ไขสันหลังบาดเจ็บ คืออะไร

ไขสันหลังบาดเจ็บ  คือ

 

ไขสันหลังบาดเจ็บ คือ อะไร วันนี้ ReBRAIN จะพามาทำความรู้จักกับ ไขสันหลัง ในบทความนี้กันค่ะ ไขสันหลัง (Spinal cord) เป็นส่วนสุดท้าย ของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งจะถูกปกป้อง ด้วยกระดูกสันหลัง ที่มีรูอยู่ตรงกลาง เพื่อให้ไขสันหลังสามารถรอดผ่านไปได้ โดยระหว่างกระดูกสันหลัง จะมีรูด้านข้าง เพื่อเป็นทางผ่านของเส้นประสาทไขสันหลัง (Spinal nerve) ที่แตกออกมาจากไขสันหลัง และ ไปเลี้ยงส่วนของร่างกายที่แตกต่างกันตามระดับของกระดูกสันหลังที่เส้นประสาทไขสันหลังรอดผ่านออกมาไขสันหลัง สามารถแบ่งได้เป็นระดับๆเช่นเดียวกับกระดูกสันหลัง แต่ไม่สามารถแยกเห็นได้ชัดเจน ซึ่งไขสันหลังทำหน้าที่ในการรับและส่งสัญญาณระหว่างสมองกับร่างกายของเรา โดยจะรับความรู้สึก(Sensory) จากส่วนต่างๆของร่างกายไปแปลผลที่สมอง และสมองจะส่งสัญญาณคำสั่งลงมาเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหว(Motor) ของร่างกาย

 

เส้นประสาทไขสันหลัง มีทั้งหมด 31 คู่

ระดับคอ (Cervicle spinal nerves : C) : 8 คู่

ระดับอก (Thoracic spinal nerves : T) : 12 คู่

ระดับเอว (Lumbar and sacral spinal nerves : L and S) : อย่างละ 5 คู่

ระดับก้นกบ (Coccygeal spinal nerves) : 1 คู่

เส้นประสาทไขสันหลังที่ออกมาจากไขสันหลังทางด้านหน้า ทำหน้าที่นำคำสั่งจากไขสันหลังไปที่กล้ามเนื้อ ซึ่งกล้ามเนื้อที่ถูกเลี้ยงด้วยเส้นประสาทไขสันหลัง จะเรียกว่า Myotome หากมีปัญหาที่ไขสันหลังทางด้านหน้า อาจส่งผลให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เส้นประสาทไขสันหลังนั้นไปเลี้ยงได้ และเราสามารถตรวจกำลังกล้ามเนื้อหลักๆได้ดังนี้

C5- กล้ามเนื้อกางหัวไหล่

C6–กล้ามเนื้องอศอกและกระดกข้อมือ

C7 – กล้ามเนื้อเหยียดศอก

C8 – กล้ามเนื้อกำนิ้วมือ

T1 – กล้ามเนื้อกางนิ้วมือ

L2 – กล้ามเนื้องอสะโพก

L3 – กล้ามเนื้อเหยียดเข่า

L4 – กล้ามเนื้อกระดกข้อเท้า

L5 –กล้ามเนื้อกระดกนิ้วโป้งเท้า

S1 – กล้ามเนื้อถีบปลายเท้า

 

เส้นประสาทไขสันหลังที่ออกมาจากไขสันหลังทางด้านหลัง ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกาย และเราเรียกบริเวณที่รับความรู้สึกที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทไขสันหลังว่า Dermatome หากมีปัญหาบริเวณเส้นประสาทไขสันหลังทางด้านหลัง ส่งผลให้การรับความรู้สึกผิดไป เช่น รับความรู้สึกได้ลดลงหรือไม่รับความรู้สึกเลย และเราใช้การตรวจการรับความรู้สึกตามรูปนี้

 

ไขสันหลังบาดเจ็บ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงหรือการรับความรู้สึกผิดปกติไปตามบริเวณที่เส้นประสาทไขสันหลังนั้นๆไปเลี้ยง และถ้าบาดเจ็บที่ไขสันหลังโดยตรงก็จะส่งผลให้การรับความรู้สึกและการสั่งการของกล้ามเนื้อผิดปกติไปทั้ง 2 ข้างของร่างกาย ซึ่งการทำกายภาพบำบัดสามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อขึ้นมาได้ แต่จะขึ้นมาได้มากหรือน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บด้วย ดังนั้นเราต้องทำการตรวจประเมินทางกายภาพบำบัดให้แน่ชัด และเร่งฟื้นฟูร่างกายด้วยการทำกายภาพบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขในการใช้ชีวิต

Spinal cord injury Patients will experience weakness or abnormal sensations along the area where the spinal cord is fed. And if the injury to the spinal cord directly, it will result in abnormal sensations and muscle commands on both sides of the body. Which physical therapy can help stimulate the work of the muscles But how much or how much will it come up depends on the severity of the injury. Therefore, we have to make a definite physical therapy evaluation. And accelerate the recovery of the body through physical therapy To enable patients to return to their daily life more efficiently and happily in life.

แหล่งอ้างอิง

  1. ศุภาพรรัตรสิริ.การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง. สืบค้น 22 มกราคม 2564,  จากhttps://w2.med.cmu.ac.th/northo/index.php?option=com_content&view=article&id=47:spinal-cord-injury-nursing-care&catid=22:orthopedics-nursing&Itemid=227
  2. Lucinda hampton. Retrieved January 22, 2021,  from https://www.physio-pedia.com/Myotomes

 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

 

 

โทร.
Scroll to Top