กลไกการทำงาน / การออกฤทธิ์ของ Cerebrolysin
ยาซีรีโบรไลซิน (Cerebrolysin) เป็นสารสกัดบริสุทธิ์จากสมองของสุกร
มีส่วนประกอบของสารประเภทเปปไทด์ (Peptide), นูโทรปิกแฟคเตอร์ (Nootropic factor,
สารที่ช่วยในการบำรุงเซลล์สมอง), สารปรับการเจริญเติบโตของสมอง (Nerve growth factor) , และซีเลียรี
นิวโรโทรปิก แฟคเตอร์ (Ciliary neurotrophic factor, สารช่วยสร้างสารสื่อประสาท),
ด้วยองค์ประกอบที่กล่าวมา ทางการแพทย์จึงได้นำยาซีรีโบรไลซินมาบำบัดอาการทางสมอง เช่น
ผู้ป่วยที่มีภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ หรือแตก (Stroke), รวมถึงผู้มีภาวะความจำเสื่อม
/สมองเสื่อมด้วยพยาธิสภาพหลอดเลือดในสมอง (Vascular dementia) อย่างไรก็ตาม
ประโยชน์ทางคลินิกดังกล่าวยังต้องการข้อมูลทางการแพทย์ มาสนับสนุนอีกมากพอสมควร
กลไกในการเกิด reperfusion injury ของสมอง ได้แก่ การเกิดภาวะ oxidative stress, inflammation,
BBB injury หรือเกิด necrosis โดยกระบวนการเกิด ischemic cell death ในสมองเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น
astrocyte เกิด swelling หรือ free radical basement membrane รวมถึง immune cells ต่างๆ
ก็มีบทบาทในการทำให้เกิดการตายของเซลล์ โดยในช่วง hyperacute stage ในช่วง 6 ชั่วโมงแรกของผู้ป่วย
ischemic stroke พบว่า BBB permeability จะค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น โดยจะพบภาวะ hypoxia, cytotoxic edema
และ cell death ในสมองได้หลังจาก 6 ชั่วโมง ถึง 72 ชั่วโมง ซึ่งอยู่ในระยะ acute stage ในช่วงนี้จะเกิดภาวะ
neuroinflammation และ reperfusion injury ต่อมาในช่วง 72 ชั่วโมง ถึงระยะเวลา 6 สัปดาห์ ในระยะ
subacute stage จะพบภาวะ neuroprotective inflammation, neoangiogenic และ recovery process
ซึ่งหลังจาก 6 สัปดาห์ ในระยะ chronic stage สมองจะเกิดกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในสมอง
มีทั้งกระบวนการ endogenous defense activity (EDA) ซึ่งเป็นกลไลการปกป้องของเซลล์ประสาทในสมอง
และนำไปสู่ผลลัพท์ของการรักษาที่ดี ได้แก่ กระบวนการ neuroprotection, neurotrophycity,
neuroplasticity, neurogenesis แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า damage mechanism ต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในสมองอาจนำไปสู่ผลลัพท์ในการรักษาที่แย่ลง ดังนั้น เป้าหมายในการรักษา ischemic stroke ด้วยยา
ยาควรที่จะออกฤทธิ์แบบ multimodal mechanism ในการเสริม endogenous defense activity
ของเซลล์ประสาทในสมอง โดยมีฤทธิ์ neuroprotective เช่นยับยั้งภาวะ oxidative stress, ยับยั้ง
inflammation, ลดภาวะ excitotoxicity หรือลดการเกิด apoptosis ของเซลล์ประสาทได้ รวมถึงยากระตุ้น
synaptogenesis และ nerve sprouting ซึ่งจะช่วยกระตุ้นกระบวนการ neuroplasticity ซึ่ง cerebrolysin
เป็น complex compound ที่ส่วนประกอบของ peptide มีฤทธิ์ neurotrophic activity
โดยตัวยาออกฤทธิ์แบบ multimodal action ได้แก่ กระตุ้น neurotrophycity และมีฤทธิ์ neuroprotection
รวมถึงมีประโยชน์ในแง่ของ neuronal metabolism ที่จะช่วยต่อต้านการเกิดภาวะ hypoxia
และยับยั้งการสะสมของ lactate
Cerebrolysin มีส่วนประกอบของสารเปปไทด์ซึ่งมีกรดอะมิโนที่เป็นประโยชน์
นอกจากนี้ยังมีสารจำพวกแฟคเตอร์ (สารสำคัญที่เป็นองค์ประกอบช่วยในการทำงานของเซลล์) ต่างๆ
ที่ช่วยปรับปรุงการเจริญเติบโตของเซลล์สมอง กลไกการทำงานคล้ายกับสารอาหารที่ไปหล่อเลี้ยงบำรุงสมอง
จึงทำให้เกิดการประยุกต์ใช้ cerebrolysin ในผู้ป่วยสมองขาดเลือด หรือผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตก
(โรคหลอดเลือดสมอง) ตลอดรวมถึงผู้ที่มีภาวะความจำเสื่อม / สมองเสื่อมด้วยเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
เอกสารอ้างอิง
Powers WJ, Rabinstein AA, Ackerson T, et al. Guidelines for the Early Management of Patients
With Acute Ischemic Stroke: 2019 Update to the 2018 Guidelines for the Early Management of
Acute Ischemic Stroke: A Guideline for Healthcare Professionals From the American Heart
Association/American Stroke Association. Stroke. 2019;50(12): e344-e418.