ข้อเสื่อม…ปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ดูแลได้ก่อนสายเกินไป

Posted Posted in Uncategorized

ข้อเสื่อม…ปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ดูแลได้ก่อนสายเกินไป

            โรค ข้อเสื่อม สามารถพบได้ทุกวัย แต่พบในผู้สูงอายุได้บ่อยกว่ามาก จากการศึกษาพบว่าผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี ตรวจพบลักษณะ ข้อเสื่อม จากภาพถ่ายรังสีได้ร้อยละ 70 แต่มีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่มีอาการผิดปกติ โรค ข้อเสื่อม พบในเพศหญิงได้มากกว่าเพศชายโดยเฉพาะ เข่าเสื่อม และข้อนิ้วมือเสื่อม

           โรคข้อเสื่อมถือเป็นโรคที่พบบ่อย และสร้างปัญหาให้กับผู้สูงวัยในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยโรคข้อเสื่อมพบในตำแหน่งของข้อที่รับน้ำหนักมาก คือ ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อต่อกระดูกสันหลัง เป็นต้นสาเหตุของโรคข้อเสื่อมเกิดจากการใช้ของอวัยวะนั้นๆ เป้นเวลานาน การใช้งานอย่างหนัก และด้วยอายุที่มากขึ้นก็เป็นตัวแปร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวข้อกระดูกเสื่อมซึ่งมักจะเกิดร่วมกับอาการข้ออักเสบด้วย

อาการ ข้อเสื่อม

           – ในระยะแรกอาจมีการขัดหรือฝืดในข้อเป็นครั้งคราวหากมีการอยู่นิ่งเป็นเวลานาน บางรายอาจมีอาการเจ็บปวดร่วมอยู่ด้วย ซึ่งการเจ็บปวดบริเวณข้อเหล่านี้ อาจสัมพัน์กับการทำกิจกรรม เช่น การขึ้นลงบันได  นั่งยอง

           – ไม่สามารถขยับเข่าหรือเคลื่อนไหวได้อย่างเต็มที่ อาจเหยียดหรืองอเข่าได้ไม่สุด รู้สึกตึงข้อ และมีอาการข้อติดขัด ไม่คล่องแคล่ว

           – ในระยะสุดท้ายของโรค ขาของผู้ป่วยเริ่มมีการผิดรูป และมีอาการเจ็บปวด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยโรคข้อเเสื่อมเดินไม่ได้ผู้ป่วยอาจมีอาการขัดในข้อ ข้อยึด ขยับลำบาก โดยมักเป็นขณะนั่ง หรือนอนกับที่เป็นเวลานาน ๆ แต่เมื่อขยับข้อระยะหนึ่งจะรู้สึกคล่องขึ้น หากปล่อยไว้นานไม่ทำการรักษา อาจจะรุนแรงถึงขั้นไม่สามารถเดินได้

 

แนวทางการรักษาข้อเสื่อม

การรักษาข้อเสื่อมด้วยตนเอง เหมาะกับคนที่อาการของโรคอยู่ในระยะเริ่มต้นถึงปานกลาง อาการไม่รุนแรง ยังไม่เจ็บปวดจากการเคลื่อนไหว หรือการใช้งานข้อต่างๆ เช่นข้อเข่าเสื่อม จนกระทบกระเทือนการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก 

  1. การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน พบว่ายิ่งน้ำหนักตัวน้อยลง 5% จากช่วงที่มีอาการปวดเข่า ก็จะช่วยให้อาการปวดเข่าดีขึ้นได้ 
  • หลีกเลี่ยงการใช้งานหัวเข่าที่หนักหนาเกินไป เช่น ไม่นั่งคุกเข่า พับเพียบ ขัดสมาธิ เพราะการงอเข่าจะทำให้แรงดันในหัวเข่ามากขึ้น และเกิดความเสียหายต่อผิวข้อกระดูกอ่อนมากขึ้นด้วย
  • ไม่ยกของหนัก หรือหิ้วของหนักๆ เป็นเวลานาน เพราะการเพิ่มน้ำหนักจะส่งผลต่อหัวเข่าที่ต้องรับน้ำหนักมากขึ้นตามไปด้วย
  1. กายภาพบำบัด และการออกกำลังกา                                                                                                                                                                                  การกายภาพบำบัดและออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างและฟื้นฟูความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ยกตัวอย่างเช่น ข้อเข่า   การออกกำลังกายเพื่อบริหารกล้ามเนื้อหัวเข่า คือการพุ่งประเด็นไปที่กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า(Quadriceps) และต้นขาด้านหลัง (Hamstring) ซึ่งจะช่วยให้การพยุงและรับน้ำหนักตัว แบ่งเบาน้ำหนักที่ถ่ายลงมาที่ข้อเข่า พบว่าการออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขา ช่วยให้อาการปวดหัวเข่าดีขึ้นได้ชัดเจน และป้องกันอาการปวดเข่าในระยะยาวอีกด้วย                                                                                                                                                                                                                                         2.1. การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าขา (quadriceps/knee extensor strengthening exercise) 

                  -การนั่งเก้าอี้ แล้วเหยียดขาค้างไว้ 10-15 วินาที 8-12 ครั้ง/เซ็ตทำ 3 รอบ

           2.2.ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขาทางด้านหลัง  (Hamstring)                        

                   – ยืนตรงให้เอามือจับเก้าอี้ให้ลำตัวตั้งตรงและมั่นคง เตะเข่างอเข่ามาทางด้านหลังอย่างช้าๆ ทำ10 ครั้ง/เซต 3 รอบ  

       

                              

  • สำหรับผู้สูงอายุ การออกกำลังกายที่ง่ายและเหมาะสมที่สุดคือการเดินพื้นราบ ในความเร็วและระยะเวลาที่ไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บเข่า อาจเดินบนเครื่องเดินออกกำลังกาย หรือ เดินบนพื้นปกติก็ได้ และอาจต้องสังเกตว่าถ้าเดินได้ระยะเวลาเท่าใดแล้วเริ่มมีอาการเจ็บเข่า แสดงว่าเป็นระยะเวลาที่มากเกินไป ซึ่งควรปรับลดระยะเวลาเดินให้น้อยลง หรือ เปลี่ยนไปเดินบนพื้นหญ้าที่อ่อนนุ่มขึ้นเพื่อช่วยลดแรงกระแทกต่อข้อเข่า

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

 

อ้างอิงจาก คณะแพทย์โรงพยาบาลมหิดล./P(2022)/โรคข้อเข่าเสื่อม/สาระน่ารู้/หน้าที่1/https://www.rama.mahidol.ac.th/rama_hospital/th/services/knowledge/05272020-1112

 

Degenerative joints… an inevitable problem But take care of it before it’s too late.

Osteoarthritis can be found at any age. But found in the elderly much more often. From the study, it was found that 70% of people over 50 years old could detect degenerative features on radiographs, but only half of them had abnormal symptoms. Osteoarthritis is more common in females than males, especially osteoarthritis of the knee and knuckle joints.

Osteoarthritis is a common disease. and create problems for the elderly in daily life Osteoarthritis is found in the joints that bear a lot of weight, such as knee joints, hip joints, and spinal joints. etc. The cause of osteoarthritis is caused by the use of that organ for a long time, hard use. And with increasing age is also a variable. This causes degenerative changes in the joint surface, which often occur with arthritis symptoms.
symptom

– In the early stages, there may be some friction or stiffness in the joints from time to time if staying still for a long time. Some may have pain associated with it. which the pain in these joints May be associated with activities such as going up and down stairs, squatting

– Unable to move knees or move fully may not extend or bend the knee fully, feel stiffness in the joints, and have stiffness in the joints not fluent

– in the final stages of the disease The patient’s legs were deformed. and have pain which is the main reason why patients with osteoarthritis cannot walk Or lie down for a long time, but when moving the joints for a while, you will feel more fluent. If left for a long time without treatment May be severe to the point of being unable to walk.

Degenerative treatment guidelines

self-treatment Suitable for people whose symptoms are in the early to moderate stages. mild symptoms still no pain from movement or the use of various such as osteoarthritis Until affecting the daily life a lot

1. Modification of lifestyle behavior

control body weight within the standard It was found that the more weight was reduced by 5% from the period of knee pain. It will help improve knee pain.

Avoid using the knees that are too heavy, such as not kneeling, cross-legged, cross-legged, because bent knees will increase the pressure on the knees. and more damage to the articular cartilage
Do not lift heavy objects or carry heavy objects for a long time because increasing the weight will affect the knees that have to bear more weight as well.

2. Physical therapy and exercise physical therapy and exercise To strengthen and restore muscle strength For example, knee joints, exercises to exercise the knee muscles. Is to focus on the muscles of the front thigh (Quadriceps) and the back of the thigh (Hamstring), which will help support and bear body weight. Lighten the weight that is transferred to the knee joint. It was found that exercising the thigh muscles It clearly helps to improve knee pain. and prevent long-term knee pain as well

1. Increasing the strength of the hamstrings (quadriceps/knee extensor strengthening exercise)
– sitting in a chair Then straighten the legs and hold for 10-15 seconds, 8-12 times / set, do 3 rounds.

2. Thigh muscle exercise posture in the back (Hamstring) – Stand straight, put your hand on the chair to keep the body straight and stable. Kick the knees, bend the knees back slowly, do 10 times/set, 3 rounds.
for the elderly The easiest and most suitable exercise is walking on level ground. in speed and duration that does not cause knee pain May walk on a treadmill or walk on a normal floor. And may have to notice that if you can walk for a long time and start having knee pain Shows that it is too long. Which should reduce the walking time or change to walk on softer grass to help reduce the impact on the knee joints

หกล้ม ในผู้สูงอายุ เรื่องใกล้ตัวที่ต้องระวัง

Posted Posted in Uncategorized

หกล้ม ในผู้สูงอายุ เรื่องใกล้ตัวที่ต้องระวัง

             ในวัยผู้สูงอายุนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย และ จิตใจ ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่างๆ ทางด้านสุขภาพมากมาย การเกิดอุบัติเหตุ ลื่น พลัดตก หกล้ม มักจะเป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะกระดูกหักในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกระดูกสะโพก และยังพบว่า 1 ใน 5 ของผู้สูงอายุที่ หกล้ม และมีกระดูกหัก ไม่สามารถกลับมาเดินได้อีก ต้องใช้รถเข็น ส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการดูแลตนเอง และมีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลอยู่ตลอดเวลา การป้องกันดูแลจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย ดังนั้นเราจะมารู้ถึงปัจจัยเสี่ยงที่เกิดภาวะล้ม และแนวทางในการป้องกันการล้มในผู้สูงอายุกัน

ปัจจัยเสี่ยงการหกล้มในผู้สูงอายุ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตก หกล้ม ในผู้สูงอายุ สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  1.  ปัจจัยภายในร่างกาย (Intrinsic Factor) หมายถึง สภาวะร่างกายหรือการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการ หกล้ม ซึ่งสามารถจำแนกได้ ดังนี้

1.1 การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามวัย เช่น ความเสื่อมของการมองเห็น การเปลี่ยนแปลงของระบบโครงสร้าง และกล้ามเนื้อ

1.2 การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากความเจ็บป่วย เช่น ระบบหัวใจหรือหลอดเลือด อาจเกิดจากความผิดปกติของหัวใจหรือหลอดเลือด ปัญหาที่พบได้เสมอคือ ภาวะความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า ทำให้เกิดอาการหน้ามืด และวิงเวียนศีรษะซึ่งอาจทำให้ผู้สูงอายุ หกล้ม ได้ ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก จากการทำกิจกรรมลดลง ทำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง หรือความผิดปกติทางจิต เช่น อาการวิตก กังวล ภาวะหลงลืมและซึมเศร้า เป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุ

  1. ปัจจัยภายนอกร่างกาย (Extrinsic factors) หมายถึง สิ่งแวดล้อมรอบตัวของบุคคล ซึ่งอาจเป็นสิ่งแวดล้อมภายในหรือภายนอกบ้าน 

2.1 สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน ที่ทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการหกล้ม เช่น พื้นที่มีลักษณะไม่ปลอดภัย ได้แก่ พื้นบ้านที่ลื่น พื้นที่มีผิวไม่เรียบ พื้นที่มีระดับต่างกัน บริเวณบันได เช่น ขั้นบันไดมีความสูงไม่สม่ำเสมอ อันตรายที่เกิดจากการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ไม่เป็นระเบียบ ขัดขวางทางเดิน หรือการแต่งกายและอุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ เสื้อผ้าที่มีขนาด หลวม ใหญ่ หรือยาวเกินไป อาจทำให้เกิดการสะดุด เกี่ยวดึง รองเท้าที่มีรูปทรง ไม่พอดีเท้า ก็ส่งผลให้เกิดการล้มในผู้สูงอายุได้

2.2 สิ่งแวดล้อมภายนอกบ้าน มีความสำคัญกับผู้สูงอายุมากเช่นกัน เนื่องจากผู้สูงอายุยังสามารถทำกิจกรรมต่างๆ นอกบ้านได้ เช่น เก็บกวาดใบไม้ เก็บผ้าที่ตากไว้ ไปทำธุระนอกบ้าน ไปวัด กิจกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดโอกาสเสี่ยงและเป็นสาเหตุของการหกล้มได้

แนวทางป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ


1. การส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ การฝึกเดินที่ถูกต้อง รวมถึงการสวมรองเท้าที่เหมาะสม การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกำลังของกล้ามเนื้อ ฝึกการทรงตัว
2.การสร้างเสริมภาวะโภชนาการที่ดี การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
3.การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น โครงเหล็ก 4 ขา (Walker) ไม้เท้า ฯลฯ
4.การปรับพฤติกรรมส่วนตัว เช่น การค่อย ๆ ลุกยืนอย่างช้า ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ความดันโลหิตตกในท่ายืนหรือหน้ามืด การหาราวสำหรับเกาะเดิน
5.ประเมินการใช้ยา หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็นหรือมากเกินไป หากได้รับยาหลายชนิดที่อาจส่งผลให้เกิดการหกล้มแนะนำให้ปรึกษาแพทย์
6.การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน เช่น       

– มีวัสดุกันลื่นในห้องน้ำ          

 – ไม่วางของระเกะระกะ           

– มีแสงสว่างเพียงพอ โดยเฉพาะตรงราวบันได หรือ พื้นต่างระดับ     

– เตียงนอน เก้าอี้ และโถส้วม ควรมีความสูงพอเหมาะ ไม่เตี้ยเกินไป           

– ทางเดินและบันไดควรมีราวจับตลอดและขั้นบันไดสม่ำเสมอ         

 – พื้นห้องสม่ำเสมอและเป็นวัสดุที่ไม่ลื่นโดยเฉพาะในห้องน้ำ หรือ ขั้นบันได        

– บริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างห้องควรอยู่ในระดับเดียวกัน           

– หลีกเลี่ยงธรณีประตู          

 – ไม่ควรมีสิ่งของเกะกะ เช่น พรมเช็ดเท้า สายไฟฟ้า เป็นต้น
การหกล้มนั้นเป็นปัญหาสำคัญในผู้สูงอายุและส่งผลกระทบในหลายด้าน ดังนั้นหากเราสามารถป้องกันการหกล้มได้ จะก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีในผู้สูงอายุ

 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

 

อ้างอิง :
ปริศนา รถสีดา (2561) การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน: บทบาทพยาบาล กับการดูแลสุขภาพที่บ้าน.วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 11 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 61
National Center for Injury Prevention and Control. Preventing falls (2008) How to develop community-based fall prevention programs for older adults. Atlanta, GA: Centers for Disease Control and Prevention;

 

Falls in the elderly Things to watch out for

. . . in the elderly There will be changes both physically and mentally which pose various risks. Many health Accidents, slips, falls, and falls are often the main causes of fractures in the elderly. Especially the hip bone and also found that 1 in 5 of the elderly who fell and had fractures unable to walk again must use a wheelchair This results in the loss of self-care ability. And it is necessary to be taken care of all the time. Prevention and care is therefore important that should not be neglected. Therefore, we will come to know the risk factors for falling. and guidelines for preventing falls in the elderly

Risk factors for falls in the elderly

Risk factors for falls and falls among the elderly can be divided into two groups as follows:

Intrinsic factors are physical conditions or changes within the body that cause the risk of falling, which can be classified as follows:

1.1 Changes in the body according to age, such as deterioration of vision change of structural system and muscles

1.2 Changes in the body due to illness, such as the heart or blood vessels It can be caused by heart or blood vessel abnormalities. The problem that is always found is Hypotension during posture change cause faintness and dizziness, which may cause the elderly to fall. Musculoskeletal system from decreased activity decreases muscle strength or mental disorders such as anxiety, forgetfulness and depression It is a factor that increases the risk of falls among the elderly.

Extrinsic factors refer to the environment around a person. This could be the environment inside or outside the house.

2.1 Home environment that make the elderly at risk of falling, such as areas that look unsafe, including slippery floors The area has an uneven surface. The floor has different levels. The stairs area, for example, the steps are uneven in height. Dangers arising from the placement of things and utensils in a mess obstruct the passage or inappropriate dressing and movement aids, including clothing that is too loose, too large or too long May cause tripping, hooking, shoes that do not fit the foot, resulting in falling in the elderly.

2.2 The environment outside the house It is very important to the elderly as well. Because the elderly can still do various activities outside the house, such as cleaning leaves. keep the clothes dry Going on errands outside the home, going to temples, these activities pose risks and can cause falls.

Guidelines for preventing falls in the elderly

1. Health promotion: correct walking training including wearing appropriate shoes Exercises to strengthen muscle power, balance training
2. Promoting good nutritional status Eating food from all 5 food groups
3.Use of walking aids such as a 4-legged steel frame (Walker), cane, etc.
4. Adjusting personal behavior, such as slowly standing up slowly to prevent blood pressure from falling in a standing position or fainting. Finding railings for walking islands
5. Evaluate drug use Avoid unnecessary or excessive use of medication. If taking a variety of drugs that may result in falls, it is advisable to consult a doctor.
6. Modifications to the home environment such as . . .

– There is anti-slip material in the bathroom

– Do not place clutter

– There is enough light. Especially at the railing or level floor

– Beds, chairs and toilets should be at the right height. not too short

– Corridors and stairs should have handrails at all times and the steps are consistent.

– The floor is uniform and is a non-slip material, especially in the bathroom or stairs

– The connection point between the rooms should be at the same level.

– Avoid the threshold

– There should not be cluttered things such as doormats, electric wires, etc.
Falls are a major problem in the elderly and affect many aspects. So if we can prevent falls. will cause a good quality of life in the elderly

 

 

นอนไม่หลับ ในผู้ป่วย stroke

Posted Posted in Uncategorized

นอนไม่หลับ ในผู้ป่วย stroke

          ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองหลายรายมักมีอาการต่างๆ มากมายที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นอาการชาตามแขน ขา ปวดหัว มึนหัว เจ็บบริเวณข้อต่อ ถ่ายอุจจาระไม่ออก รวมถึง นอนไม่หลับ อาการต่างๆที่กล่าวมาส่งผลกระทบให้การใช้ชีวิตไม่สะดวกสบายโดยเฉพาะการนอนไม่หลับซึ่งทำให้เป็นผลเสียต่อวงจรชีวิต เวลาในการรับประทานยา รวมถึงทำให้ไม่มีสมาธิระหว่างวัน กระทบต่อการทำกายภาพบำบัดและการฝึกอื่นๆ

            ภาวะนอนไม่หลับเป็นภาวะที่มีความลำบากในการนอนหลับ ตั้งแต่เริ่มนอนหลับ ระหว่างนอนหลับ กระทั่งคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพส่วนต่างๆ และการใช้ชีวิตประจำวัน สาเหตุของการ นอนไม่หลับ ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุภายนอก เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล รวมถึงการเจ็บปวด และอาจเกิดได้จากอาการซึมเศร้าหรือความผิดปกติจากสารสื่อประสาทในสมอง

แบ่งประเภทการนอนหลับ

           การนอนหลับ แบ่งได้เป็น 2ช่วงอย่างง่าย คือช่วง REM sleep (Rapid Eye Movement) เป็นช่วงที่ร่างกายหลับแต่สมองยังตื่นอยู่ และช่วง Non-REM sleep เป็นช่วงที่สมองหลับแต่ยังเชื่อมกับอวัยวะรับสัมผัสและกล้ามเนื้ออยู่ ในระหว่างการนอนหลับใน1คืน วงจรทั้งสองอย่างนี้จะหมุนเวียนซ้ำไปมาเป็นรอบๆ รอบละประมาณ 90 นาที REM sleep คือการที่ลูกตาเคลื่อนไหวไปมาอย่างรวดเร็ว โดยลูกตาจะกลอกไปกลอกมาอยู่ใต้เปลือกตาของคนที่กำลังนอนหลับอยู่ หรือเรียกอีกอย่างว่าการหลับตื้น

           การกระตุ้นให้เกิดการหลับและตื่นนั้นเกิดจาก flip-flop switch model คือทฤษฎีที่กล่าวว่าการหลับตื่นนั้นเป็นผลจากการทำงานของสารสื่อประสาท ได้แก่ histamine, adenosine, serotonin, acetylcholine, noradrenaline และ hypocretine และการทำงานของสมองในส่วนต่างๆ ได้แก่ ก้านสมอง (brain stem), เซลล์เวนโทรแลเทอรัลพรีออปติกนิวเคลียส (ventrolateral preoptic nucleus; VLPO), สมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus), คอร์เท็กซ์สมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex) เป็นต้น ซึ่งทำหน้าที่เปิดปิดวงจรตื่นนอน รวมถึงควบคุมการนอนหลับทั้งช่วง REM sleep และ Non-REM sleep 

               ดังนั้นเมื่อสมองส่วนต่างๆ ที่ถูกทำลายหรือมีรอยโรค จะส่งผลให้สารสื่อประสาทต่างๆ ในสมองไม่สมดุล จึงทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติของวงจรการหลับตื่น ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองชนิดไหนก็ตาม

              การรักษาภาวะ นอนไม่หลับ มักจะรักษาโดยไม่ใช้ยาก่อน โดยการลดปวด การรักษาวงจรการหลับตื่นให้เป็นปกติตามธรรมชาติ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในช่วงเช้า สร้างสภาพแวดล้อมการนอนให้ดูสบาย เช่น เป็นห้องมืด เงียบ จัดท่าทางการนอนให้สบาย ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ เช่น การจัดให้กางแขน หงายมือ เหยียดศอก เท้าเอาหมอนดันไม่ให้เท้าตกจิก และหนุนหมอนจัดให้ปลายเท้าชี้ไปบนเพดาน หรือไม่ให้ปลายเท้าหมุนออกนั่นเอง หากการรักษาโดยไม่ใช้ยาไม่ได้ผล หมอจะทำการพิจารณารักษาโดยการใช้ยาต่อไป

               ภาวะนอนไม่หลับมักเกิดได้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองซึ่งเกิดจากการไม่สบายตัวจากความเจ็บปวด ความเครียด ความวิตกกังวล หรือเกิดจากการเสียสมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้วงจรการหลับตื่นเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพ การใช้ชีวิตประจำวัน และการทำกายภาพบำบัด การรักษาโดยไม่ใช้ยาทำโดยการลดปวดทางกายภาพบำบัด การจัดท่าทางการนอน การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการนอน หากการรักษาโดยไม่ใช้ยาไม่ได้ผลจึงพิจารณาการรักษาโดยใช้ยาต่อไป

 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

 

 

เอกสารอ้างอิง
1. ปริญญา ปั้นพล (สถานเสาวภา สภากาชาดไทย). โรคนอนไม่หลับ (Insomnia). 2018.
2. วนิดา ลุนกา และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะซึมเศร้าและสุขวิทยาการนอนกับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Relationships Among Types of Stroke, Depression, Sleep Hygiene Practices and Insomnia of Stroke Patients). 2018; 42(21):41-53.
3. สมภพ เรืองตระกูล. ความผิดปกติของการนอนหลับ การประเมินและการรักษา. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์; 2550.
4. Suh M, Choi-Kwon S, Kim JS. Sleep disturbances at 3 months after cerebral Infarction. Eur neurol. 2016;75(1-2):75-81.
5. Tucker AP. Sleep hygiene. AARC Times. 2007: 12-9.

 

Insomnia in stroke patients

Many stroke patients often have various symptoms. many that affect daily life Whether it is numbness in the arms, legs, headache, dizziness, pain in the joints. inability to defecate including insomnia The symptoms mentioned above affect life’s discomfort, especially insomnia, which negatively affects the life cycle. time of taking medication Including making you unable to concentrate during the day Affect physical therapy and other training

Insomnia is a condition in which it is difficult to fall asleep. since the beginning of sleep during sleep even sleep quality which affects the health of various parts and daily use Most of the causes of insomnia are caused by external causes such as stress, anxiety. including pain And may be caused by depression or disorders from neurotransmitters in the brain.

 Sleep can be divided into 2 simple phases:

REM sleep (Rapid Eye Movement) is when the body sleeps but the brain is still awake and Non-REM sleep is when the brain sleeps but still connects to the sense organs and muscles. During sleep in 1 night Both of these cycles repeat over and over for approximately 90 minutes each. REM sleep is the rapid movement of the eyeballs. The eyeballs move under the sleeping person’s eyelids. Also known as shallow sleep.

Sleep-wake activation is a flip-flop switch model. It is theorized that sleep-wake is the result of the action of neurotransmitters histamine, adenosine, serotonin, acetylcholine, noradrenaline, and hypocretine, and that the activity of Parts of the brain: brain stem, ventrolateral preoptic nucleus (ventrolateral preoptic nucleus; VLPO), hypothalamus (Hypothalamus), prefrontal cortex, etc., which acts to open and close the wake-up cycle. Including controlling sleep during both REM sleep and Non-REM sleep

Therefore, when different parts of the brain that is destroyed or has lesions will result in various neurotransmitters in the brain is out of balance As a result, the patient has a sleep-wake cycle disorder. no matter what kind of stroke

Treatments for insomnia are usually treated without medication first, by reducing pain and maintaining a natural sleep-wake cycle. exercising regularly in the morning Create a comfortable sleeping environment, such as a dark, quiet room. Set a comfortable sleeping position. Reduce muscle contraction, such as arranging to spread the arms, turn the hands over, straighten the elbows, and press the feet with pillows to prevent the feet from falling. and support the pillow, arrange the toes pointing towards the ceiling Or don’t let the toes turn out there. If non-drug treatment is ineffective The doctor will continue to consider treatment by using medication.

Insomnia often occurs in stroke patients as a result of discomfort caused by pain, stress, and anxiety. or caused by the imbalance of neurotransmitters in the brain changes the sleep-wake cycle which affect health daily use and physical therapy Non-drug treatment is performed by physical therapy pain reduction. sleeping posture Setting up an environment suitable for sleeping If non-drug therapy is ineffective, further drug therapy is considered.

อาการ ปวด กล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกายเกิดในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองได้หรือไม่

Posted Posted in Uncategorized

อาการ ปวด กล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกายเกิดในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองได้หรือไม่??

เมื่อกล่าวถึงการออกกำลังกาย ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำหรือนักกีฬา มักทราบดีว่า อาจมีอาการ ปวด เมื่อยตามกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกายเกิดขึ้นตามมาได้ อาการนี้เรียกว่า DOMS หรือ Delayed onset muscle soreness

DOMS เป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นหลังจากการออกกําลังกาย มักเกิดขึ้นภายใน 8-24 ชั่วโมงหลังจากออกกำลังกายแล้ว โดยจะมีอาการปวดมากที่สุด 1-2 วันต่อมา ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจากการออกกำลังกายแบบ eccentric contraction เช่น การเล่น weight training หรือการออกกำลังกายในรูปแบบที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน เชื่อว่าอาการนี้เกิดจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อที่หดตัวซ้ำๆ เป็นเวลานาน อาการปวดจาก DOMS สามารถลดลงได้ภายใน 7-10 วันได้

การรักษาอาการ DOMS มีหลากหลายวิธีคือ  

  1. การรักษาด้วยการออกกำลังกาย มีการศึกษาก่อนหน้าพบว่า การออกกำลังกายมัดกล้ามเนื้อที่เกิด DOMS ในขณะที่ยังมีอาการปวดอยู่กลับช่วยให้อาการปวดลดลงทันที แต่หลังจากออกกำลังกายผ่านไปหลายชั่วโมงก็ยังมีอาการปวดตามมาได้ จึงแนะนำให้ออกกำลังกายต่อเนื่องและมีช่วงพักจนกระทั่งกล้ามเนื้อเริ่มปรับตัวได้ซึ่งอาการปวดกล้ามเนื้อจะค่อยๆ หายไปเอง กลไกที่ทำให้อาการปวดจาก DOMS ลดลงทันทีหลังออกกำลังกายยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแต่เชื่อว่า เกิดจากการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในกล้ามเนื้อขณะออกกำลังกายร่างกายมีการหลั่งสารเอนโดฟินและทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อจึงลดอาการปวดได้
  2. การใช้ยารักษายากลุ่ม analgesics และ NSAIDs สามารถบรรเทาอาการปวดจาก DOMS ได้บ้าง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ

การป้องกันและฟื้นฟูอาการ DOMS 

อาการ DOMS ไม่ได้ทําให้เกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อเท่ากับภาวะกล้ามเนื้อฉีกขาด และการยืดกล้ามเนื้อหรือ warmup ดูเหมือนจะไม่ช่วยป้องกันอาการ ปวด จาก DOMS ดังนั้นควรเน้นไปที่รูปแบบของการออกกําลังกาย ให้มีช่วง eccentric contraction ไม่มากเกินไป เมื่อต้องการออกกําลังกายในแบบที่ไม่เคยทํามาก่อนหรืออาจจะค่อยๆเพิ่มแรงต้านทีละน้อย เพื่อให้กล้ามเนื้อมีการปรับตัว อย่างไรก็ตามยังแนะนำให้มีการ warmup และ cooldown ทั้งก่อนและหลังออกกำลังกายเพื่อเตรียมพร้อมกล้ามเนื้อจะเป็นผลดีกว่า

แล้วอาการนี้สามารถเกิดในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองได้หรือไม่  ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองปัญหาที่พบมากที่สุดคือกล้ามเนื้ออ่อนแรง กำลังกล้ามเนื้อไม่เพียงพอในการทำกิจกรรมหรือออกกำลังกาย ส่วนใหญ่มักพบในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองระยะแรก (flaccid paralysis) ในระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมอื่นๆมากนัก จึงทำให้กล้ามเนื้อไม่ได้ทำงานอย่างเต็มที่ แต่การรักษาทางกายภาพบำบัดของระยะ Flaccid มักจะเน้นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ ก่อนการฝึกอื่นๆ หรือฝึกทำกิจกรรมต่อไป

จึงแสดงให้เห็นว่า อาการ ปวด จาก DOMS สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง เนื่องจากช่วงแรกที่ได้รับการรักษาทางการแพทย์ ผู้ป่วยบางรายไม่ได้มีการใช้งานหรือใช้งานกล้ามเนื้อน้อยมาก เมื่อเริ่มมีการออกกำลังกายหรือเริ่มทำกิจกรรมในท่าทางหรือรูปแบบที่ไม่คุ้นเคย จึงอาจทำให้มีอาการปวดตามมาหลังจากออกกำลังกายได้ หากอาการปวดจาก DOMS ไม่ได้มีอาการรุนแรงมาก แนะนำให้ใช้วิธีการรักษาตามรูปแบบข้างต้นได้ แต่หากรุนแรงมากจนเกินไปควรให้ผู้ป่วยพบเพื่อปรึกษาแพทย์เพื่อดูแล รักษาอาการปวดต่อไป

อ้างอิง :

  • จักรกริช กล้าผจญ. (มปป). การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคและการบาดเจ็บกระดูก ข้อและกล้ามเนื้อ. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, (มปป); 135-136.
  • ปิยะภัทร พัชราวิวัฒน์พงศ์. (2545). Common problem of upper extremity in stroke patients. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร; 12(2): 44-46.

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

 

 

Can muscle pain after exercise occur in cerebrovascular patients??

When it comes to exercise People who exercise regularly or athletes are well aware that there may be pain in the muscles after exercise that can occur as a result. This is known as DOMS or Delayed onset muscle soreness.

DOMS is pain that occurs after exercise. It usually occurs within 8-24 hours of exercising. The pain is at its peak one to two days later, and is most often caused by eccentric contraction exercises such as weight training or unfamiliar exercise. It is believed to be caused by a long-term repetitive injury to the contractile muscles. Pain from DOMS can subside within 7-10 days.

There are several ways to treat DOMS, including:

exercise therapy Previous studies have found that Exercising the DOMS-induced muscle groups while still having back pain can help reduce pain immediately. But after several hours of exercising, pain can still follow. Therefore, it is advisable to continue exercising and having rest periods until the muscles start to adapt and the muscle pain will gradually disappear on its own. Caused by increasing blood flow in the muscles while exercising, the body releases endorphins and causes muscle relaxation, thus reducing pain.
The use of analgesics and NSAIDs can relieve some of the pain associated with DOMS. Always consult with your doctor or pharmacist before taking any medication.

Prevention and recovery of DOMS symptoms

DOMS does not cause muscle injury as much as a muscle tear. Stretching and warmups do not seem to prevent DOMS pain, so focus on a form of exercise that does not cause excessive eccentric contraction when trying to exercise in an unconventional way. before or may gradually increase the resistance gradually for the muscles to adapt However, it is still recommended to have a warmup and cooldown before and after exercise to better prepare the muscles.

So can this symptom occur in cerebrovascular patients? In cerebrovascular patients, the most common problem is muscle weakness. Insufficient muscle strength to perform activities or exercise Most often found in early cerebrovascular patients (flaccid paralysis). At this stage, patients rarely exercise. or do many other activities As a result, the muscles do not work fully. But the physiotherapy treatment of the Flaccid phase usually focuses on exercises to increase muscle strength. before other training or practice the next activity

Thus, it was shown that pain from DOMS can occur in cerebrovascular patients. due to the first medical treatment Some patients are inactive or have very little muscle activity. When exercising or starting an activity in an unfamiliar position or pattern It may cause pain after exercise. If the pain from DOMS is not very severe It is advisable to use the above form of treatment. But if it’s too severe, the patient should be consulted to consult a doctor for care. continue to treat pain