Stroke ฟื้นฟู นานแค่ไหนถึงเดินได้

Stroke ฟื้นฟู นานแค่ไหนถึงเดินได้

 

ความสามารถของการเดินที่ลดลงเป็นปัญหาที่พบได้หลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง การ ฟื้นฟู ความสามารถการเดินจึงเป็นเป้าหมายสำคัญของการ ฟื้นฟูหลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาดำเนินชีวิตและกิจกรรมต่างๆ ในสังคมได้ให้ใกล้เคียงปกติเหมือนก่อนการเป็นโรค 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ ฟื้นฟู การเดินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คือ ปัจจัยด้านการควบคุมการเคลื่อนไหวที่ลดลง และปัจจัยด้านการรักษาสมดุลร่างกายได้น้อยลงในขณะที่มีการเคลื่อนไหว โดยปัจจัยนี้จะส่งผลต่อการ ฟื้นฟู ลักษณะการเดิน การควบคุมการเคลื่อนไหวระหว่างเดิน ความเร็ว และระยะก้าว โดยความผิดปกติของการเดินที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ การเดินเซไม่มั่นคง การสูญเสียสมดุลขณะเดิน มักพบการลงน้ำหนักที่ขาข้างอ่อนแรงได้น้อยกว่าขาข้างปกติ ความเร็วของการเดินลดลง การก้าวขาสองข้างไม่เท่ากัน การเหวี่ยงขาไปด้านข้างขณะเดิน เป็นต้น

ปัจจัยพื้นฐานในการ ฟื้นฟู การเดิน

  • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

    เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อขา
  • การทรงตัว

    ฝึกทรงตัว ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
  • การลงน้ำหนัก

  • การรับรู้การเคลื่อนไหวของข้อต่อ

  • อาการเกร็ง อาการตึง และการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อต่อ

  • กระบวนการรู้คิด 

  • ปัจจัยด้านจิตใจ

รู้ได้อย่างไรพร้อมที่จะเริ่มฝึกเดิน

  • สามารถยืนทรงตัวได้ด้วยตนเองอย่างน้อย 2 นาที

  • สามารถลงน้ำหนักขาข้างอ่อนแรง ควบคุมกล้ามเนื้อลำตัวให้ตั้งตรงเหยียดข้อสะโพกและคุมข้อเข่าให้ตรงได้ในขณะที่ก้าวขาแข็งแรงไปข้างหน้า 

ทั้งนี้ก่อนการฝึกเดิน ควรเริ่มจากการฝึกทรงตัวในท่านั่ง ฝึกลุกขึ้นยืน และทรงตัวในท่ายืน ควรฝึกไปโดยลำดับความง่ายไปยากและให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้ป่วย ณ ขณะนั้น รวมถึงการฝึกความสามารถพื้นฐานต่างๆ ร่วมด้วย ได้แก่ การเพิ่มความแข็งแรงและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ การทรงตัว การกระตุ้นการรับรู้การเคลื่อนไหวของข้อต่อ และการลงน้ำหนักขาข้างอ่อนแรง จะช่วยส่งเสริมให้การเดินมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ในการเดินเพื่อประกอบในการฝึกเดินในผู้ป่วยสามารถปรึกษานักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญได้

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN

Ynag Dj, Uhm YH. Effects of various types of bridge exercise on the walking ability of stroke patients. J kor phys ther. 2020;32(3):137-45.

Li S, Francisco GE, Zhou P. Post-stroke hemiplegic gait: new perspective and insights. Front physiol. 2018;9:1021.

เอกสารอ้างอิง 

Ynag Dj, Uhm YH. Effects of various types of bridge exercise on the walking ability of stroke patients. J kor phys ther. 2020;32(3):137-45.

Li S, Francisco GE, Zhou P. Post-stroke hemiplegic gait: new perspective and insights. Front physiol. 2018;9:1021.

How long does it take to recover from stroke before I can walk?

Reduced ability to walk is a common problem after a stroke. Restoring walking ability is therefore an important goal of post-stroke rehabilitation. So that patients can return to their daily lives and activities. In society, it is as close to normal as before the disease.

Factors affecting walking in patients with stroke are the factors of reduced movement control. and the factor of maintaining body balance is reduced while moving This factor will affect the walking style. Controlling movement during walking, speed, and step length. Walking abnormalities that are commonly found in stroke patients include unsteady gait. Loss of balance while walking It is often found that weight cannot be placed on the weak leg than on the normal leg. Walking speed decreased The steps on both sides are not equal. Swinging the legs to the side while walking, etc.

Basic factors related to walking

muscle strength
Balancing
Putting on weight
Perception of joint movement
Spasticity, stiffness, and restriction of joint movement
Cognitive process
Psychological factors

โทร.
Scroll to Top