Neglect Syndrome กายภาพบำบัดกับภาวะละเลยร่างกายข้างที่อ่อนแรง

กายภาพบำบัดกับภาวะละเลยร่างกายข้างที่อ่อนแรง Neglect Syndrome

กายภาพบำบัดกับภาวะลืมร่างกายข้างที่อ่อนแรง เคยสังเกตไหมว่า ทำไมหลังเกิดอาการอ่อนแรงของร่างกายข้างใดข้างหนึ่งแล้ว ผู้ป่วยถึงได้ชอบหันหน้าไปแต่ข้างที่แข็งแรง แม้ว่าเราจะพยายามให้ผู้ป่วยหันมาข้างที่อ่อนแรงบ้างแล้ว แต่ผู้ป่วยยังหันไปข้างที่แข็งแรง วันนี้ ReBRAIN มีคำอธิบาย และวิธีการรักษาที่ถูกต้องมาแนะนำ

ภาวะละเลยร่างกายข้างที่อ่อนแรง (Neglect Syndrome) พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีรอยโรคบริเวณสมองกลีบข้าง (parietal lobe) และพบได้ประปรายในผู้ป่วยที่มีรอยโรคในตำแหน่งอื่นๆ เช่น สมองกลีบหน้า (frontal lobe), เบซัล แกงเกลีย (basal ganglia) และ ทาลามัส (thalamus) ซึ่งมักพบภาวะนี้ได้ผู้ป่วยที่มีรอยโรคของสมองซีกขวามากกว่าซีกซ้าย โดยอาการที่แสดงออกมาคือการไม่รับรู้และไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นด้านตรงข้ามกับสมองที่มีรอยโรค เช่น การสวมเสื้อผ้าเพียงข้างเดียว การรับประทานอาหารเพียงซีกเดียวของจาน หรืออาจมีการปฏิเสธว่าร่างกายซีกนั้นไม่ใช่ของตน และอาจไม่สังเกตเห็นผู้ที่เดินเข้ามาหาจากด้านใดด้านหนึ่ง เป็นต้น

กายภาพบำบัดกับภาวะละเลย (Neglect Syndrome) ร่างกายข้างที่อ่อนแรง จึงเน้นไปที่การกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับรู้หรือรู้สึกถึงการมีอยู่ของร่างกายอีกด้าน เพื่อป้องกันและลดการเกิดอันตรายต่อร่างกายข้างที่ผู้ป่วยละเลย โดยวิธีการรักษาทางกายภาพบำบัดมีดังนี้

  1. การกระตุ้นการรับรู้ผ่านทางการรับความรู้สึก เช่น การใช้มือ ผ้า แปรง หรือน้ำแข็งสัมผัสด้านที่ละเลย
  2. การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้อยู่ข้างที่ผู้ป่วย Neglect Syndrome รวมถึงให้ญาติ หรือผู้ดูแลเข้าหาทางที่ผู้ป่วยละเลยเช่นกันเพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีความรับรู้มากขึ้น
  3. การใช้ feedback โดยการส่องกระจกเพื่อกระตุ้นการรับรู้ผ่านการมองเห็น (visual) ร่วมกับการทำกิจกรรม หรือใช้ปุ่ม sensor ไว้ใต้รองเท้าด้านที่ถูกละเลยเมื่อมีการลงน้ำหนักจะเกิดเสียงดัง ถ้าไม่ลงเสียงจะเงียบไป

Neglect Syndrome เป็นอาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งอาการนี้จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอันตรายได้ เนื่องจากผู้ป่วยจะไม่ระวังข้างที่อ่อนแรง ดังนั้นการกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงการมีอยู่ของข้างที่อ่อนแรงจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยอาการนี้ต้องอาศัยการฝึกซ้ำๆ และต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดการรับรู้และจำได้

Physical Therapy and Neglect Syndrome

Physical therapy and forgetfulness of the weak side of the body Have you ever noticed that Why is it after the weakness of one side of the body? So the patient prefers to turn his head only on the strong side. Although we try to turn the patient to the weak side. But patients still turn to the strong side. Today, ReBRAIN has the correct description and treatment to suggest.

Neglect Syndrome is most common in patients with parietal lobe lesions and is sporadic in patients with other lesions such as the frontal lobe. lobe), basal ganglia and thalamus (thalamus), which are often found in patients with more lesions of the right hemisphere than the left hemisphere. The symptoms expressed are the unaware and unresponsive to stimuli on the opposite side of the brain with lesions, such as wearing only one garment. Eating only one side of the plate Or it may be denied that the hemisphere is not its own. And may not notice those approaching from either side and so on

Physical therapy and Neglect Syndrome, weak side of the body Therefore, emphasis is placed on encouraging the patient to know or feel the presence of the other side. To prevent and reduce the harm to the patient’s body neglect. By the methods of physical therapy treatment are as follows.

Stimulating perception through sensations, such as touching the neglected side of your hand, cloth, brush, or ice.
Changing the environment to the side of the Neglect Syndrome patient, including the relatives. Or the caregiver approaches the patient’s neglect as well in order to encourage the patient to become more aware.
Using mirrored feedback to stimulate visual perception in conjunction with activity, or use the sensor button under the neglected side of the shoe when weight is applied, a loud noise occurs. If not, the sound will be silent.

Neglect Syndrome is a common symptom of cerebrovascular disease. Which this symptom will cause the patient to be dangerous Because the patient is not careful about the weak side Therefore, stimulating the patient’s awareness of the presence of the weak side is of great importance. With this symptom requiring repeated training And continuously for the patient to be recognized and remembered

แหล่งอ้างอิง

วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ละเลยด้านที่เป็นอัมพาต. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2545; 12(1): 1-7

 

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

 

 

โทร.
Scroll to Top