AFO กายอุปกรณ์เสริมที่ควรรู้จัก

AFOกายอุปกรณ์เสริมที่ควรรู้จัก 

ทุกคนรู้จักกายอุปกรณ์เสริมหรืออุปกรณ์ช่วย support กันไหมครับ จริงๆแล้วอุปกรณ์พวกนี้มีอยู่มากมายหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และการใช้งาน ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึง AFO หรือ Ankle foot orthosis ทุกคนคงสงสัยกันใช่ไหมครับว่า AFO มันคืออะไร ทำงานยังไง มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร สามารถช่วยอะไรเราได้บ้าง มาดูไปพร้อมๆกันดีกว่าครับ

Ankle Foot Orthosis คือกายอุปกรณ์เสริมที่คลุมหรือดามผ่านส่วนของเท้าและข้อเท้า เพื่อช่วยควบคุมโครงสร้างของเท้าและข้อเท้าให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ช่วยในการส่งเสริมหรือจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเท้า ลดอาการเกร็งของขา ป้องกันข้อเท้ายึดติด ช่วยเพิ่มความมั่นคงและประคองข้อเท้าเวลาเดิน มักใช้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มักจะมีปัญหาการเดินที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมกล้ามเนื้อขา มีภาวะของกล้ามเนื้ออ่อนแรงช่วงขาส่วนล่าง ภาวะเกร็งที่ขา ภาวะเดินแล้วปลายเท้าตก (Foot drop) รวมไปถึงผู้ที่มีกระดูกหักบริเวณกระดูกขาส่วนล่างลงไป มีโครงสร้างของเท้าที่ผิดปกติหรือมีการบิดผิดรูป หรือผู้ที่ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้ เรามาดูวัตถุประสงค์และวิธีการสวมใส่กันดีกว่าครับ

 

วัตถุประสงค์

1.เพื่อควบคุมข้อเท้าและเท้าขณะเคลื่อนไหว

2.ช่วยพยุงกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง

3.แก้ไขการผิดรูปของโครงสร้างข้อเท้าและเท้า

4.จัดแนวโครงสร้างของขาท่อนล่างให้อยู่ในแนวปกติ

5.เพิ่มความมั่นคงในการลงน้ำหนัก

6.ช่วยส่งเสริมหรือจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเท้า ลดภาวะอาการเกร็งของขา ป้องกันข้อเท้าติด

วิธีการสวมใส่อุปกรณ์ AFO ที่เหมาะสม

1.สวมใส่ถุงเท้าที่พอดีกับตัวอุปกรณ์เพื่อป้องกันการกดทับและลดการเสียดสี

2.จัดข้อเท้าและเท้าให้อยู่ในท่าทางปกติมากที่สุดจากนั้น ดันให้ส้นเท้าชิดกับบริเวณสันด้านในของอุปกรณ์

3.รัดสายรัดบริเวณข้อเท้าเพื่อป้องกันการเคลื่อนของข้อเท้า แล้วจากนั้นรัดสายรัดที่น่องตามลำดับ

4.ไม่ควรรัดสายแน่นหรือหลวมเกินไป

5.ใส่รองเท้าเพื่อป้องกันการลื่นล้ม

ในระยะแรก การใส่ AFOจะทำให้รู้สึกไม่สบายขณะสวมใส่ ดังนั้นควรเพิ่มเวลาในการใส่ทีละน้อย ยกตัวอย่างเช่น

  • วันที่ 1 มีระยะเวลาในการใส่ 30-60 นาที
  • วันที่ 2 มีระยะเวลาในการใส่ 1-2 ชั่วโมง
  • วันที่ 3 มีระยะเวลาในการใส่ 3-4 ชั่วโมง
  • วันที่ 4 มีระยะเวลาในการใส่ 4-5 ชั่วโมง

มาถึงตรงนี้ทุกคนรู้แล้วใช่ไหมครับว่า AFOคืออะไร มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร ควรใส่แบบไหน ต่อไปเรามาดูกันดีกว่าครับว่ามีข้อควรระวังและวิธีการเก็บรักษาอย่างไรกันบ้างนะครับ

1.ควรรัดสายอุปกรณ์ให้กระชับไม่ให้ตึงหรือหย่อนเกินไป

2.เก็บให้พ้นจากความร้อน แสงแดด สารเคมี และสัตว์เลี้ยง

3.ระวังอย่าให้อุปกรณ์สัมผัสน้ำ เพราะอาจทำให้กาวบริเวณฟองน้ำ และสายรัดอุปกรณ์เสื่อมสภาพได้ง่าย

4.ไม่ควรใส่อุปกรณ์ในขณะที่อุปกรณ์ยังเปียกชื้น ควรเช็ดทำความสะอาดให้แห้งก่อนใส่ เพื่อป้องกันการอับชื้น

5.ควรดูแลรักษาอุปกรณ์ยึดสายรัด ไม่ให้เกิดสนิม

6.หลีกเลี่ยงการสวมใส่อุปกรณ์โดยไม่สวมรองเท้า อาจเสี่ยงต่อการหกล้ม

กายอุปกรณ์เสริมยังมีอีกหลายอย่าง แต่มันจะมีประโยชน์มากหากเราสามารถเลือกใช้ให้มีความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน โดยเฉพาะตัวของ AFOที่ต้องมีความจำเพาะทั้งในเรื่องของวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ขนาดของตัวอุปกรณ์ วัสดุที่นำมาใช้ จึงควรได้รับคำแนะนำหรือคำปรึกษาจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญก่อนการใช้งาน เพราะอาจส่งผลให้ได้รับผลเสีย เกิดภาวะอื่นๆที่ไม่ต้องการ หรือแม้กระทั่งใช้เวลาในการรักษานานขึ้น การเลือกใช้กายอุปกรณ์เสริมที่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่เราต้องการจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

AFO Orthotics You Should Know?

Are you familiar with orthotics or support devices? Actually, there are many different types of devices depending on the purpose and use. Today we’re going to talk about AFO or Ankle foot orthosis. Everyone is probably wondering what AFO is, how it works, and what it’s for. What can you help us with? Let’s have a look together.

Ankle Foot Orthosis is an orthotic that covers or welds through part of the foot and ankle. To help control the structure of the foot and ankle in the proper position Helps to promote or limit ankle movement. Reduce leg spasms Prevents ankle adhesion Help increase stability and support the ankle when walking. It is often used in stroke patients who often have gait problems related to the control of the leg muscles. have muscle weakness in the lower leg leg spasticity Foot drop walking, including those with fractures in the lower leg There is an abnormal structure of the foot or a deformed twist. or those who are unable to walk with weight Let’s look at the purpose and how to wear it better.

อ้างอิง

  1. ผศ.พญ.ภัทรา วัฒนพันธุ์. การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและป้องกันภาวะแทรกซ้อน, 12(ฉบับที่1), 31-39.
  2. John D Hsu. AAOS Atlas of Orthoses and Assistive Device, 4th edition, Philadelphia, Mosby Elsevier: 2008.

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

โทร.
Scroll to Top