โรค ซึมเศร้า ในผู้สูงอายุ

โรค ซึมเศร้า ในผู้สูงอายุ

             โรค ซึมเศร้า พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นบุคคลอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป วัยผู้สูงอายุป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมไปในทางเสื่อมถอย ส่งผลให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพจิต ผู้สูงอายุเกิดภาวะ ซึมเศร้า ได้ง่ายจากปัญหาด้านร่างกายเพราะความเสื่อม ทำให้มีความไม่สุขสบาย ส่งผลต่อสภาพอารมณ์ของผู้สูงอายุ ประกอบกับบทบาททางสังคมลดลง และอยู่ในภาวะพึ่งพาลูกหลาน จึงทำให้ผู้สูงอายุ ซึมเศร้า ได้ง่าย

ซึ่งวันนี้ทาง ReBRAIN จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับโรค ซึมเศร้า ในผู้สูงอายุ

ปัจจัยในภาวะ ซึมเศร้า ของผู้สูงนั้นมีอยู่ 6 ปัจจัย คือ 

1.ปัจจัยทางสังคม

2.ความสัมพันธ์ในครอบครัว

3.การสนับสนุนทางสังคม

4.สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย

5.สุขภาพจิต

6.สุขภาพกาย 

 

1.ปัจจัยทางสังคม คือการขาดการสนับสนุนทางสังคม การเป็นหม้าย การอยู่คนเดียว และการศึกษา

2.ความสัมพันธ์ในครอบครัว  ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากการขัดแย้งกันในครอบครัวและการไม่มีครอบครัว

3.การสนับสนุนทางสังคม นอกจากครอบครัวที่ต้องให้การสนับสนุนแล้วนั้น ผู้สูงอายุยังคงต้องการการสนับสนุนในเรื่องต่างๆจากคนนอกหรือคนในสังคม และการไม่เข้าร่วมสังคมก็เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะซึมเศร้า

4.สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่แล้วมีอยู่สองที่ที่เป็นปัจจัยคือ บ้านพักคนชราและชุมชนชนบทสองที่นี้มีอัตตราการเกิดสูงกว่าบุคคลที่อาศัยอยู่บ้าน

5.สุขภาพจิต ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า เกิดจากการมีภาวะเครียด เหงา วิตกกังวลในเรื่องต่างๆ 

6.สุขภาพกาย ผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่นโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวานและความเจ็บป่วยเรื้อรัง

ผลกระทบเมื่ออารมณ์เศร้าเกิดขึ้นนาน เป็นภาวะซึมเศร้าและเรื้อรังจนกระทั่งส่งผลเสียต่อร่างกาย จิตใจ สังคม

เกิดเป็นการเจ็บป่วย โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชในกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ การเจ็บป่วยของ

โรคนี้ทำให้เกิดความบกพร่องในการดำเนินชีวิตประจำวัน สร้างความเสียหายต่อคุณภาพชีวิตได้สูงกว่าโรคอื่น 

 

เกณฑ์การวินิจฉัยตาม Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fourth Edition (DSM-IV) ที่พัฒนาโดยสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (American Psychiatric Association หรือ APA)  ประกอบด้วยข้อบ่งชี้ 5 แกน ตั้งแต่แกน A-E ดังนี้ 

  1. มีอาการในข้อต่อไปนี้อย่างน้อย 5 ข้อขึ้นไป เกิดพร้อมกันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ได้แก่
  2. อารมณ์เศร้า เป็นตลอดทั้งวันหรือเกือบทุกวัน 2. ความสนใจสิ่งต่าง ๆ ลดลงมาก หรือไม่อยากพูดคุยกับใคร ไม่อยากทำอะไร เกือบทุกวัน 3. ไม่รู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลินในสิ่งที่เคยเพลิดเพลิน เป็นเกือบทุกวัน            4. น้ำหนักลดลงอย่างมากโดยที่ไม่ได้ตั้งใจอดอาหาร หรือน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างมากเพราะกินจุ                    5. นอนไม่หลับหรือนอนมากเกือบทุกวัน  6. การเคลื่อนไหวและความคิดเชื่องช้า หรือกระวนกระวายอยู่ไม่สุข 7. อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง เป็นเกือบทุกวัน 8. รู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกผิดมากกว่าปกติ เป็นเกือบทุกวัน 9. สมาธิไม่ดี คิดไม่ออก หรือตัดสินใจลำบากเป็นเกือบทุกวัน 10. คิดอยากตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย
  3. อาการไม่เข้ากับเกณฑ์ mixed episode  C. มีผลกระทบต่อหน้าที่การงานและสังคม
  4. อาการไม่ได้เกิดจากการใช้สารเสพติด หรือโรคทางกาย  E. อาการไม่ได้เป็นผลจากความโศกเศร้าเพราะสูญเสียคนรัก
    แนวทางการรักษา 1. การบำบัดทางกาย แยกออกเป็น 1.1 การรักษาด้วยยาต้านเศร้า เหมาะสำหรับระดับรุนแรง  1.2 การรักษาด้วยไฟฟ้า การรักษานี้มักใช้กับภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง หรือโรคซึมเศร้าที่เสี่ยงต่อการ ฆ่าตัวตาย หรือไม่สามารถรอให้ยาออกฤทธิ์ได้ อาการเป็นมากจนเสี่ยงต่อชีวิต มีหลักการคือกดปล่อย กระแสไฟฟ้าให้ผู้ป่วยเกิดการชัก ซึ่งจะทำให้เกิดการปรับสารสื่อประสาท (neurotransmitters) ในสมองให้มี ความสมดุล และ 1.3 การกระตุ้นสมองเฉพาะที่ด้วยสนามแม่เหล็ก เป็นหลักการที่สนามแม่เหล็กสามารถผ่าน เข้าสู่ร่างกายอย่างอิสระและไม่ทำให้เจ็บปวด  2.การบำบัดทางจิตใจ แบ่งออกเป็น 2.1การให้คำปรึกษา 2.2กลุ่มจิตบำบัด 2.3สิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด 2.4ครอบครัวบำบัด

           ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเกิดได้หลายปัจจัย แต่ละบุคคลอาจจะมีปัจจัยที่เกิดแตกต่างกันแต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเหมือนกันแต่ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงตามการประเมินของแต่ละบุคคล แต่อย่างไรนั้นแล้วทุกคนต้องอยู่คอยช่วยให้กำลังใจและอยู่ข้างๆเพื่อไม่ให้บุคคลที่เป็นภาวะนี้รู้สึกโดดเดี่ยวและถึงแม้จะมีทางรักษาแต่ก็ควรป้องกันไม่ให้ภาวะซึมเศร้านี้เกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุ

เอกสารอ้างอิง

1.Rangsima Thipprakmas.(2021). Prevalence and Factors Associated with Depression in the Elderly,15(37),325-338

  1. Narisa Wongpanarak,Narisa Wongpanarak.(2014). Depression: A Significant Mental Health Problem of Elderly,15(3),24-31

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

 

Depression in the elderly
� � � Depression is common among the elderly. Which is a person aged 65 years and over. Elderly age is an age that changes physically, mentally and socially in a deteriorating way. As a result, most elderly people have mental health problems. Elderly Easily depressed from physical problems due to deterioration cause discomfort affect the emotional state of the elderly coupled with a decrease in social roles and in a state of dependence on offspring It makes the elderly easily depressed.

Today, ReBRAIN will provide knowledge about depression in the elderly.

There are 6 factors in depression of the elderly:

1. Social factors 2. Family relations

3. Social support 4. Housing environment 5. Mental health 6. Physical health

1. Social factors namely lack of social support, widowhood, living alone and education.

2. Family relations In most cases, it is caused by conflicts in the family and the absence of a family.

3. Social support In addition to the family that needs to be supported. The elderly still need support in various matters from outsiders or people in society. And social inactivity is one of the causes of depression.

4. Living environment There are mainly two places that are a factor: Both nursing homes and rural communities had higher birth rates than those living at home.

5. Mental health Most people with depression. Caused by stress, loneliness, anxiety about various matters

6. Physical health, those with underlying diseases such as cardiovascular disease. Diabetes and Chronic Illness

Effects when sad mood lasts for a long time It is depressive and chronic until it negatively affects the body, mind and society.

born to be sick Depression is a psychiatric disorder among mood disorders. illness of

This disease causes impairments in daily life. cause higher damage to quality of life than other diseases

โทร.
Scroll to Top