฟู ทำกายภาพบำบัดที่บ้านมากขึ้น เพราะผู้ป่วยส่วนส่วน
คำตอบ
ในระยะแรกของคนไข้โรคหลอดเลือดสมอง
เป็นระยะหลังเกิดอาการและเป็นช่วงหลังจากที่คนไข้ออกจากโรงพยาบาล
สิ่งที่ควรระวังมากที่สุดคือ “การเกิดซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง (Recurrent
of stroke)” ซึ่งควรให้ความสำคัญกับสิ่งต่อไปนี้
1.การรับประทานยาที่แพทย์สั่ง
อย่างสม่ำเสมอและตรงตามเวลา
2.การควบคุมอาหารที่เหมาะสม
ถูกหลักโภชนาการ
3. รู้จักวิธีการสังเกตอาการไม่พึงประสงค์
หากสามารถปฏิบัติตาม 3 ข้อดังต่อไปนี้ได้ ก็จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำได้มาก
คำตอบ
ปัญหาที่จะเกิดขึ้นหรือตามมาในคนไข้โรคหลอดเลือดสมอง สามารถเกิดขึ้นได้ ความรุนแรงขึ้นอยู่กับระดับความสามารถของการฟื้นตัว การรับรู้สติ การปฏิบัติตัว และ การดูแลเอาใจใส่ของญาติ ซึ่งปัญหาที่มักจะพบบ่อย หลังจากการนอนติดเตียงเป็นเวลานานหรือขยับร่างกายน้อย อาทิเช่น
- ภาวะปอดติดเชื้อ (Pneumonia) อาจเกิดจากการสำลักอาหารหรือการขยายตัวของปอดที่ลดลงจากการนอนนาน ทำให้การระบายเสมหะในร่างกายลดลง เกิดการคั่งค้างของเสมหะ ส่งผลให้เกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตามมา เมื่อเกิดภาวะนี้เกิดขึ้น ผู้ป่วยคนไข้มักจะมีปัญหาเรื่อง ระดับออกซิเจนในเลือดค่อนข้างต่ำ หายใจหอบเหนื่อยมากกว่าปกติ จึงจะต้องมีจัดท่าเพื่อระบายเสมหะ การฝึกหายใจ เคาะปอด หรือดูดเสมหะ เพื่อป้องกันการคั่งค้างของเสมหะ อันนำไปสู่ภาวะปอดติด ติดเชื้อ
- ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก (Deep vein thrombosis) เกิดจากการที่คนไข้ไม่ค่อยได้ขยับร่างกายหรือความผิดปกติของหลอดเลือดดำ ทำให้เกิดการตกตะกอนของเลือดเสีย เนื่องจากในหลอดเลือดดำมีแรงดันภายในหลอดเลือดน้อยว่าหลอดเลือดแดง ส่งผลให้เลือดสะสมอยู่ที่รยางค์ส่วนปลายเมื่อไม่มีการขยับหรือหดตัวของกล้ามเนื้อ จึงเกิดเป็นลิ่มเลือด หากเกิดภาวะนี้เกิดขึ้นอาจส่งผลให้ลิ่มเลือดนี้หลุด ไหลตามไปทางระบบเลือดหลอดไปอุดกั้นที่ปอดได้ โดยภาวะลิ่มเลือดอุดตัน มักเกิดโดยเฉพาะรยางค์ส่วนปลาย คือ ส่วนของปลายขาที่อ่อนแรง อาการที่สังเกตได้คือ ปวด บวม แดงร้อน ที่ขาส่วนนั้น
- ภาวะแผลกดทับ (Pressure sore) เกิดจากการที่กล้ามเนื้อถูกกดทับเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นได้รับสารอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ จึงเกิดการตายของเนื้อเยื่อและเป็นแผลตามมา มักจะเกิดบริเวณที่มีปุ่มกระดูก ได้แก่บริเวณ ก้นกบ ตาตุ่ม เป็นต้น
- ภาวะกล้ามเนื้อหดรั้งและข้อยึดติด (Muscle contracture and joint stiffness) เกิดจากการที่คนไข้ไม่ค่อยได้ขยับร่างกายอยู่ในท่าเดิมเป็นระยะเวลานานหรือมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวอยู่ตลอดเวลา ร่วมกับขาดการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ส่งผลให้กล้ามเนื้อตึงตัว และถ้ายังหากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้ข้อต่อยึดติดตามมา ซึ่งจะส่งผลให้คนไข้มีอาการปวดเมื่อขยับและเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มช่วงการเคลื่อนไหว
- ภาวะข้อเคลื่อน (Shoulder subluxation) เกิดจากพยาธิสภาพของคนไข้ที่มีการอ่อนแรงครึ่งซีก ทำให้มีการเคลื่อนไหวแขนด้านที่อ่อนแรงลดลง ร่วมกับการจัดท่าไม่เหมาะสม ปล่อยให้แขนห้อยลงตลอด รวมไปถึงการเคลื่อนไหวของแขนที่ไม่ถูกวิธี จะทำให้เยื่อหุ้มข้อไหล่และเอ็นกล้ามเนื้อถูกยืดออก สังเกตง่ายๆด้วยการคล้ำบริเวณหัวไหล่ไล่ลงไปทางด้านหลัง หากข้อไหล่เริ่มเคลื่อนจะเกิดช่องว่าง คลำพบร่องบริเวณข้อไหล่ ซึ่งอาจส่งผลทำให้คนไข้มีอาการปวดไหล่ได้ง่าย
- ภาวะความดันตกระหว่างเปลี่ยนท่าทาง (Orthostatic hypotension) เกิดจากการที่คนไข้อยู่ในท่านอนเป็นระยะเวลานาน และเมื่อมีการเปลี่ยนท่าทางจากนอนมานั่ง หรือนั่งไปยืน จะทำให้แรงดันเลือดไปที่สมองไม่เพียงพอ ส่งผลให้ระดับออกซิเจนลดลงไปด้วย คนไข้จึงมักจะมีอาการง่วงซึม หน้ามืด ตาพร่ามัว และ รู้สึกจะหลับ ดังนั้นควรจะต้องสังเกตอาการ และวัดความดันเมื่อปรับเปลี่ยนท่าสม่ำเสมอในระยะแรก ลดลงระดับไหนถึงอันตราย คือ ลดลงมากกว่า 20 มิลลิเมตรปรอท หากคนไข้มีภาวะความดันตกให้พานอนศีรษะราบ และ ดื่มน้ำ คนไข้จะมีอาการดีขึ้น
ปัญหาเหล่านี้หากได้รับคำแนะนำ และการทำกายภาพบำบัด กายภาพบำบัดที่บ้านที่ดี ก็จะสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆเหล่านี้ได้ ดังนั้นการได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องในการจัดการปัญหาเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก
คำตอบ